‘คมนาคม’ ขู่ฉีกสัญญาบินไทยปมสายการบินร้องให้บริการภาคพื้นไร้คุณภาพ

“สุริยะ”ขู่ฉีกสัญญา “การบินไทย” ปมบริการภาคพื้นหลังสายการบินร้องไร้คุณภาพ สั่งปรับปรุงให้บริการ จี้ตรวจงานเดือนต่อเดือน สั่ง ทอท.ถกแอร์ไลน์ย้ายไปให้บริการSAT-1 ขีดเส้นสรุปภายใน 2 สัปดาห์

13 ก.พ. 2567 – นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากสายการบิน เช่น คาเธ่ย์ แปซิฟิก โคเรียนแอร์ ออลนิปปอนแอร์เวย์ เอเชียน่า ว่า มีปัญหาการให้บริการภาคพื้นที่จากบุคลากร มีไม่เพียงพอ อุปกรณ์ ไม่มีคุณภาพ ของการบินไทยที่ทำให้การบริการล่าช้าซึ่งปัจจุบัน สุวรรณภูมิ มีผู้ให้บริการ ภาคพื้น ได้แก่ การบินไทย, บางกอกแอร์เวย์ ส หรือ BFS ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)ให้การบินไทยในฐานะสายการบินแห่งชาติได้สิทธิในการให้บริการภาคพื้นยาวนานกว่า 30 ปี

ทั้งนี้ได้เรียกผู้ประกอบการภาคพื้นเข้ามาหารือ ซึ่งส่วนตัวต้องการให้สายการบินไปใช้ที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) แทน ในระหว่างที่มีการซ่อมแท็กซี่เวย์ แต่สายการบินส่วนใหญ่มีความกังวลว่า หากใช้งานที่อาคาร SAT-1 จะมีปัญหาเรื่องระบบขนส่งกระเป๋าจะรองรับไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของในระบบ โดยจะให้บริษัท หรือ บริษัทบริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด หรือ OSCA ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามาให้บริการในช่วงโควิด-19 ที่มีปัญหาเรื่องบุคลากร ภาคพื้น ขาดแคลน โดยให้ ทอท.หารือภายใน 2 สัปดาห์

“เรื่องของสัญญาการให้บริการภาคพื้นหากไม่สามารถทำให้การให้บริการดีขึ้นได้ โดยจะพิจารณา เดือนต่อเดือนซึ่งปัจจุบันการบินไทยเหลือสัญญาอีก 12 ปี และสัญญาระบุว่า สามารถยกเลิกสัญญา ได้ หากการให้บริการไม่เป็นไปตามสัญญา โดยจะพิจารณาเดือนต่อเดือน หากการบินไทยไม่สามารถทำให้บริการดีขึ้นก็อาจจะพิจารณาเรื่องสัญญา”นายสุริยะ กล่าว

ด้านนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทอท.อยู่ระหว่างจัดประมูลหาผู้ให้บริการภาคพื้น รายที่ 3 แต่ขณะที่อยู่ระหว่างคณะ กรรมการตามมาตรา 35 ที่กำลัง พิจารณาทีโออาร์ โดยกระบวนการหลังจากนี้หากคณะกรรมการเห็นชอบคาดว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์จะเข้าสู่กระบวนการการรับฟังความคิดเห็น คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนและช่วงปลายเดือนเมษายนคาดว่า จะสามารถประมูลได้ แต่หลังจากการประมูลคาดว่า ต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะได้ตัวผู้ประกอบการรายใหม่ซึ่งก่อนหน้านี้ ทอท.ได้หารือผู้ประกอบการ 2 รายที่ให้บริการในปัจจุ บัน ซึ่งยินยอมให้บริษัท OSCA เข้ามา

ทั้งนี้เนื่องจากช่วงหลังโควิด-19 กระทรวงคมนาคม ได้เรียกประชุมผู้ประกอบการว่า เกิดวิกฤตในเรื่องของการให้บริการภาคพื้น ซึ่งในขณะนั้นก็ได้มีการขอความเห็นไปทางสคร. ในเรื่องของการปฏิบัติตามพรบ.ร่วมทุนแต่ สคร.มีความเห็นมาว่า ปัญหาในการให้บริการ สามารถให้บริการชั่วคราวได้ โดยอยู่บนพื้นฐานว่าผู้ให้บริการรายปัจจุบันไม่สามารถที่จะให้บริการได้ ขณะที่นโยบายวีซ่าฟรี ทำให้มีความต้องการการบินเพิ่มขึ้น โดยในเดือนพ.ย. อยู่ที่ประมาณ 800 ไฟล์ทต่อวันแต่ล่าสุดอยู่ที่วันละ 1,000 ไฟล์ทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 20%พร้อมยืนยันว่า SAT-1 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึงวันละ 400 ไฟล์ท ซึ่งปัจจุบัน มีการใช้งานเพียงวันละ 82 ไฟล์ทเท่านั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ได้ฤกษ์ ‘สุริยะ’ เดินเครื่องเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ปักหมุดให้บริการปี 71

‘สุริยะ’กดปุ่มเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตั้งเป้าให้บริการปี 71

'เศรษฐา' ปลื้มสงกรานต์สุดปัง ต่างชาติทะลัก เงินหมุนเวียนอื้อ

'เศรษฐา' ปลื้มสงกรานต์ประสบความสำเร็จเงินหมุนเวียนอื้อตัวเลขนักท่องเที่ยวพุ่งเชื่อปี 67 เป็นปีที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยมากที่สุด

นายกฯ ตรวจหมอชิต ชมพัฒนาดีขึ้น คราวหน้าจะย่องมาอีกไม่บอกเวลา กลัวเจอจัดฉาก

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม

'สุริยะ' โชว์ราคาตั๋วเครื่องบิน 3 เส้นทางยอดนิยมช่วงสงกรานต์ปรับลดสูงสุด 14%

‘สุริยะ’ เผยลดค่าตั๋วเครื่องบิน - เพิ่มเที่ยวบินในประเทศช่วงสงกรานต์67 ชี้ 6 สายการบินรวมใจเพิ่ม 104 เที่ยว รวม 17,974 ที่นั่ง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ประชาชน ลุยคุมเข้มราคาของทุกแอร์ไลน์พร้อมเผยผลเปรียบเทียบ 3 เส้นทางยอดฮิตช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ชี้ ‘กรุงเทพ – ภูเก็ต’ ค่าตั๋วลดลงเกือบ 10% ส่วนเชียงใหม่หั่นลงกว่า 14%

‘สุริยะ' สั่งลดด่านทางด่วน จ่ายเงินซ้ำซ้อน หวังลดภาระประชาชน

‘สุริยะ’ สั่ง กทพ - สนข. ปรับโครงสร้างทางด่วนทั้งระบบ ศึกษายุบด่านจ่ายเงินซ้ำซ้อน หวังลดภาระประชาชน ลั่นหากเอกชนได้รับผลกระทบสูญเสียรายได้ อาจพิจารณาขยายสัมปทานชดเชย