ธปท.ประสานธนาคารรัฐ-เอกชนดึงผู้ใช้ Mobile Banking ที่โอนเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง 2 แสนบาทต่อวัน ติดต่อสาขาธนาคารเพื่อสแกนใบหน้าตัดวงจรภัยออนไลน์ ชี้แอปพลิเคชัน 7 แบงก์พร้อมบริการแล้ว
31 พ.ค.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างผลักดันมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยออนไลน์ ซึ่งในส่วนของภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประสานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยมีหลายมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การยกเลิกการแนบลิงค์เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) หรืออีเมลไปยังลูกค้า
สำหรับอีกมาตรการที่จะเข้ามาช่วยให้ตัดวงจรภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยในบริการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นมาธนาคารแต่ละแห่งได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ที่จะมีการโอนเงินต่อครั้งตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และโอนยอดรวมต่อวันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป และกรณีการเปลี่ยนวงเงินการทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะต้องไปทำการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน ที่สาขาธนาคาร หรือที่ตู้เอทีเอ็มตามที่ธนาคารกำหนด
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ Mobile Banking ไม่ต้องดำเนินการยืนยันตัวตนดังกล่าว และยังสามารถทำธุรกรรมผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ตามปกติ เช่นการโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม สาขาธนาคาร หรือ Internet Banking โดยไม่ถูกจำกัดวงเงินตามจำนวนข้างต้น
ทั้งนี้ ธนาคารแต่ละแห่งจะให้ผู้ใช้บริการ Mobile Banking ดำเนินการยืนยันตัวตนไปตลอดเดือน มิ.ย. ก่อนที่จะเริ่มมาตรการจำกัดวงเงินผู้ไม่ดำเนินการยืนยันตัวตน ตั้งแต่ ก.ค.2566 เป็นต้นไป (บางแห่งเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมิ.ย.) ซึ่งหลังจากนี้ผู้ยังไม่ยืนยันตัวตนก็จะยังทำธุรกรรมผ่านแอปพลิชันได้ เพียงแต่การโอนเงินต่อครั้งจะไม่สามารถโอนตั้งแต่ 50,000 บาทได้ หรือโอนรวมต่อวันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นอกจากการติดต่อสอบถามที่สาขาธนาคารแล้ว ธปท. ได้แนะนำช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบได้เองว่าตนเองเคยสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนแล้วหรือไม่ ด้วยแอปพลิเคชันธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค. 66 มีธนาคาร 7 แห่งที่ให้บริการตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชันได้แล้ว ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, กสิกรไทย, เกียรตินาคินภัทร, ทหารไทยธนชาต, ไทยพาณิชย์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และออมสิน ส่วนอีก 5 แห่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ตรวจสอบได้ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ, กรุงไทย, ซีไอเอ็มบีไทย, ทิสโก้ และ แลนด์แอนด์เฮาส์ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะมีการประกาศให้ทราบต่อไป
สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบ ให้เข้าไปที่แอปพลิเคชันธนาคารในโทรศัพท์มือถือ จากนั้นเลือกเมนู อื่นๆ เลือก การตั้งค่า หรือตั้งค่าบัญชี และเลือก “จัดการบริการ NDID” หากเป็นผู้เคยยืนยันตัวตนแล้ว แอปพลิเคชันจะแจ้งว่า “ยืนยันตัวตนเรียบร้อย” แต่หายังไม่เคยดำเนินการจะแจ้งว่า “ยังไม่เคยยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน, ยังไม่เคยยืนยันตัวตนด้วยการบันทึกใบหน้า หรือไม่พบข้อมูล” ซึ่งผลดังนี้ ผู้ใช้บริการต้องไปสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนที่สาขาหรือตามช่องทางที่ธนาคารกำหนดต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'คารม' ย้อนอดีตโหวตสวนมติพรรค 'ก้าวไกล' ยังไม่ขับออก
'คารม' ชี้ก้าวไกลขับ 'หมออ๋อง' อ้างเหตุเพื่อยึดตำแหน่งรองประธานสภาฟังไม่ขึ้นหวั่นลุกลาม ยกเคสโหวตสวนไม่แก้มาตรา 112 ยังไม่โดนขับ ขอโอกาสทำงานลบภาพงูเห่า
'คารม' มองต้นตอที่ก้าวไกลไม่ร่วมสังฆกรรมแก้รัฐธรรมนูญเพราะไม่ได้ทำตามใจ!
รองโฆษกรัฐบาลมองก้าวไกลไม่ร่วมสังฆกรรมแก้รัฐธรรมนูญ เพราะอยากทำอะไรคงไม่ได้ดั่งใจ รับทำให้ รธน.ใหม่ไม่สะดุดแต่ไม่สมบูรณ์
รัฐบาลปลื้มงานโอทอปสร้างรายได้ 447 ล้านบาท!
'คารม' เผยรัฐบาลปลื้ม OTOP Midyear 2023 รวมยอดจำหน่ายทะลุ 447 ล้านบาท 9 วัน สร้างรายได้ ยอดผู้เที่ยวชมงานกว่า 1.6 แสนคน
ครม. แต่งตั้ง 'รัดเกล้า' นั่งรองโฆษกรัฐบาล 'รังสิมา-ศรัณย์วุฒิ' กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง นางรัดเกล้าอินทวงศ์ สุวรรณคีรี บุตรสาวนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี แกนนำพรรครวมไทยสร้างชาติเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ
ครม. มีมติแต่งตั้ง 'คารม พลพรกลาง' เป็นรองโฆษกรัฐบาล โควตาภูมิใจไทย
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ มีมติแต่งตั้งให้ นายคารม พลพรกลาง อดีตผู้สมัครรส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคภูมิใจไทย ดำรงตำแหน่งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
'เศรษฐา' โยนแบงก์ชาติดูแลเรื่องค่าเงินบาท
'เศรษฐา' ไม่กังวลปัญหาค่าเงินบาทอ่อน บอกแบงก์ชาติดูแลอยู่ ชี้ค่าเงินอ่อนไม่ใช่ไม่ดีเสมอไป เพราะช่วยเรื่องส่งออกตัวเลขดีขึ้น