สสว. เผยหนี้เอสเอ็มอีพุ่งกระฉูด 60%

สสว.เผยสถานการณ์เอสเอ็มอี Q3/66 หนี้กระฉูด โตจากไตรมาสก่อนถึง 60.3% หวั่นความสามารถชำระหนี้ดิ่ง ส่อแววผิดนัดจ่ายเงินเพิ่ม จี้รัฐหาเงินกู้ดอกต่ำพิเศษ พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยขยายระยะเวลาชำระ

21 ต.ค. 2566 – นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ได้สำรวจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถึงสถานการณ์ด้านหนี้สินกิจการ ไตรมาส 3/2566 ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศพบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีภาระหนี้สินในไตรมาส 3 เทียบจากไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นถึง 60.3% ส่วนมากเป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดกลาง โดยเฉพาะสาขาบริการ ด้านการขนส่งสินค้า ร้านอาหาร การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังไม่ฟื้นกลับมาเป็นปกติ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั่วโลก กำลังซื้อในประเทศยังไม่ฟื้นมากนัก

สำหรับแหล่งกู้ยืมของธุรกิจเอสเอ็มอี 66.2% กู้ยืมมาจากสถาบันการเงินอีก 33.8% มาจากแหล่งเงินทุนนอกระบบสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยในธุรกิจภาคการค้า โดยเฉพาะร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ที่ใช้บริการจากแหล่งนี้และเป็นการกู้ยืมจากเพื่อน ญาติพี่น้องมากที่สุด ตามข้อจำกัดเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ

“จากผลสำรวจพบว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกือบ 90% กู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ รองลงมากู้ยืมเพื่อนำมาลงทุนและการชำระหนี้เดิม โดยเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินอยู่ในช่วง 50,000-500,000 บาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นตามขนาดของธุรกิจ”นายวีระพงศ์ กล่าว

ส่วนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 30% ประเมินว่าระยะเวลาสัญญาเงินกู้ของเอสเอ็มอีที่ได้รับยังสั้นเกินไป ส่งผลกระทบต่อความสามารถการชำระหนี้ แต่ยังมีเอสเอ็มอีอีก 20% ที่มีแผนจะกู้ยืมในอนาคต เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ แม้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 75% กำลังเผชิญปัญหาด้านการเงิน และภาระหนี้สิน ทั้งการมีสภาพคล่องลดลง อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แม้เอสเอ็มอีเกือบ 50% ยังสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดสัญญา แต่เอสเอ็มอี 38.4% เริ่มผิดเงื่อนไขการชำระหนี้และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน

นายวีระพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาสำคัญมากที่สุดในด้านหนี้สินของเอสเอ็มอี คือ อัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เป็นภาระและความเสี่ยงด้านต้นทุนและการลงทุนในช่วงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น และปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังมีต่อเนื่อง คือ ขั้นตอนการกู้ยุ่งยาก ต้องใช้เอกสารหลักฐานสำคัญจำนวนมาก และอนุมัติล่าช้า ขาดความรู้ในการจัดการบริหารการเงินและหนี้สิน รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือมากที่สุด คือ การลดอัตราดอกเบี้ยหรือการได้รับดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ รวมถึงการลดเงื่อนไขการยื่นขอเพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อ การมีสถาบันการเงินสำหรับธุรกิจรายเล็กหรือรายย่อยโดยเฉพาะ การขยายระยะเวลาชำระหนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสว. เผยภาคธุรกิจการเกษตรนำโด่งครองแชมป์นำเข้าสินค้ามากสุด

สสว. เผยผลสำรวจการนำเข้าสินค้าของเอสเอ็มอีไทย พบว่า ภาคธุรกิจเกษตร นำเข้าสินค้ามากที่สุด ส่วนกลุ่มสินค้าที่ครองแชมป์นำเข้าสูงสุด ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์ เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าศัตรูพืช น้ำยาทำความสะอาด และกลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค แหล่งนำเข้าหลักมาจาก จีน ญี่ปุ่น อเมริกา เกาหลีใต้ และ เวียดนาม ฯลฯ โดยนำเข้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นหลัก แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ราคาขนส่งและความล่าช้าในการขนส่ง ผู้ประกอบการ SME จึงต้องการให้ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาสินค้าในประเทศให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อทดแทนการนำเข้า

สสว. เผย SME ไทยยังแบกหนี้สินอื้อ

สสว. เผย SME ยังแบกหนี้สินอื้อ Q4/66 อยู่ที่ระดับ 60% ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ชี้กลุ่ม Micro เริ่มเข้าถึงแหล่งเงินในระบบเพิ่มขึ้น เผยด้านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังอยู่ในระดับสูง

สสว. เผยจัดมาตรการช่วงเอสเอ็มอี ตั้งแต่ช่วงโควิดถึง 82 โครงการ

สสว. เผยผลการประมวลมาตรการส่งเสริม SME ตั้งแต่ช่วงวิกฤติโควิด 19 ถึงปี 2565 พบว่า ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือกว่า 82 มาตรการ/โครงการ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นด้านพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ SME มองว่ามาตรการทางการเงินได้รับประโยชน์มากที่สุดโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติ รองลงมาคือการลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ และการสนับสนุนองค์ความรู้

สสว.ดันไมโคร เอสเอ็มอี ชิงเค้กงานภาครัฐ

สสว.ดันไมโคร เอสเอ็มอี เข้าระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เผยปีงบ 65 ชิงเค้กได้กว่า 41% รวมเป็นมูลค่า 4.8 แสนล้านบาท ลั่นปี 66 หวังดันทะลุ 50% ของการจัดซื้อจัดจ้างทั้งระบบ พร้อมหาช่องทางหนุนสินค้ากลุ่ม BCG เพิ่ม

สสว.จับมือ 6 ภาคีมอบสิทธิพิเศษเอสเอ็มอีลดต้นทุน หนุนชิงเค้กงานรัฐ 1.5 หมื่นล้าน

สสว.จับมือ 6 ภาคีมอบสิทธิพิเศษเอสเอ็มอีลดต้นทุน เพิ่มความสามารถแข่งขัน หนุนชิงเค้กจัดซื้อจัดจ้างรัฐ 1.5 หมื่นล้านบาท