ผอ.ยูเนสโก ด้านการศึกษาเผยเพราะโควิด จะทำให้เด็กชายขอบทั่วโลกเสี่ยงหลุดจากระบบการศีกษาถาวร

6มิ.ย.65-ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ – นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 การศึกษา 2030 ว่า ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เปิดการประชุมดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้ว โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุม ซึ่งรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะร่วมพลิกโฉมการศึกษา เพื่อเร่งรัดผลักดันการดำเนินงานสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการฟื้นฟูการเรียนรู้และปรับปรุงผลการเรียนสำหรับทุกคน นอกจากนี้จะจัดทำแถลงการณ์กรุงเทพฯปี 2022 ด้วย สำหรับการประชุมดังกล่าวทุกประเทศจะร่วมกันตระหนักถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งก่อให้เกิดความผันผวนที่คาดการณ์ไม่ได้และมีผลกระทบต่อการศึกษาทั้งในระดับโลกและภูมิภาค รวมถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากผลการดำเนินการและความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา (SDG4) และการแพร่ระบาดยังจะมีผลกระทบระยะยาวต่อเด็ก ๆ ในอนาคต โดยเฉพาะผู้เรียนที่เป็นกลุ่มด้อยโอกาส ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกประสบกับวิกฤตด้านการเรียนอยู่แล้วก่อนการแพร่ระบาดของโรควิด-19 ดังนั้นจึงต้องเร่งพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการศึกษา เพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต เพื่อให้การศึกษามีความเท่าเทียมและการคำนึงถึงงบประมาณด้านการศึกษาด้วย

ด้านนางสเตฟาเนีย เกียนนินี่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกด้านการศึกษา กล่าวว่า พวกเรามารวมตัวการประชุมในครั้งนี้ เพราะสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งแม้นโยบายจากทุกประเทศได้ลงมือปฎิบัติเพื่อให้การเรียนรู้เดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง แต่การปิดการเรียนการสอนและการเรียนออนไลน์มากว่า 2 ปีส่งผลให้เด็กเปราะบางหรือเด็กชายขอบต้องเผชิญกับความไม่เท่าเทียมในการศึกษา เพราะการใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ซึ่งเด็กหลายคนทั่วภูมิภาคมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้กลับไปเรียนหนังสืออีก และหากปล่อยให้เป็นเช่นนั้นจะส่งผลต่อระบบการศึกษา ดังนั้นการประชุมในครั้งนี้จะเป็นเวทีที่รัฐมนตรีด้านการศึกษาทั่วภูมิภาคทุกคนจะร่วมแบ่งประสบการณ์และสร้างวัตกรรมการเรียนรู้บทใหม่ให้เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตโควิด เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาในอนาคตอย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.เห็นชอบ 'สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา' เข้าบัญชีเบื้องต้นมรดกโลก

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (9 เมษายน 2567) มีมติเห็นชอบเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม “สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา” ภายใต้ชื่อ Songkhla and its Associated Lagoon Settlements

ข่าวดี 'ยูเนสโก' ขึ้นทะเบียน 'ประเพณีสงกรานต์ไทย' มรดกมนุษยชาติ ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย”