เริ่มแล้ว 'โครงการโคบาลจังหวัดชายแดนใต้' ยกระดับโคเนื้อสู่ตลาดฮาลาล สร้างรายได้ชุมชน

เริ่มแล้ว 'โครงการโคบาลจังหวัดชายแดนใต้' ยกระดับโคเนื้อสู่ตลาดฮาลาล สร้างรายได้ชุมชน ตั้งเป้า7ปี มีกลุ่มวิสาหกิจโคไทยเข้าร่วมโครงการ 1,000 กลุ่ม เกษตรกร 10,000 ราย ได้แม่โคพื้นเมือง 50,000 ตัว

27 ม.ค.2566 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ได้เห็นชอบ “โครงการโคบาลชายแดนใต้” ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2565-2571) โดยให้ใช้งบประมาณทั้งหมดจากการกู้ยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 1.5 พันล้านบาท ซึ่งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ทำหน้าที่เป็นหน่วยดำเนินการยืมเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล) โดย เมือวานนี้ (26.ม.ค.65) ได้มีการลงนามในสัญญากู้ยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร กับวิสาหกิจชุมชนนำร่องในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 13 กลุ่ม และจังหวัดนราธิวาส 1 กลุ่ม รวมวงเงินทั้งสิ้น 54 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการต่อยอดอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อ และยกระดับสินค้าโคเนื้อให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง สามารถเจาะตลาดฮาลาลโลก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชน นำไปสู่การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้ออย่างยั่งยืน

นางสาวรัชดา กล่าวว่า ในระยะเวลา 7 ปีของโครงการโคบาลชายแดนใต้ รัฐบาลตั้งเป้าหมาย มีกลุ่มวิสาหกิจโคไทยเข้าร่วมโครงการ 1,000 กลุ่ม เกษตรกร 10,000 ราย ได้แม่โคพื้นเมือง 50,000 ตัว แบ่งเป็น ระยะนำร่อง 3,000 ตัว ระยะที่สอง 22,000 ตัว ระยะที่สาม 25,000 ตัว ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจโคไทย สามารถกู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับปีที่ 1-3 ปลอดการชำระหนี้เงินต้น ปีที่ 4-7 ชำระคืนเงินต้นร้อยละ 25 ต่อปี และปลอดดอกเบี้ย 7 ปี

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า กลุ่มเกษตรกรผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ภายใต้โครงการนี้ จะมีการจัดตั้งศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) จำนวน 3 แห่ง (จังหวัดปัตตานี สตูล และนราธิวาส) และจัดตั้งร้านตัดแต่ง แปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อโค (Butcher Shop) จำนวน 5 แห่ง ส่วนแผนการทำงานเริ่มด้วยการสนับสนุนการเลี้ยงแม่โคพันธุ์พื้นเมืองที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ในคอกกลางของหมู่บ้าน มีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นกลไกขับเคลื่อน รวมถึงมีการส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ กลุ่มปลูกพืชอาหารสัตว์ กลุ่มผลิตอาหารสัตว์ กลุ่มขุนโค กลุ่มแปรรูปเนื้อโค และกลุ่มจำหน่ายเนื้อโค


“รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรฯ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การมีส่วนร่วมและศักยภาพของท้องถิ่น การส่งเสริมการเลี้ยงโคเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคของเกษตรกรสู่มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ GFM/GAP เพิ่มปริมาณโคในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรับปรุงสายพันธุ์โคเนื้อคุณภาพดีที่เป็นความต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และตลาดฮาลาลโลก สร้างอาชีพที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่การผลิตโคอีกด้วย” นางสาวรัชดา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จะอะไรนักหนา 'อดีตแม่ยกปชป.' โอด โดน สส.ปชป.ฟ้องหมิ่นประมาทอีก

นางกาญจนี วัลยะเสวี หรือ “ติ๊งต่าง” เจ้าของฉายาไฮโซสปอร์ตคลับ และแกนนำกลุ่ม ชาวไทยหัวใจรักสงบ อดีตแม่ยกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

‘เฉลิมชัย’ หารือ ‘ชัยธวัช-พรรคร่วมฝ่ายค้าน’ กำหนดแนวทำงาน

นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยพรรคร่วมรัฐบาล อาทิ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม เป็นต้น

ฟาดมาฟาดกลับ! 'ติ๊งต่าง' โต้ 'เฉลิมชัย' ลั่น จะยังคอยปกป้องปชป.ไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่

นางกาญจนี วัลยะเสวี หรือ “ติ๊งต่าง” เจ้าของฉายาไฮโซสปอร์ตคลับ และแกนนำกลุ่ม ชาวไทยหัวใจรักสงบ อดีตแม่ยกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ตอบโต้นายเฉลิมชัย ว่า

‘เฉลิมชัย’ จัดทัพ ปชป. ลุยทำงานเชิงรุกทุกพื้นที่ เปิดกว้างดึงปชช.มีส่วนร่วม

มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ชุดใหม่ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่หนึ่ง โดยในที่ประชุมได้มีการพูดคุยในหลายประเด็น