‘NARIT’ ชวนดู ‘ดาวศุกร์’ สว่างที่สุดในรอบปี ช่วงค่ำ 10 ก.ค.นี้

10 ก.ค.2566-เพจNARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความเรื่อง “10 กรกฎาคมนี้ “ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี” ช่วงหัวค่ำ ระบุว่า วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 “ดาวศุกร์สว่างที่สุด” ครั้งแรกของปีนี้ ปรากฏสว่างเด่นทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 19:00 ถึง 21:09 น. สังเกตด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ คาดว่ามีค่าอันดับความสว่างปรากฏมากถึง -4.6 (ดวงจันทร์เต็มดวง มีค่าอันดับความสว่างปรากฏ -12)

เมื่อ #สังเกตดาวศุกร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์จะปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ นอกจากนี้ ช่วงเวลาดังกล่าวยังมีดาวเรกูลัสเคียงดาวอังคารปรากฏเหนือดาวศุกร์ขึ้นไปอีกด้วย หากทัศนวิสัยท้องฟ้าดีสามารถชมได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนทั่วประเทศ

#ดาวศุกร์สว่างที่สุด (The Greatest Brilliancy) คือช่วงที่ดาวศุกร์โคจรห่างจากโลกในระยะที่เหมาะสม และมีขนาดเสี้ยวค่อนข้างใหญ่ จึงปรากฏสว่างมากบนท้องฟ้า สำหรับในช่วงอื่น แม้ดาวศุกร์จะมีเสี้ยวที่หนากว่า แต่ด้วยตำแหน่งอยู่ที่ห่างจากโลก ความสว่างจึงลดลงตามไปด้วย

การที่เราเห็น #ดาวศุกร์เป็นเสี้ยวอยู่เสมอ เนื่องจากดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 2 ถัดจากดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์ใกล้กว่าโลก จึงไม่สามารถเห็นดาวศุกร์สว่างเต็มดวงได้ เพราะจะปรากฏสว่างเต็มดวง เมื่ออยู่หลังดวงอาทิตย์ ดังนั้น คนบนโลกจึงมองเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวอยู่เสมอ ความหนาบางของเสี้ยวแตกต่างกันไปในแต่ละตำแหน่งของวงโคจร และปรากฏอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ได้มากที่สุด 47.8 องศา เราจึงสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นหรือหลังดวงอาทิตย์ตกเท่านั้น ไม่เคยปรากฏอยู่กลางท้องฟ้าหรือในช่วงเวลาดึก

ทั้งนี้ หากเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำ คนไทยมักเรียกว่า “ดาวประจำเมือง” หากเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันออกในช่วงเช้ามืด คนไทยมักเรียกว่า “ดาวประกายพรึก” ในปี 2566 นี้ ดาวศุกร์จะปรากฏสว่างที่สุด 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ช่วงหัวค่ำ ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ปรากฏสว่างเด่น เห็นชัดเจนด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณ 21:09 น. และ ครั้งที่ 2 ช่วงเช้ามืด ในวันที่ 18 กันยายน 2566 ปรากฏสว่างเด่น เห็นชัดเจนด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 03:25 น. จนดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเดิมรับลมหนาว! หอดูดาว 5 แห่ง จัดชมปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี 3 พ.ย.นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า 3 พฤศจิกายนนี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ชวนคนไทยส่อง #ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวทั้ง 5 แห่งของ NARIT ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา และขอนแก่น ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

ชมเลย ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ทำการไลฟ์สด ปรากฏการณ์ จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย ในช่วงเช้ามืด 29 ตุลาคม 2566 นี้!!

NARIT โชว์ภาพ ‘ดาวศุกร์’ ช่วงเช้าก่อนรุ่งสาง สว่างที่สุดครั้งสุดท้ายในรอบปีนี้

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า ดาวศุกร์ หรือ ดาวประกายพรึก รุ่งเช้าวันนี้

รอชม 'ดาวศุกร์สว่างที่สุด' รุ่งเช้า 18 ก.ย. สังเกตได้ด้วยตาเปล่า

เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า รุ่งเช้า 18 กันยายนนี้ #ดาวศุกร์สว่างที่สุด อีกครั้ง 18 กันยายน 2566 ช่วงเช้าก่อนรุ่งสาง

มาแล้ว 'ซูเปอร์บลูมูน' 2 ปรากฏการณ์ จันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน และอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า เตรียมพร้อมถ่ายภาพ #ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี

รับรองแล้ว 'แก้วโกสินทร์-ไพลินสยาม' ชื่อภาษาไทยดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยว่า สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ IAU (The International Astronomical Union) ได้รับรองชื่อภาษาไทยของดาวฤกษ์แม่ GJ3470 และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ GJ3470b ว่า “แก้วโกสินทร์” และ “ไพลินสยาม” นับเป็นระบบดาวเคราะห์นอกระบบ ระบบที่ 3 ที่มีชื่อเป็นภาษาไทย