
23 ก.พ.2568 – “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับภาวะเศรษฐกิจ ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าสภาพเศรษฐกิจไทย ณ วันนี้ส่งผลกระทบทำให้ใช้จ่ายเดือนชนเดือน ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย ร้อยละ. 51.01 โดยคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด คือ เรื่องค่าครองชีพสูง คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อในประเทศไม่ขยายตัว ร้อยละ 82.94
ทั้งนี้เห็นว่ามาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 69.50 โดยนายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาลควรเข้ามาเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน ร้อยละ 76.58 เมื่อถามว่าหากอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ประชาชนคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างมองว่าเศรษฐกิจน่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 41.63 สุดท้ายเมื่อคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2568 นี้ ร้อยละ 46.01 มองว่าก็น่าจะเหมือนเดิมเช่นกัน
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ท่ามกลางราคาสินค้าและบริการที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ประชาชนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เป็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า แม้รัฐบาลพยายามเร่งอัดฉีดเงินหมื่นเข้าไปกระตุ้น แต่ก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้า นี่คือความท้าทายของรัฐบาลเพื่อไทยที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างชื่อจากความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ วันนี้ต้องเร่งคืนความเชื่อมั่นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยท่ามกลางแรงกดดันจากทั้งภายในและปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกอนงค์ ศรีสำอางค์ ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า ประชาชนมองว่ามาตรการของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ควรเร่งปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจ และคาดหวังว่านายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาลจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน กระทรวงพาณิชย์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ถูกคาดหวังให้ช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหานี้เช่นกัน นอกจากนี้การที่ประชาชนคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะคงที่หรือแย่ลง แสดงถึงความไม่เชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะสั้น แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท ออกมาก็ตาม รัฐบาลควรปรับมาตรการเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจากค่าครองชีพและช่วยลดภาระหนี้สินของประชาชน กระตุ้นการลงทุนโดยการลดต้นทุนการผลิตและสร้างความมั่นคงในระบบการเงิน ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การเพิ่มความโปร่งใสและมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับประชาชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจอย่างจริงจังและจริงใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'กรุงเทพฯ' ครองแชมป์จุดหมายปลายทางยอดนิยม ดันเศรษฐกิจไทยฟื้น
'สงกรานต์' ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก 'กรุงเทพฯ' ครองแชมป์จุดหมายปลายทางยอดนิยม เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแข็งแกร่ง ขึ้นแท่นอันดับ 2 อาเซียน
ดุสิตโพลเผยอุปสรรคการผลักดันสงกรานต์ไทยเป็น Soft Power
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “คนไทยกับสงกรานต์ (Soft Power)” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,298 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 8-11 เมษายน 2568 พบว่า สงกรานต์ปีนี้ ตั้งใจจะเข้าวัด ทำบุญ สรงน้ำพระ
'อิ๊งค์' ล่องเรือไฟฟ้า ชมคลองบางลำพู เจอชาวบ้านตะโกนทวงเงินหมื่น
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมพื้นที่คลองบางลำพู เพื่อดูแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีเส้นทางเชื่อมโยงกับคลองโอ่งอ่าง บริเวณสวนสาธารณะป้อมมหากาฬ โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้การต้อนรับ
รัฐบาล ตีปี๊บจัดเก็บภาษีทะลุเป้า ครึ่งปีแรก 9.6 แสนล้าน
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร ในเดือนมีนาคมพบว่า สามารถจัดเก็บรายได้ 170,473 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 6,603
ดุสิตโพล ชี้คนไทยไม่เชื่อมั่นรัฐจัดการเหตุภัยพิบัติ การแจ้งเตือนล่าช้า
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “คนไทยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,239 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างติดตามข่าวเหตุการณ์แผ่นดินไหวจากสื่อโซเชียลมีเดีย
ผลกระทบสหรัฐขึ้นภาษี สะเทือนทั้งระบบเศรษฐกิจไทย กลายเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมือง
ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า