กอนช. รายงานสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ เฝ้าระวัง 25-27 ก.ย.

23 ก.ย. 2565 – กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 ก.ย. 65 ดังนี้ ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.แพร่ (113 มิลลิเมตร) กรุงเทพมหานคร (97) และ จ.นครราชสีมา (90 มม.)

เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำชี-มูล ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. 65 ดังนี้

1.ลุ่มน้ำชี บริเวณ จ.กาฬสินธุ์ บริเวณ อ.กมลาไสย กุฉินารายณ์ ฆ้องชัย เมืองกาฬสินธุ์ ยางตลาด และร่องคำ จ.ขอนแก่น บริเวณ อ.โคกโพธิ์ไชย ชนบท บ้านแฮด พระยืน มัญจาคีรี แวงน้อย และแวงใหญ่ จ.ชัยภูมิ บริเวณ อ.คอนสวรรค์ เนินสง่า และเมืองชัยภูมิ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.แก้งสนามนาง และบ้านเหลื่อม จ.มหาสารคาม บริเวณ อ.โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เมืองมหาสารคาม และ จ.ยโสธร บริเวณ อ.ค้อวัง คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย และเมืองยโสธร จ.ร้อยเอ็ด บริเวณ อ.จังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี พนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เมืองสรวง เสลภูมิ สุวรรณภูมิ และอาจสามารถ

2.ลุ่มน้ำมูล บริเวณ จ.นครราชสีมา บริเวณ อ.ชุมพวง ลำทะเมนชัย และเมืองยาง จ.บุรีรัมย์ บริเวณ อ.แคนดง และสตึก จ.สุรินทร์ บริเวณ อ.ชุมพลบุรี ท่าตูม และรัตนบุรี จ.ศรีสะเกษ บริเวณ อ.บึงบูรพ์ ห้วยทับทัน ราษีไศล เมืองศรีสะเกษ และกันทรารมย์ จ.อุบลราชธานี บริเวณ อ. เขื่องใน เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์

แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 56,887 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) (69%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 49,574 ล้าน ลบ.ม. (69%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 14 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา โดย กอนช. ได้ประเมินสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ จ.นครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 2,100-2,300 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำสะแกกรัง สถานี Ct.19 อัตรา 200 ลบ.ม./วินาที ลำน้ำสาขาอัตรา 100 ลบ.ม./วินาที และการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งรวมจำนวน 200 ลบ.ม./วินาที ซึ่งในช่วงวันที่ 25 – 27 ก.ย. 65 จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 2,200–2,300 ลบ.ม./วินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.30–0.50 ม. บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ จ.อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำทราบล่วงหน้า จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที รวมถึงปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ ระบบชลประทาน เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สำหรับเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ขอให้บริหารจัดการน้ำโดยใช้ระบบชลประทานในการนำเข้าคลองต่างๆ ทั้งด้านฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพคลองชลประทาน ในแต่ละช่วงเวลาที่สามารถรองรับได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า เตือนอากาศเย็นลงฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า

อ.เสรี เตือนอากาศแปรปรวน วันนี้ร้อน พรุ่งนี้ ‘เหนือ-อีสาน-กทม.’ ทั้งเย็นทั้งฝนหนัก

มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเรื่อง อากาศร้อนจัดวันนี้เริ่มเย็นวันพรุ่งนี้พร้อมฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่ม 19-20 มี.ค.

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย" ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 19 - 20 มีนาคม 2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนอากาศร้อนถึงร้อนจัด ฝนฟ้าคะนอง 30 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

ฝนถล่มหนัก สัตหีบจมบาดาล บ้านเรือน-ถนนสุขุมวิทระบายน้ำไม่ทันท่วมขังสูง

ตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ ได้เกิดเหตุฝนตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง ทั่วพื้นที่ในเขต อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ส่งผลให้บ้านเรืยนประชาชน พื้นที่ผิวจราจร ช่วงบนถนนสุขุมวิท และตามซอกซอย ในหลายจุดต่างได้รับความเดือดร้อนถูกน้ำท่วมขัง