จัดตั้งรัฐบาลยาก! นักกฎหมาย ชี้ 250 ส.ว.ตัวแปรสำคัญ 'ก้าวไกล-เพื่อไทย' ชนะไม่ขาด

16 พ.ค.2566 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคก้าวไกล ประกาศจัดตั้งรัฐบาล โดยจะจับมือกับพรรคเพื่อไทย ไทยสร้างไทย ประชาชาติ เสรีรวมไทยและพรรคเป็นธรรม รวม 309 เสียง ว่า ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับทุกพรรคการเมืองที่ได้ฉันทามติพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เลือกให้เข้ามาทำงานให้กับพี่น้องประชาชน

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าในต่างประเทศภาคพื้นยุโรปในการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลผสม ใช้ระยะเวลานานพอควร อาทิ ในปี 2560 เนเธอร์แลนด์ จัดตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรคใช้เวลานานถึง 202 วัน หรือเบลเยี่ยม สถานที่ตั้งรัฐสภายุโรป ใช้ระยะเวลาจัดตั้งรัฐบาลผสมนานถึง 592 วัน ส่วนประเทศไทย ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ พรรคก้าวไกล คว้าที่นั่งมาเป็นลำดับหนึ่ง ส่วนพรรคเพื่อไทย มาเป็นลำดับสองนี้ หากรวมตัวเลข ชนะไม่ขาด แลนด์สไลด์ทั้งแผ่นดินไม่มีอยู่จริง

นักกฎหมายผู้นี้ กล่าวต่อไปว่า ตามขั้นตอน กระบวนการตามกฎหมาย เลือกประธานรัฐสภาแล้ว จากนั้นไปเลือกนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองอันดับหนึ่งจะต้องไปรวบรวมให้ได้ 376 เสียงก่อน การเสนอตัวบอกว่า จะเป็นนายกรัฐมนตรีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นั้นประกาศปลุกใจมวลชนสามารถกระทำได้ แต่ต้องพิจารณาเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ นายพิธารีบประกาศ สามารถรวบรวมเสียงได้ 309 (ก้าวไกลเพิ่มอีก 1 เสียง เป็น 310 เสียง) ยังไม่ครบ 376 เสียง ต้องถามว่า จะไปหาเสียงที่ไหนมาเติมให้ครบ 376 เสียง เพราะการเมืองต่างขั้ว ต่างอุดมการณ์ เป็นเรื่องยากมากในการฟอร์มทีม

หากเทียงเคียง ผลการเลือกตั้งในปี 2562 พรรคเพื่อไทย ดีใจจนลืมอ่านรัฐธรรมนูญ รีบชิงประกาศจัดตั้งรัฐบาล มีการลงนามตั้งรัฐบาล ที่โรงแรมแห่งหนึ่งตั้งอยู่แถวถนนเพชรบุรี ตัดใหม่ สุดท้ายล้มเหลวไม่เป็นท่า กลับไปเสนอให้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นคู่แข่งนายกรัฐมนตรี ล้มไม่เป็นท่า รัฐธรรมนูญมาตรา 272 เป็นบทเฉพาะกาล 5 ปีแรก ยังให้อำนาจ สว.โหวตเลือก นายกรัฐมนตรีได้

ดร.ณัฐวุฒฺ กล่าวว่าบางส่วน อาจสับสน ไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญ จุดตัด 376 เสียง หมายความว่า ส.ส. 500 บวก สว.250 = 750 เสียง ดังนั้น การฟอร์มทีมรัฐบาล จะต้องไปรวบรวมเสียงให้ได้มากกว่ากึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง ดังนั้นหากนายพิธา รวบรวมเสียง ส.ส.จากพรรคการเมืองไม่ได้ จะต้องไปหันไปพึ่งพา เสียง ส.ว.โหวตสนับสนุน

ทั้งนี้ การประกาศผลการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญมาตรา 85 วรรคท้าย หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง โดยเร็ว แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล จะต้องมีเงื่อนไข โดยการประกาศผลของ กกต.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 บัญญัติให้ กกต.จะต้องประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.ไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด จึงจะเรียกประชุมสภาได้ เป็นเงื่อนไขในการเลือกประธานรัฐสภา เมื่อได้ประธานรัฐสภาแล้ว จะต้องไปโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมีเงื่อนไข จะต้องมีเสียงรับรองแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ ของ ส.ส.ในสภาทั้งหมด

และจุดตัด การเลือกคือ เสียงส่วนใหญ่ คือ เสียงของ ส.ส.และส.ว.รวมกัน เพราะฉะนั้น ผลการเลือกตั้ง ส.ส.อันดับ 1 ของพรรคก้าวไกล และอันดับ 2 พรรคเพื่อไทย หากพิจารณาจากผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ คะแนนเสียงยังไม่ชนะขาด หมายความว่า รวบรวมเสียงรัฐบาลผสมยังไม่ได้ถึง 376 เสียง การจัดตั้งรัฐบาลผสม ค่อนข้างยาก เว้นแต่ดึงพรรคภูมิใจไทย เป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล ดังนั้นขั้วอำนาจ ส.ว.เป็นตัวแปรสำคัญในการเสนอให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี และอย่าเพิ่งสรุปเกมฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล เพราะรัฐบาลเสียงข้างน้อย ย่อมเกิดขึ้นได้ เหมือนในปี 2518 รัฐบาลของ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่คว้าที่นั่งมาเพียง 18 ที่นั่ง ฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลได้ กลไกลรัฐธรรมนูญ 2560 มี สว.เป็นตัวแปรหลัก

ส่วนตัวแปรปัญหาคุณสมบัติของนายพิธา จะสามารถนั่งนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่ นักกฎหมายผู้นี้ กล่าวว่า กระบวนร้องคัดค้าน ตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงการสืบสวนหรือไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดของ กกต. มีขั้นตอนจะต้องดำเนินการตามพยานหลักฐานและต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกร้อง แต่มีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี แต่ปัญหาคุณสมบัติ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงมาสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ใช้ระยะเวลาจะไม่นาน เพราะไม่เป็นปัญหาความซับซ้อนเหมือนกับคดีเลือกตั้ง

ดังนั้น หากนายพิธา ถูกเสนอชื่อโดย ส.ส.มีเสียงรับรอง 1 ใน 10 มาตรา 159 วรรคสอง ส่วนขั้นตอนการโหวตใช้เสียงข้างมากของทั้งสองสภา ตามมาตรา 159 วรรคท้ายประกอบมาตรา 272 โดยลงคะแนนโดยเปิดเผยและเสียงข้างมาก นายพิธา สามารถนั่งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่หาก กกต.วินิจฉัยชี้ขาด คดีมีมูลและวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายพิธา ขาดคุณสมบัติ ส.ส.โดย กกต.ใช้ช่องทาง ส่งเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยศาลอาจมีคำสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ก็ได้ อาศัยช่องข้อกฎหมายมาตรา 82 วรรคท้าย

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวถึงสูตรจัดตั้งรัฐบาล ควรเป็นอย่างไร ว่าโดยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล จะต้องให้พรรคการเมืองที่คว้าที่นั่งอันดับหนึ่งจัดตั้งรัฐบาลก่อน หากจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ พรรคการเมืองอันดับอื่นๆ สามารถรวบรวมเสียง จัดตั้งรัฐบาลได้

"ตอนนี้เร็วเกินไปที่จะบอกว่า รัฐบาลผสม ใครได้เป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริงหรือนายกรัฐมนตรีโซเชียล ผมไม่ทราบว่า เป็นสูตรใด เพราะสามารถพลิกเกมได้ตลอด เพราะหากฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลของก้าวไกล รวบรวมเสียง ส.ส ไม่ถึง 376 เสียง จะต้องพึ่งพาเสียงจากสมาชิกวุฒิสภา เป็นตัวแปรชี้ขาด ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272

และการแก้ไขหรือยกเลิก ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จะเป็นชนวนสำคัญ พลิกเกมจากความชอบธรรมของก้าวไกลจากฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลมาเป็นฝ่ายค้าน เหมือนปี 2562 โดยจะได้เห็น สมาชิกวุฒิสภา งดอออกเสียง ปรากฎการณ์ขณะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ สว.งดออกเสียง ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลล้มเหลว ส่งผลให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีกันใหม่ ทำให้รัฐบาลรักษาการอยู่ยาว" ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รังสิมันต์'แนะ 3แนวทางแก้ปัญหาเมียนมา!

กมธ.ความมั่นคงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ปัญหาในเมียนมาก็เป็นปัญหาของไทย เหตุคนหนีอพยพข้ามแดน ลั่นไทยอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจที่สุด ควรเป็นตัวกลางในการเจรจา

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน

'ก้าวไกล' หนุนแก้กฎหมายสกัดรัฐประหาร ลั่นกองทัพต้องอยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม มีข้อเสนอให้สภากลาโหมเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่…)

'ดร.อานนท์' ชงสูตรการเมืองทำลาย 'ก้าวไกล-ธนาธร' เชื่อยอมเจ็บเถิด จะได้จบ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า