ดีอีเอสเตือนชุดตรวจ ATK แบบอม ผ่านอย. เป็นข้อมูลเท็จ

ดีอีเอส เผยข่าวปลอมชุดตรวจ ATK แบบอม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว

23 ธ.ค. 2564 นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ตามที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเรื่อง ชุดตรวจ ATK แบบอม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีแนะนำโฆษณาขายชุดตรวจโควิด-19 โดยระบุว่าชุดตรวจ ATK แบบอม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ชี้แจงว่าปัจจุบัน อย. ขึ้นทะเบียนชุดตรวจ ATK แบบตรวจจากโพรงจมูกและตรวจจากน้ำลาย โดยรูปแบบการเก็บขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานแต่ละยี่ห้อ แต่ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนชุดตรวจ ATK ที่เก็บตัวอย่างจากน้ำลายโดยใช้การอม เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยในด้านต่างๆ เช่น การเกิดพิษเมื่อใช้ติดต่อกันหลายครั้ง หรือการยืนยันว่าจะไม่มีสารเคมีอันตรายที่อยู่บนแถบตรวจไหลกลับสู่ปากขณะอม หรือการรับรองการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี หากกัดจนชุดตรวจเกิดความเสียหายจะไม่มีสารเคมีอันตรายรั่วซึมออกมา ขอให้ประชาชนเลือกใช้ชุดตรวจ ATK ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. และปฏิบัติตามคู่มือคำแนะนำการใช้งานให้ถูกต้องตามชุดตรวจแต่ละยี่ห้อ เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการตรวจ โดยสามารถตรวจสอบชุดตรวจ ATK ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ทาง เว็บไซต์ อย. และก่อนซื้อขอให้ผู้บริโภคสังเกตฉลากภาษาไทย ซึ่งจะมีข้อความแสดง “บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้”

เพื่อให้ได้รับชุดตรวจที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งนี้ ชุดตรวจ ATK เป็นชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้น เหมาะกับผู้ที่มีประวัติ ความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีเชื้อจำนวนไม่มากหรืออยู่ในช่วงการติดเชื้อระยะแรก ผลที่ได้อาจเป็นลบ ดังนั้น กรณีได้ผลลบแต่มีประวัติความเสี่ยงสูงหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ขอให้มีการเฝ้าระวังตนเองและดำเนินการตรวจซ้ำอีกครั้งใน 3-5 วัน ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร. 02-590-7000

นอกจากนี้ประชาชนสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.อานนท์' โวย 'ดีอีเอส' ยังปล่อยคลิป 'วัคซีนพระราชทาน' ว่อนโซเชียล

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์

ดีอีเอส เดือด! เตรียมร้องศาลปิด Facebook ในไทย 

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการซื้อโฆษณาผ่าน Facebook หลอกประชาชนลงทุน รวมถึงการชักชวนลงทุน