ระลอกใหญ่! เขื่อนป่าสักฯ ระบายน้ำเพิ่ม เตือน 6 จังหวัดรับมือสถานการณ์น้ำสูงขึ้น

25 ส.ค.2565 - เพจเฟซบุ๊ก กรมชลประทาน รายงานว่า อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15-21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขาคลองสะดวงใหญ่ไหลลงมาสมทบ ส่งผลให้ระดับน้ำที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เพิ่มสูงขึ้น ก่อนที่ปริมาณน้ำดังกล่าวจะไหลลงสู่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ตามลำดับ

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้คาดการณ์ปริมาณน้ำ ที่จะเกิดจากปริมาณฝนที่ตกลงมา ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) คาดว่าจะมีปริมาณน้ำท่าไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในระหว่างวันที่ 24 -30 สิงหาคม 2565 นี้ รวมประมาณ 133.26 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) จะทำให้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำประมาณ 355 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการรองรับน้ำเหนือ กรมชลประทาน มีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จากอัตราวันละ 34.56 ล้าน ลบ.ม./วัน เป็น 43.20 ล้าน ลบ.ม./วัน โดยจะทยอยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2565 นี้ เป็นต้นไป

เมื่อปริมาณน้ำไหลลงไปรวมกับน้ำที่มาจากคลองชัยนาท-ป่าสักแล้ว กรมชลประทานจะควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหกในอัตราไม่เกิน 600 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลให้พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ท้ายเขื่อนพระรามหก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปจนถึงจุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 1.00-1.50 เมตร

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ได้ประสานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งเตือนบริษัทห้างร้านที่ประกอบกิจการในแม่น้ำป่าสัก อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งของแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ซึ่งกรมชลประทานจะบูรณาการร่วมกับจังหวัดลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร แจ้งเตือนประชาสัมพันธ์ให้รับทราบสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บุรีรัมย์พายุถล่มยับรอบ 30 ปี โรงเรียน–พระพุทธรูปล้มพังทั้งแถบ

บุรีรัมย์ ระทึก พายุถล่ม ร.ร.หนักสุดรอบ 30 ปี อาคารเรียน บ้านพักครู โรงอาหารพังยับ สะเทือนใจ พระพุทธรูปถูกพัดคอขาด เร่งสำรวจความเสียหายป้องกันความเสี่ยงให้ครู – นักเรียน

กรมอุตุฯ ออกประกาศ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ‘พายุฤดูร้อน’ ช่วง 8-11 เม.ย.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 8 – 11 เมษายน 2567)

กรมอุตุฯ เตือนรับมือพายุฤดูร้อน ฝนแรกเดือนเมษายน หนักแน่!

กรมอุตุนิยม อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 3-12 เม.ย. 67 init. 2024040212 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : ช่วง 3-8 เม.ย.67 จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน