'มูลนิธิสืบนาคะเสถียร' แจ้งข่าวดี! พบสัตว์ที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

29 พ.ย.2566 - เฟซบุ๊กเพจ "มูลนิธิสืบนาคะเสถียร" โพสต์แจ้งว่าข่าวดี! พบสัตว์ที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วอีกครั้ง

โดยสัตว์ที่พบในครั้งนี้ คือเจ้า ‘ตุ่นปากยาว’ สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีลักษณะตัวเหมือนเม่น จมูกเหมือนตัวกินมด และมีตีนเหมือนตัวตุ่น โดยพวกมันถูกพบอีกครั้งในเทือกเขาไซคล็อปส์ ประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างก็ยืนยันกันไปแล้วว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้ว

ตุ่นปากยาวมีชื่อภาษาอังกฤษว่า แอตเทนโบโรห์ (Attenborough) มันถูกตั้งชื่อตามนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เดวิด แอตเทนโบโรห์ (David Attenborough) ผู้เจอมันครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1961

ในการเจอเจ้าตุ่นปากยาวครั้งนี้ ถูกจับภาพไว้ได้จากกล้องติดตามเส้นทางของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด

นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากพวกเขาใช้เวลาร่วมเดือนในการค้นหาสัตว์ชนิดดังกล่าว โดยติดตั้งกล้องดักถ่ายเอาไว้ถึง 80 ตัว เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่โดยรอบให้ได้มากที่สุด จนกระทั่งวันสุดท้ายของการสำรวจ กล้องตัวหนึ่งสามารถจับภาพเจ้าตุ่นปากยาวเอาไว้ได้ โดย เจมส์ เคมป์ตัน (James Kempton) คือผู้พบภาพของเจ้าตุ่นปากยาวตัวหนึ่งกำลังเดินผ่านพงหญ้าในป่าใหญ่ตัดกล้องไป เคมป์ตันกล่าวว่า “สาเหตุที่มันไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เนื่องจากมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มโมโนทรีม (monotremes) ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่ โดยมันมีวิวัฒนาการแยกออกมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ มานานกว่า 200 ล้านปีแล้ว”

แม้การพบเจ้าตุ่นปากยาวนี้อีกครั้งจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เรื่องน่าเศร้าก็มีเช่นกัน โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN จัดให้ตัวตุ่นปากยาวมีสถานะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ทว่าประเทศอินโดนีเซียกลับไม่มีกฎหมายคุ้มครองพวกมันอย่างจริงจัง

“มันคือตัวแทนของความหลากหลายทางชีวภาพบนเทือกเขาไซคล็อปส์ นั่นคือเหตุผลที่เราควรอนุรักษ์พวกมันรวมถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันด้วย อย่าให้ผืนป่าหายไปโดยเด็ดขาด” เคมป์กล่าว

ภาพจากวิดีโอนี้ ถือเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกที่ยืนยันการมีอยู่ของมันได้นับตั้งแต่ปี 1961 ดังน้ันแล้ว พวกตุ่นปากยาวไม่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วแต่อย่างใด มันยังคงหลบซ่อนสายตาพวกเราอยู่ในป่า พวกเรามีหน้าที่ที่จะต้องร่วมกันรักษาถิ่นที่อยู่ของพวกมันเอาไว้ เพื่อให้พวกมันไม่หายไปจากโลกนี้ตลอดกาล.

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อเสนอแก้ไขปัญหา 'ทับลาน' มูลนิธิสืบฯยัน ไม่ควรเหมารวมทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน

เพจ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร โพสต์ข้อความ ระบุว่า เปิดข้อเสนอการแก้ไขปัญหาแนวเขตและที่ดินในพื้นที่ อช.ทับลาน โดยมีการแบ่งรูปแบบพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มเยาวชนรักษ์โลก The Youth Fund ผนึก ทช.-เอสซีจี เปิดตัวโครงการใหม่ปกป้องทะเลไทย

กลุ่มเยาวชน The Youth Fund ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ Marine Saver Mission สานต่อโครงการ Nets up ตอกย้ำความสำคัญของนวัตกรรมและความยั่งยืนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม

มูลนิธิสืบฯ ค้านเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในอุทยานฯทับลาน 2.6 แสนไร่

นายภาณุเดช เกิดมะลิ ในฐานะประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรสืบ ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านการเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 2 แสนกว่า