กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 พายุมู่หลาน ฝนถล่ม 9 จังหวัดเสี่ยงภัยสูงสุด

กราฟิกพยากรณ์อากาศรายภาคของประเทศไทย พร้อมแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย ประจำวันที่ 11 สิงหาคม 2565 (จากเพจเฟซบุ๊กกรมอุตุนิยมวิทยา)

11 ส.ค.2565 - เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "พายุดีเปรสชัน มู่หลาน" ฉบับที่ 10 ระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (11 ส.ค. 65) พายุดีเปรสชัน “มู่หลาน” บริเวณเมืองเซินลา ประเทศเวียดนามตอนบน โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 190 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม หรือละติจูด 21.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 104.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 35 กม./ชม. คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป

ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 11 สิงหาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก และพิษณุโลก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น และมุกดาหาร

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 12 สิงหาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย และอุดรธานี

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เผยสาเหตุเกิด 'พายุฤดูร้อน' ถล่มอีสาน เตือน 42 จังหวัดระวังฝนตกใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ) บริเวณภาคอีสาน (จ.เลย อุดรธานี บึงกาฬ หนองคาย ร้อยเอ็ด นครราชสีมา) เมื่อวานที่ผ่านมา (28/3/67)

อุตุฯ พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า อากาศร้อนจัดพุ่ง 43 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 29 มี.ค. - 7 เม.ย. 67

ฮือฮา! พายุลูกเห็บยักษ์ถล่มบึงกาฬ บ้านเรือนเสียหายพันกว่าหลัง

เกิดเหตุพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง และเกิดพายุลูกเห็บพัดถล่มในพื้นที่ตำบลบ้านต้อง ตำบลน้ำจั้น ตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ

อุตุฯ เตือนร้อนถึงร้อนจัด ทะลุ 41 องศา ฝนฟ้าคะนอง 38 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

กรมอุตุฯ เตือน 35 จังหวัด ระวังฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในระยะนี้ไว้ด้วย

ร้อนปรอทแตก! กรมอุตุฯ เตือนรับมืออุณหภูมิสูงสุด 41-43 องศา ตั้งแต่ 30 มี.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 28 มี.ค.-6 เม.ย. 67 init. 2024032712 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : อากาศยังเปลี่ยนแปลงโดย 28-29 มี.ค.67 อากาศร้อนบริเวณภาคเหนือ