‘ดีอี’ เตือนระวังคนร้ายหลอกรับเงินบริจาคฉวยสถานการณ์อิสราเอล-ฮามาส

รัฐมนตรีดีอี ห่วงใย หวั่นคนไทยหลงเป็นเหยื่อ มิจฉาชีพออนไลน์ ใช้สถานการณ์อิสราเอล-ฮามาส หลอกรับเงินบริจาค หลอกช่วยเหลือญาติพี่น้อง และขอให้ประชาชน ติดตามข่าวสาร อิสราเอล-ฮามาส จากกระทรวงการต่างประเทศและภาครัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่หลงเชื่อข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน และโจรออนไลน์ 

11 ต.ค. 2566 – นายประเสริฐ จันทรรวงทอง  รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ในวันนี้ ได้มีการประชุมผู้บริหารกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Top Executives) มีเรื่องสำคัญ ดังนี้  

1. เรื่องแรก คือ ขอแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย ในกรณี อิสราเอล-ฮามาส และ เตือนประชาชน ระวัง! คนร้ายหลอกรับเงินบริจาค ฉวยโอกาสสถานการณ์อิสราเอล-ฮามาส ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และโอนเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจะทำให้เสียทรัพย์สินตามมา นอกจากนี้ ขอให้ระวังข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน ขอให้ประชาชน ติดตามข่าวสาร อิสราเอล-ฮามาส จากกระทรวงการต่างประเทศและภาครัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่หลงเชื่อข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน

2. นอกจากนี้ กระทรวงฯ โดยทางบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ได้อำนวยความสะดวกให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ฟรี ติดต่อไป อิสราเอล โดยโทรเข้าระบบ 001 800 001 หลังเสียง IVR กด 009 ตามด้วยหมายเลขปลายทาง โทรได้ทุกเครือข่าย

3. การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) เพื่อให้มีการดำเนินการในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ เป็นศูนย์แบบ One Stop Service สามารถดำเนินการระงับธุรกรรม/อายัดบัญชี ให้แก่ประชาชนทันที และให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยออนไลน์ โดยตั้งเป้าหมาย AOC เริ่มใช้ใน 1 พฤศจิกายนนี้ เป้าหมาย ทำ Call center 100 คู่สาย ให้บริการ 24 ชั่วโมง

4. การปิดกั้นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย โดย 1-8 ตุลาคม 2566 มีการปิดกั้น ได้สูงขึ้นมาก  2,417 รายการใน 8 วัน หรือ เฉลี่ย 302 รายการ (หรือ url) ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดิม 5 – 6 เท่าตัว จากเดิมในปีงบประมาณ 2566 (1 ตค 2565 – 30 กย 2566) ปิดกั้น 19,953 รายการ หรือ เฉลี่ย 54.6 รายการ ต่อวัน โดยมีสาเหตุจากการปรับเปลี่ยนวิธีการปิดกั้น โดยใช้ บุคคลากร ดีอี ดำเนินการเองมากขึ้น และ การร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ platform สังคมออนไลน์ต่างๆ    

ซึ่ง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 รมว. DE ได้มีการหารือกับ บริษัท META (Facebook) และ Tiktok/Bytedance ประเด็นการป้องกันการหลอกลวงออนไลน์ การทำผิดกฎหมายออนไลน์ โดยเฉพาะที่ คนร้าย มีการซื้อโฆษณาใช้หลอกลวงส่งประชาชนวงกว้าง และหารือประเด็น เรื่อง การสื่อสารที่เป็นภัยสังคม สร้างความเสียหายต่อผู้อื่น ปัญหาข่าวปลอม (Fake News) นอกจากนี้ หารือถึงความร่วมมือ ในการใช้ social media เพื่อการพัฒนาบุคคลากรไทย การพัฒนาอาชีพ และ สร้างรายได้สำหรับคนไทย

รัฐมนตรีประเสริฐ กล่าวในตอนท้ายว่า “ขอเตือน คนร้าย คนฉวยโอกาส อิสราเอล-ฮามาส หลอกลวงออนไลน์ หลอกช่วยเหลือญาติพี่น้อง หลอกรับบริจาค ระวังเจอโทษหนัก ตาม พรบ. คอมพิวเตอร์ การนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ โทษสูงสุดจำคุก 5 ปี และอาจเข้าข่ายการฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา โทษจำคุกสูงสุด 5 ปี”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ประเสริฐ' เผยยึดทรัพย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้กว่าหมื่นล้าน แจ้งช่องทางผู้เสียหายขอรับเงินคืน

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้สัมภาษณ์ ถึงการอายัดเงินสดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 17 เม.ย. ว่า ล่าสุดสามารถตรวจยึดทรัพย์สินเป็นเงินสดประมาณ 250 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสดทั้งหมด

‘ประเสริฐ’ เสียงแข็ง ‘ทักษิณ’ เข้าพรรค พท. ไม่ได้ครอบงำ แค่คนเคารพนับถือมาเยือน

‘ประเสริฐ’ มั่นใจ ‘ทักษิณ’ เข้าที่ทำการ พท.ไม่ได้ครอบงำพรรค จนนำไปสู่ยุบพรรค ชี้ไปไหนมาไหนได้ เพราะไม่ได้มีข้อห้าม เชื่อกระแสนิยมพรรค ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอดีตนายกฯ แต่ขึ้นอยู่กับผลงานรัฐบาล

นายกฯ สักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ก่อนตรวจราชการ จ. นครราชสีมา

เวลา 09.29 น. ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายสุริยะ รุ่งเรืองกิจ

เผย ขั้นตอนแก้ไข หากโทรศัพท์มือถือ โดนรีโมตควบคุมจากระยะไกล

'คารม' เผย ขั้นตอนแก้ไข หากโทรศัพท์มือถือโดนรีโมตควบคุมจากระยะไกล แนะห้ามกดลิงก์หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่ใน APP Store หรือ Play Store