
กกร.ลุ้นเศรษฐกิจไทยปี 68 ยังขยายตัว จับตาการกีดกันการค้า-เงินบาทแข็งยังสร้างผลกระทบ พร้อมคงตัวเลข GDP อยู่ที่ 2.4-2.9% เผยการส่งออกขยายตัวต่ำ ชี้มาตรการสหรัฐส่อแววหนุนสินค้าตปท.ทะลักไทย
5 ก.พ. 2568 – นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวจำกัด การกีดกันทางการค้าที่รุนแรงและทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องเป็นความท้าทายต่อการส่งออก ส่วนภาคอุตสาหกรรมบางสาขาเผชิญการแข่งขันจากสินค้าต่างชาติ ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวางแนวทางเพื่อลดผลกระทบทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
โดยใช้ประโยชน์จากกระแสการแยกขั้วของห่วงโซ่อุปทานดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งในปีที่ผ่านมาการขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงถึง 1.14 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ ยังต้องเร่งทำข้อตกลงทางการค้าเพิ่มเติมจาก FTA ไทย-EFTA ที่เพิ่งสำเร็จ เพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ที่ประชุมยังคงประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2568 อยู่ที่ 2.4-2.9% ขณะที่การส่งออกจะขยายตัวเพียง 1.5-2.5% จากปี 2567 ที่ขยายตัวขึ้นไปถึง 5.4% ส่วนอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 0.8-1.2%
นายเกรียงไกร กล่าวว่า สงครามการค้ารอบใหม่เริ่มแล้วที่เม็กซิโก แคนาดา และจีน ท่ามกลางการตอบโต้ โดยสหรัฐฯ ประกาศจะขึ้นอัตราภาษีนำเข้าต่อกลุ่มประเทศเป้าหมาย ทั้งต่อเม็กซิโกและแคนาดาในอัตรา 25% และจีนในอัตรา 10% ซึ่งจะส่งผลลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2568 และจะยิ่งส่งผลกระทบมากขึ้นในปี 2569 นอกจากนี้ ยังผลักดันนโยบายเร่งด่วนผ่านการใช้คำสั่งของฝ่ายบริหาร รวมถึงนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ ครอบคลุมทั้งประเด็นการค้าที่ไม่เป็นธรรม การจัดการคนเข้าเมือง และการถอนตัวจากข้อตกลงปารีส เป็นต้น
“ความขัดแย้งทางการค้ากดดันสินค้าจากต่างชาติเข้ามาแย่งตลาดและกระทบต่อภาคการผลิตของไทย สินค้าต่างประเทศที่ล้นตลาดจากปัญหาสงครามการค้าและการแยกขั้ว ทะลักเข้ามาในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและการจ้างงาน”นายเกรียงไกร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม กกร. จึงเสนอแนวทางเตรียมความพร้อมรับมือทั้งผลกระทบจากทางตรงและทางอ้อม ดังนี้ 1.การเจรจาระดับรัฐเพื่อป้องกันและบรรเทาการใช้มาตรการทางการค้าจากสหรัฐฯ 2.การสนับสนุนในด้านกฎหมาย กฎระเบียบการค้า เพื่อช่วยเหลือภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ 3.การบูรณาการเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมภายในประเทศ 4.การใช้มาตรการทางการค้าเพิ่มเติม นอกเหนือจากมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) 5.การควบคุมการตั้งหรือขยายโรงงาน รวมทั้งการให้การส่งเสริมในอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตเกินความต้องการ 6.การส่งเสริมสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือสินค้าที่ได้รับการรับรอง Made in Thailand (MIT)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'รมว.ยธ.' ตอกกลับ 'กัณวีร์' ยันจีนเปิดเสรีเยี่ยมอุยกูร์ หลังจากนี้ให้ไปได้อีก
'ทวี' ยันหลังเยี่ยมอุยกูร์ ทุกคนปลอดภัยดี แต่ไม่ได้พบทุกคนเหตุอยู่คนละพื้นที่ห่างไกล ย้อน 'กัณวีร์' เป็นมุสลิมหรือเปล่า กล่าวหาผู้หญิงเข้าสวมกอด สอน สส. หัดคิดถึงประโยชน์ประเทศ
'ทีดีอาร์ไอ' เตือนรัฐ หยุดเดินหน้าเงินดิจิทัลเฟสต่อไป แนะใช้งบแก้ปัญหาศก.ระยะยาวแทน
'ดร.สมชัย ' เตือนรัฐ หยุดเดินหน้าโครงการเงินดิจิทัลในเฟสต่อไป แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน ขณะที่เฟส 3 หนุนทบทวนเงื่อนไขเปิดทางใช้เงินหมื่นซื้อคอร์สอัพสกิล-รีสกิลได้ หวังพัฒนาทักษะคน เตือน รัฐบาลรับมือเศรษฐกิจซบเซา จากปัจจัยภายนอก-ในประเทศ โดยเฉพาะความปั่นป่วนจากสงครามการค้า -หนี้ครัวเรือนสูง ห่วงภาระการคลัง ทำเรตติงประเทศตก
6 กลุ่มผู้ประกอบการฯเดือดร้อน ยื่นหนังสือถึงนายกวอนรัฐบาลทบทวนภาษีสรรพสามิตสถานบริการเพื่อลดปัญหาและอุปสรรคต่อการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวอย่างเร่งด่วน
กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร สถานบันเทิง และสถานบริการ รวม 6 กลุ่มองค์กร นำโดย ดร.ญานี เลยวานิชเจริญ เลขาและกรรมการสมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหารกลางคืน และ นายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาลร่วมกันยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “ขอให้พิจารณาทบทวน