สรุป 7 วันอันตรายสงกรานต์ เมาขับ 7,141 คดี กทม.-สุรินทร์ครองแชมป์

18 เม.ย. 2565 – นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า สถิติคดีเข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติวันสุดท้ายของ 7 วันอันตรายช่วงเทศกาลสงกรานต์ 17 เมษายน 2565 มีคดีรวมทั้งสิ้น 1,337 คดี จำแนกเป็นคดีขับรถขณะเมาสุรา 1,222 คดี ติด EM 2 ราย และขับเสพ 115 คดี จังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสูงสุดมี 2 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์และกรุงเทพ จำนวน 398 คดี อันดับสองจังหวัดเชียงราย จำนวน 343 คดี และอันดับสามจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 330 คดี

ศาลสั่งติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวหรือกำไล EM คดีขับรถขณะเมาสุรายอดสะสม 7 วัน จำนวนทั้งสิ้น 13 ราย ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี (สาขาเดชอุดม) จำนวน 10 ราย รองลงมาสุโขทัย 3 ราย โดยมีเงื่อนไขห้ามออกจากที่พักอาศัย ตั้งแต่เวลา 19.00 น. – 05.00 น. เป็นเวลา 7 วัน

ทั้งนี้ สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศเฝ้าติดตามและควบคุมดูแลผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (Electronic Monitoring Control Center – EMCC) เปรียบเทียบสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราช่วงสงกรานต์ ปี 2564 จำนวน 6,061 คดี ปี 2565 จำนวน 7,141 คดี สถิติคดีเพิ่มขึ้น 1,080 คดี คิดเป็นร้อยละ 17.82

ตลอดช่วง 7 วันอันตราย กรมคุมประพฤติโดยสำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชน และอำนวยความสะดวก ประจำจุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น จำนวน 366 จุด และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย อาสาสมัครคุมประพฤติ ประชาชน ภาคีเครือข่าย เจ้าหน้าที่ และผู้ถูกคุมความประพฤติ จำนวน 8,866 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำจุดบริการ เพื่อให้ประชาชนเดินทางด้วยความปลอดภัย

อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมคุมประพฤติให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมกันดูแลผู้กระทำผิดที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ โดยเฉพาะผู้กระทำผิดในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราทุกราย จะต้องผ่านการคัดกรองแบบประเมินการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบว่า มีความเสี่ยงสูงในการติดสุรา กรมคุมประพฤติจะส่งเข้ารับการบำบัดรักษา ณ สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำหรับผู้กระทำผิดที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ ต้องเข้ารับการแก้ไขฟื้นฟูแบบเข้มข้นในรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 3 วันต่อเนื่อง และยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติ อาทิ รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และทำงานบริการสังคม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้ทุกหน่วยเร่งรัดผลตรวจแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ หากเกิดอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) เป็นประธานการประชุมศูนย์อำนวยการจราจรและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนช่วงเทศกสงกรานต์ ประจำปี 2567

4 วันอันตรายสงกรานต์! สังเวย 162 ศพ 'เมืองคอน' แชมป์อุบัติเหตุ

พลตำรวจโทกรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

คุมประพฤติ 'คดีเมาขับ' ฉลองสงกรานต์ 4 วัน พุ่ง 3,737 คดี

เรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติในวันที่ 14 เมษายน 2567 รวมทั้งสิ้น 2,136 คดี

'นายอำเภอ' กร่าง! ขอเคลียร์ ญาติเมาแล้วขับ ตำรวจไม่ยอม ดำเนินคดีเฉียบขาด

เจ้าหน้าตำรวจอำนาจเจริญ บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจสกัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี พ.ศ.2567 ที่บริเวณถนนรอบเมืองอำนาจเจริญ ขาเข้าตัวเมืองอำนาจเจริญ ซึ่งในคลิป มีชาวไทย 2 คน ทราบภายหลังคือ นายอำเภอยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ พูดจาไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่