'เพจกฎหมายแรงงาน' เคลียร์ชัด กรณี JSL เลิกจ้างจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16 ของค่าจ้างได้หรือไม่

5 ก.ค.2565 - เฟซบุ๊กเพจ กฎหมายแรงงาน โพสต์ข้อความระบุว่าJSL เลิกจ้างจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16 ของค่าจ้างได้หรือไม่

อ่านโพสต์ที่คุณสรยุทธฯ โพสถึงความทุกข์ของพนักงานที่ถูก JSL เลิกจ้างก็ตกใจที่บริษัทจ่ายค่าชดเชยเพียงร้อยละ 16

โดยปกติค่าชดเชยจ่ายเมื่อเลิกจ้าง หรือสัญญาจ้างสิ้นสุด หรือกิจการนายจ้างดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ หรือเกษียณ เหล่านี้กฎหมายเรียกว่า "เลิกจ้าง"

เมื่อเลิกจ้าง ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โดยมีสิทธิได้รับในวันที่เลิกจ้าง หากไม่จ่ายในวันเลิกจ้างนายจ้างก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หรือถ้าเป็นการจงใจเจตนาไม่จ่ายก็จะต้องจ่าย "เงินเพิ่ม" ร้อยละ 15 ทุก ๆ 7 วัน

กรณีบริษัท JSL จะจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16

กรณีนี้บริษัทไม่สามารถทำได้ เพราะกฎหมายกำหนดอัตราการจ่ายค่าชดเชยเอาไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ในมาตรา 118 โดยพิจารณาว่าทำงานมานานเพียงใด ก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามนั้น กล่าวคือ

ก) หากทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วัน

ข) หากทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 90 วัน

ค) หากทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 180 วัน

ง) หากทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 240 วัน

จ) หากทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 300 วัน

ฉ) หากทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ต้องจ่ายค่าชดเชย 400 วัน

เช่น พนักงานมีเงินเดือน 36,000บาท หาร 30จะได้เป็นค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 1,200 บาท หากทำงานมานาน 120ปี จะได้ค่าชดเชย 300 วัน ซึงคูณค่าจ้างรายวัน 1,200 บาท จะได้เป็นค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายคือ 360,000 บาท

นายจ้างจะอ้างว่าจ่ายร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับคือ 360,000 บาท ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ แม้ลูกจ้างตกลงด้วยก็เป็นโมฆะ

ข้อควรระวัง

เมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว หากไปเซ็นต์ตกลงรับเงินเพียงร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับ ก็อาจทำให้ข้อตกลงนั้นมีผลบังคับได้ เพราะตอนทำข้อตกลงลูกจ้างเป็นอิสระแล้ว

ซึ่งศาลฎีกาที่ 3121/2543 พิพากษาว่าการตกลงหลังเลิกจ้างแล้วลูกจ้างมีอิสระพ้นจากพันธกรณี และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยสิ้นเชิงแล้ว ข้อตกลงจึงใช้บังคับได้

จึงต้องระวังไม่ไปเซ็นตกลงยินยอมรับเงินที่น้อยกว่าสิทธิที่ควรจะได้

ประเด็นนี้ สามารถฟ้อง หรือร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้เลย หากได้เงินไม่พอก็อาจบังคับยึดทรัพย์ของบริษัทขายทอดตลาด และเงินที่ได้จะต้องนำมาจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานก่อน

ประเด็นต่อไป การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่

จากข้อเท็จจริงทราบว่าบริษัทขาดทุนสะสม และขาดทุนจริงกระทั่งต้องปิดกิจการ กรณีนี้ถือว่าการเลิกจ้างมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้ (แต่ถ้าไม่ขาดทุนจริง ก็เลิกจ้างไม่ได้เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม)

ดังนัน กรณีนี้คิดว่าไม่จำเป็นต้องฟัองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลูกจ้างโรงแรมเฮ 13 เม.ย เริ่มรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เตือนนายจ้างไม่จ่ายผิดกฎหมาย

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานในประเภท

แรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เตรียมเฮช่วงกรานต์

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.)โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กสร. ขอนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานเพิ่มเติม ช่วงสงกรานต์เป็นกรณีพิเศษ

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ขอความร่วมมือนายจ้าง สถานประกอบกิจการกำหนดวันหยุดเพิ่มเติมให้ลูกจ้างเป็นกรณีพิเศษในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ เพื่อให้ลูกจ้างได้หยุดต่อเนื่อง และเป็นโอกาสอันดีที่ลูกจ้างจะได้เดินทางกลับไปเยี่ยมครอบครัวและร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองตามประเพณีนิยมของคนไทย

“พิพัฒน์” นำทัพกระทรวงแรงงานพบชาวศรีษะเกษ ผนึก ศธ. เตรียมความพร้อมนักเรียนอาชีวะสู่ตลาดแรงงาน ส่งเสริมอาชีพนอกระบบ ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน

วันที่ 8 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เปิดโครงการ “กระทรวงแรงงานพบประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ” สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กลุ่มนักเรียนอาชีวะ