'คลัง' ลุยตั้งทีมพักหนี้เอสเอ็มอี เล็งเว้นต้น-ดอกเบี้ยอุ้มยาว1ปี

“คลัง” ลุยตั้งทีมพักหนี้เอสเอ็มอี ขึงเกณฑ์ลูกหนี้รหัส 21 กว่า 3 ล้านบัญชี วงเงิน 3 แสนล้านบาท เล็งเว้นต้น-ดอกเบี้ย อุ้มยาว 1 ปี แถมเปิดช่องขอสินเชื่อเพิ่มได้ เร่งเครื่องวางกรอบก่อนชง ครม. ภายใน 1 เดือน

20 ก.ย. 2566 – นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้เรียกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) มาหารือเกี่ยวกับมาตรการพักหนี้เกษตรกร และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้กระทรวงการคลังไปจัดทำรายละเอียดมาตรการให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน โดยในส่วนของมาตรการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี คาดว่าจะเรียกประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ภายในสัปดาห์นี้ เพื่อเห็นชอบละเอียดกรอบดำเนินการมาตรการ และจะนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ในสัปดาห์หน้าทันที

ขณะที่มาตรการพักหนี้เอสเอ็มอีนั้น เบื้องต้นจะใช้ข้อมูลกลุ่มลูกหนี้ ตามรหัส 21 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3 ล้านบัญชี เป็นวงเงินสินเชื่อประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ก็มีลูกค้าของ ธ.ก.ส.อยู่เล็กน้อย และมีลูกค้าของสถาบันการเงินของรัฐ โดยเฉพาะธนาคารออมสินเป็นส่วนใหญ่ โดยจะพักหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 1 ปี แต่จะต้องขอเวลาทำรายละเอียดและ เสนอ ครม.อย่างช้าสุดภายใน 1 เดือน

“คลังจะเสนอ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง ให้มีการตั้งคณะทำงาน โดยจะเชิญตัวแทนจาก ธปท. ออมสิน และ ธ.ก.ส.เข้ามา เพื่อกำหนดแนวทางในการพักหนี้ให้กับกลุ่มเอสเอ็มอีให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด เช่น จะกำหนดวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินเท่าใด ระยะเวลาการกู้ และช่วยกลุ่มใดบ้าง” นายจุลพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้ การพักหนี้ให้เอสเอ็มอีรอบนี้ เอสเอ็มอีที่ร่วมมาตรการ จะสามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ เพื่อให้มีสภาพคล่องในการกลับไปดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกันก็จะมีมาตรการจูงใจให้มีการชำระเงินต้นบางส่วน ซึ่งเมื่อพ้นกำ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมชัย' จับตา 'ซุปเปอร์แอป' ถ้าใช้งบทำแล้ว หาแหล่งเงินไม่ได้ จะรับผิดชอบอย่างไร

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. และอดีต รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ ซุปเปอร์ แอ๊ป นับหนึ่งหรือยัง ว่า

อดีตคน ธกส. เคยร่วมแก้กฎหมาย อธิบายชัดเจน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์มาตรา 9

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กระบุว่า #เศรษฐาซื้อเวลาเงินหมื่นสุดท้ายทำไม่ได้ แปลกใจไหมครับ ทำไมวันที่นายเศรษฐาแถลงเรื่องดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท

พรรคร่วมฯ เพียงเห็นชอบเชิงหลักการ รัฐบาลเล่นกลแจกเงินหมื่น หาเสียงนิยมให้พท.

'จตุพร' ซัดรัฐบาลเล่นกลซ่อนเจตนากู้เงินแจกหมื่น เชื่อปั่นความหวังเคลมดิจิทัลหาเสียงนิยมให้เพื่อไทย แต่ ปท.ชิบหายแบกหนี้ก้อนโต ชี้พรรคร่วมฯ เพียงเห็นชอบเชิงหลักการเท่านั้น

เย้ยพรรคร่วมรัฐบาล ยืนแถลงหนุน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' แค่ลมพัดไหว ไม่มีอะไรในกอไผ่

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. และอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โพสต์เฟซบุ๊กว่า

'สร.ธกส.' ร่อนหนังสือจี้ 'ผจก.ธกส.' ทำตามข้อเสนอต่อนโยบาย Digital wallet 3 ข้อ

นายประหยัด ธรรมขันธ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหนังสือที่๑๓๕/ ๒๕๖๗ ลงวันที่ 18 เมษายน 2567 ถึง ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เรื่อง ข้อเสนอต่อการดำเนินนโยบาย Digital wallet