กรรมการสิทธิมนุษยชน กระตุ้นดูแล แรงงาน

สารคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เนื่องใน “วันแรงงานสากล” 1 พฤษภาคม ประจำปี 2566

30 เม.ย. 2566 – สิทธิแรงงานเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน เพื่อให้ได้รับสิทธิการเข้าถึงการจ้างงานโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิในการได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สิทธิที่จะมีหลักประกันสังคมอย่างทั่วถึง ครอบคลุมแรงงานทุกคน ทุกประเภท ทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคบริการ รวมทั้งได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ก่อตั้งสหภาพแรงงานหรือองค์กรของแรงงาน เพื่อให้สามารถเจรจาต่อรองกับนายจ้างและรัฐ จึงเป็นเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

สังคมปัจจุบันได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในสังคม โดยมีการจ้างงานในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น อาชีพรับส่งสินค้าหรืออาหาร (ไรเดอร์) ซึ่งเป็นอาชีพอิสระ และมีข้อถกเถียงกันว่ารูปแบบการจ้างงานเช่นนี้ถือว่าเป็นนิติสัมพันธ์ที่เข้าข่ายเป็นลูกจ้าง-นายจ้างหรือไม่ และแรงงานเหล่านี้ควรได้รับการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิแค่ไหน อย่างไร

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ข้อ 9 ได้รับรองสิทธิของทุกคนในอันที่จะมีสวัสดิการสังคมรวมทั้งการประกันสังคม และ ข้อ 11 ได้รับรองสิทธิของทุกคนในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับตนเองและครอบครัว ซึ่งคณะกรรมการประจำกติกา ICESCR มีความเห็นว่ารัฐต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าระบบประกันสังคมจะครอบคลุมแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานอิสระ

เนื่องในวันแรงงานสากล 1 พฤษภาคม ประจำปี 2566 กสม. ขอเน้นย้ำความสำคัญของสิทธิแรงงาน โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่ายด้านแรงงาน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ในการขับเคลื่อนให้เกิดการยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานสากล ส่งเสริมการมีงานทำของแรงงานที่ว่างงาน รวมทั้งผลักดันให้รัฐบาลให้การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่มเข้าถึงระบบประกันสังคมและมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอและเหมาะสมต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เขย่า 'กสม.' ปฏิบัติการเร่งด่วน ปกป้องนักสิทธิมนุษยชน ชนวนรุนแรงเหมืองแร่

นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยื่นหนังสือ ประธาน กสม.ทำงานเชิงรุก พร้อมออกมาตรการเร่งด่วนในการปกป้องผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษชนในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงเหมืองแร่

กสม.แนะราชทัณฑ์ประกันสิทธิการรักษาพยาบาลผู้ต้องขัง

กสม. สอบปมร้องเรียน จนท.เรือนจำละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ผู้ต้องขังป่วย แนะกรมราชทัณฑ์ประกันสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลของผู้ต้องขัง

กสม. ชี้ตรวจหาสารเสพติดในสถานประกอบกิจการแบบเหมารวม เป็นการละเมิดสิทธิฯ

กสม. ชี้ การตรวจหาสารเสพติดในสถานประกอบกิจการแบบเหมารวมหรือสุ่มตรวจ เป็นการละเมิดสิทธิฯ เสนอทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไข

นักสิทธิมนุษยชน ชี้ปม 'ทักษิณ' สะท้อนชัดความเหลื่อมล้ำในสังคม แนะรัฐบาลใหม่เร่งแก้ไข

นายสมชาย หอมลออ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และที่ปรึกษาอาวุโส มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้สัมภาษณ์ว่า ปีนี้จะครบรอบ 75 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ

กสม.จี้ ตร.หาผู้กระทำผิดละเว้นปฏิบัติหน้าที่ดึงคดีทางเพศเด็กล่าช้า!

กสม.ชี้กรณีพนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับเพศต่อเด็กล่าช้า เป็นการละเมิดสิทธิฯให้ ตร. สอบสวนลงโทษผู้กระทำผิด ชง ป.ป.ช. ดำเนินการฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่