อจ.เศรษฐศาสตร์ ออกแถลงการณ์จี้ รัฐบาลทบทวนแจกเงินดิจิทัล ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

5 ต.ค. 2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่  3 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการออกเป็นแถลงการณ์อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

โดยมีเนื้อหาใจความว่า

อาจารย์เศรษฐศาสตร์ ที่มีความเห็นสอดคล้องกันได้ร่วมกันลงชื่อออกแถลงการณ์​ที่จะขอให้รัฐบาลทบทวน ‘นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาท’ ด้วยความรอบคอบอีกสักครั้ง เพราะเป็นนโยบายที่ ได้ไม่คุ้มเสีย’ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1) เศรษฐกิจไทยกำลังค่อย ๆฟื้นตัวตามศักยภาพ คาดว่าปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.6 และ 3.8 ในปีหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ด้าสำคัญ ที่ค่อย ๆฟื้นตัวจากวิกฤตโรคระบาดและเงินเฟ้อรุนแรงในช่วงปี 2562-2565 จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้น การบริโภคภายในประเทศ เพราะที่ผ่านมาการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกัยการส่งออก

นอกจากนี้ การกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศยังอาจจะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อให้สูงขึ้นมาอีก หลังจากที่เงินเฟ้อได้ลดลงจากร้อยละ6.1 มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.9 ในปีนี้ ท่ามกลางราดาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะหลัง การกระตุ้นการบริโภคจะทำให้เงินเฟ้อดาดการณ์ (inflation expectation) สูงขึ้น และอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด

2) เงินงบประมาณของรัฐมีค่าเสียโอกาสเสมอ ด่าเสียโอกาสของเงินจำนวนประมาณ 560,000 ล้านบาท คือเงินงบประมาณที่รัฐจะใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้างdigital infrastructure หรือในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่จะสร้างศักยภาพในการเจริญเติบโตในระยะยาว แทนการใช้เงินเพื่อการกระตุ้นการบริโภคระยะสั้น ๆ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการสร้างภาระหนี้สาธารณะให้แก่คนรุ่นต่อไป

3) การกระตุ้นเศรษฐกิจให้ GDP ขยายตัวโดยรัฐแจกเงิน จำนวน 560,000 ล้านบาทเข้าไปในระบบอาจจะเป็นการคาดหวังที่เกินจริง เพราะปัจจุบัน มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ตัวทวีคูณทางการคลัง (fiscal multiplier) มีค่าลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้จ่ายของรัฐที่เป็นเงินโอนหรือการแจกเงิน เมื่อเทียบกับตัวทวีคูณของการใช้จ่ายของรัฐโดยตรง

นอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าตัวทวีคูณ ทางการคลังของการใช้จ่ายประเภทเงินโอนมีค่าน้อยกว่า 1 ด้วยซ้ำ การที่รัฐบอกว่านโยบายนี้จะทำให้เงินหมุนหลายรอบ จะเป็นการเปลี่ยนมือจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งนั้น หมายถึงอัตราหมุนเวียนของเงิน (velocity of money) แต่ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐที่จะมีต่อ GDP ต้องดูจากตัวทวีคูณทางการ คลัง (fiscal mutiplier) ที่ปัจจุบันมีค่าต่ำมาก

4) เราอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก การก่อหนี้จำนวนมาก ไม่ว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจหรือกู้สถาบันการเงินของภาครัฐ ก็ล้วนแต่จะเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสิ้นเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ หนี้สาธารณะของรัฐที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 61.6 ของ GDP จะต้องมีภาระ จ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นเมื่อมีการ rollover ซึ่งจะมีผลต่อเงินงบประมาณในแต่ละปีนี่ยังไม่นับค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาจากการแจกเงิน digital 10,000 บาทนี้

5)ในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลแทบทุกประเทศต่างก็จำเป็นที่จะต้องมีการขาดดุลการคลังและสร้างหนี้จำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และรายจ่ายทางด้านสาธารณสุข แต่หลังจากวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยผ่านไป หลายประเทศได้แสดงเจตนารมย์ที่จะลดการขาดดุลภาครัฐ และหนี้สาธารณะลง (fiscal consolidation) เพื่อสร้าง ‘ที่ว่างทางการคลัง (fiscal space) ไว้รองรับวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาทนี้ ดูจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศ ไทยที่มีอัตราส่วนรายรับจากภาษีต่อ GDP เพียงร้อยละ 13.7 ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่นๆ

6) สำหรับประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยเช่นประเทศไทย การเตรียมตัวทางด้านการคลังเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่จำนวนคนในวัยทำงานลดลงและภาระการใช้จ่ายทางด้นสวัสดิการและสาธารณสุขเพิ่มขึ้น ควรใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและรักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด

ด้วยเหตุผลต่างๆข้างต้น จึงขอให้รัฐบาลทบทวน ‘นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาทแก่ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพราะผลประโยชน์ที่ได้จะน้อยกว่าตันทุนที่เสียไป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆโดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพการคลังในระยะยาว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แพร่บทความปอกเปลือก ทักษิโณมิคส์ บวก X กลายเป็นโครงการแจกเงินดิจิทัล

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง "ทักษิโณมิคส์ + X = โครงการแจกเงินดิจิตอล" มีเนื้อหาดังนี้ เมื่อคราวแรกเริ่มครองอำนาจในปี ๒๕๔๖ ของพรรคทักษิณ ที่พลิกมิติการปกครองไทยด้วยชุดนโยบายการเงินที่โหมอัดฉีดประชานิยมชนิดเข้มข้นต่างๆนานา

'อนุทิน' ย้ำ ภท.หนุนดิจิทัลวอลเล็ตให้เป็นไปตามกฎหมาย ยึดข้อเสนอ 3 หน่วยงาน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย(ภท.) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์ ถึงกรณีที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านโครงการแจกเงินดิจิทัล

อดีตคน ธกส. เคยร่วมแก้กฎหมาย อธิบายชัดเจน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์มาตรา 9

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กระบุว่า #เศรษฐาซื้อเวลาเงินหมื่นสุดท้ายทำไม่ได้ แปลกใจไหมครับ ทำไมวันที่นายเศรษฐาแถลงเรื่องดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท

'นันทิวัฒน์' ตั้งข้อสังเกตรัฐบาลไม่ฟังแบงก์ชาติท้วงติงแจกเงินดิจิทัล คุกไว้ว่ากันทีหลัง

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า นี่หรือจะช่วยคนจน การท้วงติงของแบ๊งค์ชาติเรื่องเงินดิจิตอล

นายกฯ นำรมต.พรรคร่วม ยืนเรียงแถว แถลงครม.เห็นชอบหลักการดิจิทัลวอลเล็ต

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นำแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ , นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย , นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน