
24 ก.ย. 2566 – นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาโพสต์เรื่องนี้ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ก่อนเก็บ 20 บาท ตลอดสาย รถไฟฟ้าสายสีแดง+สีม่วง กระอัก ขาดทุนหนักวันละ 7 ล้าน ! เนื้อหาใจความว่า
รัฐบาลมีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย โดยจะเปิดให้บริการ 2 สายก่อน คือสายสีแดงและสายสีม่วง มาดูกันว่าในปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้งสองสายนี้ขนผู้โดยสารวันละเท่าไหร่ มีรายได้มากน้อยเพียงใด สายสีแดงหรือสายสีม่วงขาดทุนมากกว่า ?
1.รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเส้นทางจากบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร และจากบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 41 กิโลเมตร ค่าโดยสารในปัจจุบัน 12-42 บาท
จากข้อมูลการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 พบว่า
(1) ผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน 19,611 คน
(2) รายได้เฉลี่ยต่อวัน 0.59 ล้านบาท
(3) ค่าจ้างบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาต่อวัน 1.31 ล้านบาท
(4) ขาดทุนเฉลี่ยต่อวัน 0.72 ล้านบาท
2.รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นการลงทุนทั้งหมดโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีเส้นทางจากเตาปูน-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ค่าโดยสารในปัจจุบัน 17-42 บาท
จากข้อมูลการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 พบว่า
(1) ผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน 56,255 คน
(2) รายได้เฉลี่ยต่อวัน 1.41 ล้านบาท
(3) ค่าจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาต่อวัน 7.39 ล้านบาท
(4) ขาดทุนเฉลี่ยต่อวัน 5.98 ล้านบาท
3. ในปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีมวงขาดทุนรวมกันวันละเกือบ 7 ล้านบาท !
รถไฟฟ้าสายสีแดงขาดทุนวันละ 0.72 ล้านบาท ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุนมากกว่า โดยขาดทุนถึงวันละ 5.98 ล้านบาท รวมทั้งสองสายขาดทุนวันละ 6.7 ล้านบาท
4. ถ้าเก็บ 20 บาท ตลอดสาย จะขาดทุนหนักขึ้น !
รมว.คมนาคม บอกว่าจะเร่งผลักดันรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย เฉพาะสายสีแดงและสายสีม่วงเป็นสายนำร่องให้ได้ภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ให้ผู้โดยสาร กรณีนี้หากผู้โดยสารจ่าย 20 บาท เพื่อใช้สายสีแดง (หรือสายสีม่วง) เมื่อเปลี่ยนไปใช้สายสีอื่นจะต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าโดยสารของสายนั้นๆ การเก็บ 20 บาท ตลอดสาย แต่ไม่สามารถใช้ข้ามสายได้ จะไม่ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก และจะสร้างความไม่พอใจให้กับผู้โดยสารที่ในปัจจุบันจ่ายค่าโดยสารต่ำกว่า 20 บาท โดยเฉพาะผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจ่ายเริ่มต้นเพียง 12 บาท เท่านั้น
เมื่อมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่มาก รายได้จากค่าโดยสารก็จะต่ำกว่าเดิม เป็นผลให้รถไฟฟ้าทั้งสองสายขาดทุนหนักขึ้น
5.สรุป
ผมเห็นด้วยกับการทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่ก่อนเริ่มใช้ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย รมว.คมนาคม จะต้องรู้ว่ารัฐจะต้องสูญเสียรายได้ไปเท่าไหร่ ? คุ้มหรือไม่กับประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีผู้ใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ? และที่สำคัญ จะมีผู้ใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกี่คน ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'มท.1' จ่อคลอดกฎกระทรวง เปิดผับตี 4 นำร่อง 4 จังหวัด
'อนุทิน' เตรียมออกกฎกระทรวงขยายเวลาเปิดผับถึงตีสี่ พร้อมชงร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจผู้ว่าฯ จัดพื้นที่โซนนิง ชี้ปม จนท.เข้าผับเกินเวลา ต้องรอการสอบสวน ยันใช้กฎหมายเท่าเทียม
เชื่อมั้ย! ค่ารถไฟฟ้าใน กทม. ต่ำสุดแค่ 3 บาท
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เชื่อมั้ย ? ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ต่ำสุด 3 บาท !
อ่วม 20 บาทตลอดสายฉุดรายได้รถไฟฟ้า 'แดง-ม่วง' วูบ!
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
‘สุรพงษ์’ เร่งเครื่องสายสีแดงส่วนต่อขยายลุ้นช่วง ‘รังสิต-มธ.’ ชง ครม.เคาะสัปดาห์หน้า
‘สุรพงษ์‘ ตรวจงาน ‘กรมราง’เร่งสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง จ่อชง ครม.เคาะ ‘รังสิต-มธ’สัปดาห์หน้า ดัน พ.ร.บ.กรมราง เสนอ ครม. เห็นชอบภายในสิ้นปีนี้ ก่อนมีผลบังคับใช้ปี 67 ส่วนไฮสปีดไทย-จีน คืบหน้า 27% วางเป้าเสร็จปี 69
‘สุริยะ’ โชว์นำร่องนั่งรถไฟฟ้าสายสี ‘ม่วง-แดง’ 20 บาทตลอดสาย
ทำได้แล้ว ‘สุริยะ‘นำร่องโชว์นั่งรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ประเดิม 2 เส้นทาง ‘สายสีม่วง-สายสีแดง’ คาดใช้บริการ 1 แสนคน-เที่ยวต่อวัน ส่วนเชื่อมต่อข้ามระบบใช้ได้ 1 พ.ย. นี้ หวังลดค่าครองชีพให้ประชาชน
‘สุริยะ’ ชี้เมื่อ ครม.เห็นชอบรถไฟฟ้า 20 บาท ‘แดง-ม่วง’ มีผลทันที
โครงการปรับราคาค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย รถไฟชานเมืองสายสีแดง และสีม่วง หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติจะมีผลทันที