ฝ่ายความมั่นคง เปิด 4 เงื่อนไขเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา

แฟ้มภาพ

4 ม.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้ (3 ม.ค.) ในช่วงท้ายของการประชุมมีการพิจารณาวาระลับ เรื่องการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย – กัมพูชา โดยพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้นำวาระเรื่องนี้เข้ามาหารือใน ครม. โดยการประชุมในวาระนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาที และได้มีการเชิญผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกนอกที่ประชุม ครม. โดยเมื่อเดือนธ.ค.65 พล.อ.ประวิตร ในฐานะประธาน JTC ไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้หารือกับ นายซุย แซม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชา ในฐานะประธาน JTC ไทย-กัมพูชา (ฝ่ายกัมพูชา) ได้ร่วมกันผลักดันความร่วมมือพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสำรวจแหล่งพลังงานน้ำมันและแก๊สในพื้นที่บริเวณพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อน ไทย-กัมพูชา (Overlapping Claims Area : OCA) ซึ่งทางกัมพูชายินดีที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยโดยใช้โครงสร้างของ คณะกรรมการร่วม (Joint Committee : JC) ระหว่างไทย -กัมพูชา เพื่อสำรวจแหล่งพลังงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศต่อไป

ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากฝ่ายความมั่นคง ระบุว่า ในการพูดคุยครั้งที่ผ่านมาจะไม่มีการพูดถึงเงื่อนไขเรื่องเขตแดน เพราะถ้าคุยเรื่องเขตแดนจะไปต่อไม่ได้ เพราะเรื่องเขตแดนยังทับซ้อนกันและยังตกลงกันไม่ได้ แต่เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตพลังงานจากผลพวงสงครามรัสเซีย-ยูเครนและอีกหลายปัจจัย ทำให้เราต้องดึงเอาพลังงานที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช่ร่วมกัน โดยที่ประชนทั้งสองประเทศได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยมี 4 เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่

1) รัฐบาลเห็นชอบร่วมกัน และต้องประกาศใช้ประชาชนเข้าใจ ไม่ขัดแย้งกันเอง 2)ต้องให้สภาฯให้ความเห็นชอบร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ 3) ไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ 4)ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่นแบ่งกันคนละครึ่ง

“อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราคุยกันไว้ในเรื่องพลังงาน เปรียบเหมือนมีเงินในกระเป๋า แต่ไม่สามารถเอาออกมาใช้ได้ อันนี้ถือว่าไม่ใช่ความสามารถของรัฐบาล ดังนั้นความสามารถของรัฐบาลก็คือมีเงินอยู่ในกระเป๋าแล้วเอาออกมาใช้ได้ เพราะฉะนั้นข้อตกลงที่เราคุย จากนี้ไปก็จะมีการประชุมหารือตั้งคณะทำงานร่วมกัน หลังเอามาเข้าประชุมวงเล็กในที่ประชุม ครม. วานนี้ (3ม.ค.) สำหรับหน่วยงานที่ต้องขับเคลื่อนหลัก เช่น กระทรวงการต่างประเทศ เพราะเป็นเรื่องเส้นเขตแดนเพราะเป็นพื้นที่ทับซ้อน , กระทรวงพลังงาน เพราะเป็นเรื่องวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้น เป็นต้น” แหล่งข่าวฝ่ายความมั่นคง ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ รับคุยฝ่ายมั่นคงจับตากรณีชาวเมียนมาแห่ขอวีซ่ามาไทย ย้ำต้องเข้าอย่างถูกต้อง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์กรณีหญิงชายชาวเมียนมาจำนวนมากแห่ยื่นขอวีซ่ามาประเทศไทย หวั่นเป็นการลักลอบหนีเข้าตามแนวชายแดน หลังทางการเมียนมาจะใช้กฎหมายบังคับเกณฑ์ทหาร จะกำชับเรื่องนี้อย่างไร ว่า เรื่องการขอทำวีซ่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

สมช.เสนอเร่งแก้ปัญหาเขื่อนแม่น้ำโขง กระทบเส้นเขตแดน-การเมืองระหว่างประเทศ

สัปดาห์ที่ผ่านมาศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงสัมมนาทางวิชาการของศูนย์อาเซียนศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้จากหลายหน่วยงาน รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมกว่า 40 คน ที่น่าสนใจคือระหว่างการเสวนาในหัวข้อ “การบริหารจัดการน้ำของจีนในลุ่มแม่น้ำโขง ผลกระทบต่อความมั่นคงของอาเซียนและไทย”

เคาะแล้ว! บอร์ด สมช. เห็นชอบ 'พล.ต.อ.รอย' ข้ามห้วยนั่งเลขาฯ สมช. คนใหม่

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ในฐานะประธานได้ประชุมคณะกรรมการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)ที่รัฐสภา โดยมีรายงานข่าวว่า ได้มีการขอความเห็นชอบเสนอชื่อ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผบ.ตร. เพื่อแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมช.คนใหม่

นายกฯ ขอบคุณ กอ.รมน. ปรับตัวตามสถานการณ์ รูปแบบทำงานเป็นกลไกสำคัญของรัฐ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

'ดร.อานนท์' โวย 'ดีอีเอส' ยังปล่อยคลิป 'วัคซีนพระราชทาน' ว่อนโซเชียล

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์