'ผู้ว่าฯชัชชาติ' เคาะค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายไม่เกิน 59 บาท

27 มิ.ย.2565 - ที่อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม. ดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า จะต้องสรุปความคืบหน้าร่วมกับ นายธงทอง จันทรางศุ มาเป็นประธานกรรมการบริหารบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใน 1 เดือน สิ่งสำคัญคือ การคิดราคารถไฟฟ้าส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ที่เป็นภาระหนี้ ซึ่งปัจจุบันมีคนใช้อยู่ 27% ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว

“เบื้องต้นคงเป็นไปตามข้อเสนอของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ให้เก็บค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 59 บาท ในส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 แบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ และ ห้าแยกลาดพร้าว-คูคต ถึงเวลาที่ต้องจ่ายค่าโดยสาร เพราะต้องจ่ายค่าเดินรถเพื่อความยุติธรรม” ผู้ว่าฯกทม. กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีหนี้ส่วนต่อขยายราว 100,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีหนี้โครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล แบ่งเป็นหนี้วางระบบ ขณะที่หนี้ของรัฐบาลเป็นหนี้วางระบบรถ ประมาณ 19,000 ล้านบาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถ อีก 13,000 ล้านบาท ซึ่งต้องพิจารณา 2 ส่วน ได้แก่ การคิดอัตราค่าโดยสารที่ไม่ได้ขึ้นมานานหลายปี และการต่อสัญญาสัมปทาน คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนหน้า

ด้าน นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ได้ประชุมคณะผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ตามข้อแนะนำจากการประชุมร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา เรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่ง TDRI เสนอให้ กทม.เริ่มจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย ส่วนเหนือ ช่วงหมอชิต-คูคตและส่วนใต้ ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ หลังจากเปิดนั่งฟรีมานานแล้ว เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สินค่าจ้างเดินรถที่ต้องจ่ายให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) สำหรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยายเก็บ 15 บาท เมื่อรวมกับเส้นทางหลักสัมปทานเก็บได้สูงสุดไม่เกิน 59 บาท

“สำหรับอัตราค่าโดยสาร 59 บาท เป็นตัวเลขที่คณะผู้บริหาร กทม.เห็นว่ามีความเหมาะสม ประชาชนน่าจะรับได้ เพราะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยายไกลพอสมควร ช่วงหมอชิต-คูคต ระยะทาง 19 กม. จำนวน 16 สถานี ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม. จำนวน 9 สถานี ส่วนเรื่องระยะเวลาที่จะเริ่มเก็บ อยากให้เร็วที่สุด เดิมตั้งเป้าจะเริ่มเก็บวันที่ 1 ก.ค.นี้ แต่ทางสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) แจ้งว่าอาจจะไม่ทัน เพราะต้องหารือกับบริษัทบีทีเอสเนื่องจากต้องมีการปรับแก้ไขระบบซอฟต์แวร์การคำนวณค่าโดยสารส่วนต่อขยาย” นายชัชชาติ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการ กระตุก 'ชัชชาติ' จะประกาศให้กรุงเทพเป็นเขตควบคุมมลพิษ ต้องคิดให้ดี

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

น้ำลายการเมืองแก้“ฝุ่นพิษ” โปรย“งบฯ”-ลนลานรักษาฐานเสียง

รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ไร้น้ำยา” ในการวางแผนรับมือปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นวัฏจักรรายปี ยิ่งในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ จากการใช้ชุดข้อมูลเทคโนโลยีตรวจวัด สถิติต่างๆ มาประมวลเพื่อเตรียมการได้อยู่แล้ว

มหานครจมฝุ่นพิษ ฉุดรัฐบาลทรุด-ชัชชาติร่วง

สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ปกคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันถึงตอนนี้ สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วงอยู่ โดยเฉพาะเมืองหลวงประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในสภาพ มหานครจมฝุ่นพิษ มาหลายวัน

'ชัชชาติ' แจงฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงมาจาก 3 ปัจจัย ย้ำแก้ปัญหาต้องใช้เหตุผล ใช้ความรู้สึกไม่ได้

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อม เขตดินแดง