50ปี'สสวท.'วางกลยุทธิ์นำนร.ไทยไปสู่'Go Digital '

6 ม.ค.65-คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวในงานแถลงข่าว การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ครบ 50 ปี ปีพุทธศักราช 2565 หัวข้อ “Redesigning Future Education การออกแบบการศึกษาแห่งอนาคต” ตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความยินดีกับ สสวท.ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเป็นองค์ประธานในการเปิดงานวันคล้ายวันสถาปนา สสวท. ที่ดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 50 ในวันที่ 15 มกราคมนี้ โดย สสวท. เป็นหน่วยงานในสังกัดศธ.ที่มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างสูงในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศ ภารกิจทุกด้านของ สสวท.เป็นหนึ่งในนโยบายของศธ.เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้วิทยาศาสตร์และสมรรถนะสูง ก้าวทันแข่งขันได้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งนี้ สสวท. ทำงานพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของนักเรียนไทย พัฒนาครู หนังสือเรียน สื่อการสอน กระบวนการเรียนรู้ ที่มีศักยภาพและทันสมัย มีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการที่ทันโลก เห็นได้จากล่าสุดได้ส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการใหม่ ๆ เช่น โค้ดดิ้ง หรือ ภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างคนให้ฉลาดรู้และแก้ปัญหาได้ให้นักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา รวมทั้งอบรมครูเพื่อเร่งขับเคลื่อนการเรียนรู้วิชานี้และขยายผลอย่างจริงจัง นำสู่เป้าหมายการบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้มีสมรรถนะสูง ตอบโจทย์การพัฒนาชาติด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นอนาคตของชาติได้

ด้านนายชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ผอ.สสวท.) กล่าวว่า ช่วงเวลา 5 ทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลในขณะนั้นได้ให้ความสำคัญกับเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้มีการจัดตั้ง สสวท.ขึ้น และส่งผลให้เด็กไทยมีความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์สามารถแจ่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่ ถือว่าการเปลี่ยนแปลงใน 1 ปี อ่จจะเทียบเท่ากับช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ดังนั้น สสวท. ที่จะต้องนำนักเรียนไทยไปสู่ Go Digital ให้ความรู้ ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้ชีวิต มีสมรรถนะที่แข็งแกร่งเพียงพอจะเผชิญกับพัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เทคโนโลยีจะมีการพัฒนามากขึ้นไปอีก เหมือนกับการนำเทคโนโลยีในอีก 5 ปีข้างหน้ามาใช้ตอนนี้ ซึ่งถือเป็นดาบสองคม หากเราพัฒนาไม่ทันก็จะล้าหลัง และการใช้เทคโนโลยีไม่เป็นก็ถือเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งผู้ที่ปรับตัวรับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นการพัฒนาครั้งนี้ได้เท่านั้น จึงจะสามารถยืนหยัดและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรู้เท่าทันโลก

นายชูกิจ กล่าวต่อว่า สสวท. จึงมุ่งปรับทิศทางสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีไม่ใช่แค่ครูกับนักเรียนเท่านั้น แต่ให้ความรู้กับประชาชนทุกคน เพื่อผลักดันให้ประเทศก้าวไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม อีกทั้งยังทำให้เทคโนโลยีเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเท่าเทียมทั้งนักเรียนที่อยู่ในระบบ และนอกระบบ พลิกโฉมการจัดการเรียนการสอนให้เป็นการสร้างเส้นทางสมรรถนะ (Competency) ซึ่งสำคัญและจำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน จุดประกายเด็กไทยให้มีทักษะแห่งอนาคตคือ คิด วิเคราะห์ ใช้เหตุผล แก้ปัญหาได้ สร้างนวัตกรรมที่มีจุดเด่นและเพิ่มมูลค่าให้ผลงานของตนแข่งขันได้ในทุกบริบทของสังคมอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ คิดค้นองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรมที่มีจุดเด่นสามารถตอบโจทย์แก้ปัญหา และรองรับความต้องการของสังคม สร้างรายได้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยภูมิปัญญาและศักยภาพของ “นักวิทยาศาสตร์ไทย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สวนอากาศสะอาดเคลื่อนที่ นวัตกรรมลดฝุ่นพิษ

ในวันที่ค่าฝุ่น PM2.5 เป็นภัยต่อสุขภาพ ประชาชนจะได้รับคำเตือนให้ลดกิจกรรมกลางแจ้งเมื่อค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม แต่ถ้าขั้นวิกฤตระดับสีแดงให้งดกิจกรรมกลางแจ้ง ไม่สามารถไปพักผ่อนหย่อนใจในสวนสาธารณะที่เป็นพื้นที่จุดเสี่ยง  จากปัญหาฝุ่นพิษจุดประกายให้เกิดโครงการ

คุณหญิงกัลยา ชี้เลือกตั้งซ่อม ส.ส.ระยอง บทพิสูจน์ความเป็นเอกภาพ ปชป.

การเลือกตั้งซ่อมส.ส เขต 3 จังหวัดระยองเป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งถึงความเป็นเอกภาพของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งซ่อม ไม่ว่าบรรยากาศภายในพรรคจะเป็นอย่างไร

เด็กไทยกระหึ่มโลก! คว้าเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย

เด็กไทยสร้างชื่อให้ประเทศ คว้า 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 2 เกียรติคุณประกาศ 4 เกียรติบัตรฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย จากมองโกเลีย