
“เครือซีพี” เดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็น Tech Company ผนึกกำลังองค์กรชั้นนำระดับโลก MIT – Plug and Play พร้อมหน่วยงานเทคโนโลยีจากจีน-สิงคโปร์ ตั้งเครือข่ายองค์กรพันธมิตรด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี “CPG Open Innovation Ecosystem Partner”
17 ธ.ค. 2564 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จัดงาน “CPG Open Innovation Ecosystem Partner Day” เพื่อเปิดตัวความร่วมมือครั้งสำคัญด้านงานวิจัยและนวัตกรรมระหว่าง เครือซีพีและพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งจากทั่วโลกในฐานะ“เครือข่ายองค์กรพันธมิตรในระบบนิเวศนวัตกรรม” หรือ “Innovation Ecosystem Partner” ประกอบด้วย โครงการความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology Industrial Liaison Program – MIT ILP) Plug and Play Tech Center ผู้นำด้านเทคเวนเจอร์จากซิลิคอนวัลเลย์, Enterprise Singapore หน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพของสิงคโปร์, สำนักงานนวัตกรรมและความร่วมมือ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Science Innovation Cooperation Center Bangkok), มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (University of California, Davis) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
โดยตัวแทนจากแต่ละหน่วยงานในเครือข่ายพันธมิตรฯ Innovation Ecosystem Partner และผู้บริหารจากซีพีเอฟ ซีพีออลล์ สถาบันปัญญาภิวัฒน์ ทรูดิจิทัลพาร์ค ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิด และองค์ความรู้ด้านงานวิจัยและนวัตกรรมที่หลากหลายร่วมกัน โดยมี ดร.จอห์น เจียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวต้อนรับพร้อมร่วมเสนอมุมมองของเครือซีพีในการสร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) โดยได้รับความสนใจจากผู้บริหารและพนักงานในกลุ่มธุรกิจของเครือซีพี เข้าร่วมงานที่ทรูดิจิทัลพาร์ค และผ่านการประชุมออนไลน์อย่างคับคั่ง ทั้งนี้ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากทั่วโลกดังกล่าวนับเป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ความมุ่งมั่นของเครือซีพีที่จะพาธุรกิจในเครือฯ ก้าวเข้าสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี
ดร.จอห์น เจียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สอดคล้องกับนโยบายของเครือฯ ตามวิสัยทัศน์ของประธานคณะผู้บริหาร นายศุภชัย เจียรวนนท์ ที่จะนำพาเครือฯซีพีเข้าสู่การเป็นองค์กรด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพราะธุรกิจจากนี้จะต้องปรับตัวสู่รูปแบบที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น และต้องมีการนำงานวิจัยวิทยาศาสตร์มาสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ฉะนั้นจึงต้องยกระดับศักยภาพของเครือซีพีในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตเคียงคู่สังคมในหมุดหมายที่จะเป็น “ผู้นำด้านเทคโนโลยี” โดยขณะนี้เครือซีพีและบริษัทในเครือฯให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยี Biotech, Foodtech, Cleantech, AI, Robotics & Automation, E-Commerce, Data Analytic, Data Security, Cloud Technology, และ Digital Media รวมถึงการให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนลงทุนในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป
“การร่วมมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งระดับโลกทั้ง MIT, Plug and Play Tech Center, Enterprise Singapore และอีกหลายองค์กรที่อยู่ใน Innovation Ecosystem จะทำให้เครือซีพีบรรลุศักยภาพพอที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งในด้านการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนากับเครือข่ายองค์กรชั้นนำระดับโลกที่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาเทคโนโลยีให้เข้ากับธุรกิจของเครือฯ รวมไปถึงการมีตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมเพื่อเตรียมความพร้อมด้าน Digital Transformation ซึ่งจะทำให้เครือซีพีสามารถไปถึงเป้าหมายในการเป็น Tech Company”ดร.จอห์น เจียงกล่าว
ด้านนาย Shawn Dehpanah รองกรรมการผู้จัดการภูมิภาคเอเชียแปฟิก Plug and Play กล่าวว่า Plug and Play มีความยินดีอย่างมากที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรชั้นนำในด้านอุตสาหกรรมอาหาร ค้าปลีก การสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของธุรกิจที่ต้องปรับตัวอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมมือร่วมกับเครือซีพีในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพธุรกิจให้แก่กลุ่มธุรกิจในเครือฯ และหวังอย่างยิ่งว่าความร่วมมือกับเครือซีพีในการขยายแพลตฟอร์มนวัตกรรมขององค์กรจะเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จที่สำคัญในการนำพาองค์กรไทยก้าวสู่ผู้นำแห่งเทคโนโลยีผ่านการปรับใช้ และเรียนรู้วิธีการทำงานกับสตาร์ทอัพได้
ด้าน Dr.Todd Glickman, Senior Director of Corporate Relations จากโครงการความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม (ILP) ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ MIT กล่าวว่า เครือซีพีเป็นองค์กรเอกชนชั้นนำของไทยที่มีความหลากหลายทั้งในด้านของอุตสาหกรรม การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี ซึ่งคณาจารย์และนักวิจัยของ MIT ที่มีประสบการณ์ความร่วมมือในการทำวิจัยร่วมกับกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่กว่า 240 โครงการทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการเข้ามาร่วมมือกับเครือซีพีในครั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างซีพีกับ MIT ในครั้งนี้จะเน้นที่การร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในด้านของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาปรับประยุกต์ใช้ในธุรกิจของเครือฯ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยจาก MIT และพนักงานของเครือซีพี ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศต่อไป
นางสาว Charlene Young จาก Enterprise Singapore หน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพของสิงคโปร์ กล่าวว่า นับเป็นความภาคภูมิใจของ Enterprise Singapore ที่มีโอกาสร่วมมือกับเครือซีพี ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำธุรกิจหลากหลายและมีชื่อเสียงระดับโลก ในการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมและผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างศักยภาพให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีของโลกในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โค้ชด่วน'ไม่กดดันทีมสาวไทย ห่วงอาการอ่อนล้า ขอวางแผนเล่นทีละนัด
“โค้ชด่วน” ดนัย ศรีวัชรเมธากุล เป็นห่วงเรื่องอาการล้าของ ทีมนักวอลเลย์บอลสาวไทย ที่มีโปรแกรมลงแข่งขันต่อเนื่อง จบศึกคัดเลือกกีฬาโอลิมปิกก็ต่อด้่วยกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ พร้อมมั่นใจว่าจะผ่านรอบแรกในเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 ได้ แต่ยังไม่มองไกลถึงแชมป์ เพราะไม่อยากกดดันนักกีฬาว่าจะต้องได้แชมป์
'ณัยณพ'ประธานพาราไทย เชื่อมั่น'กรีฑา' สร้างผลงานอช.พาราเกมส์
ร.ท.ณัยณพ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกเเห่งประเทศไทย เชื่อมั่นว่านักกรีฑาพาราไทย ทั้ง ประเภทแขน-ขา และ วีลแชร์เรซซิ่ง จะสร้างผลงานได้ดีในการแข่งขัน "เอเชียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4" ระหว่างวันที่ 22-28 ตุลาคม 2566 ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.นครราชสีมา
'กัญจน์'หวังคว้าชัย ศึก'อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ สิงคโปร์' ลุ้นแชมป์อันดับทำเงิน 2023
กัญจน์ เจริญกุล หวังทำผลงานดีในศึก อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ สิงคโปร์ ในสัปดาห์หน้า เพื่อโอกาสลุ้นแชมป์ทำเงินรางวัลสะสมประจำฤดูกาลนี้ โดยเตรียมพร้อมลงประชันฝีมือกับบรรดาผู้เล่นชั้นนำของเอเชียนทัวร์ ที่สนามทานาห์ เมราห์ คันทรีคลับ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีเงินรางวัลรวมให้ช่วงชิง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70 ล้านบาท
วอลเลย์สาวกลับถึงไทย เตรียมบินลุยอชก.28ก.ย.นี้ 'รองฯชุม'สั่งดูแลอย่างดี
ความเคลื่อนไหวของทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ชุดเข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 “หางโจวเกมส์” ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน ภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในรายการวอลเลย์บอลหญิง โอลิมปิกเกมส์ 2024 รอบคัดเลือก ที่เมืองลอดซ์ ประเทศโปแลนด์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
‘ธนกร’ หนุนวีซ่าฟรี ‘จีน-คาซัคสถาน’ ช่วยท่องเที่ยวไทยบูมยาวถึงปีหน้า
‘ธนกร’ ชี้วีซ่าฟรี ‘จีน-คาซัคสถาน’บูมท่องเที่ยวไทยไฮซีซั่นยาวถึงปีหน้า ชูท่องเที่ยว เน้นซอฟท์พาวเวอร์อัตลักษณ์ท้องถิ่นไทย แนะ คนไทยเป็นเจ้าบ้านที่ดี สร้างความเชื่อมั่น-ปลอดภัย พร้อมเข้มรีเช็คแบล็คลิสต์นทท.ก่อนเข้าประเทศ เชื่อ แคมเปญนี้ ช่วยกระชากเม็ดเงินไหลเข้าประเทศโตต่อเนื่อง
'กษิดิศ'ชนะหนุ่มคูเวต ประเดิมคว้าชัย เทนนิสเอเชี่ยนเกมส์
การแข่งขันเทนนิส กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดฉากวันแรก เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566 ณ สนามโอลิมปิกเทนนิส เซ็นเตอร์ โดย "บูม" กษิดิศ สำเร็จ นักหวดวัย 22 ปี มือ 636 ของโลก ลงสนามแข่งขันเป็นคนแรกของทีมเทนนิสไทย