มธ.ผนึก IBM Thailand เปิดหลักสูตรออนไลน์ ‘Data Science -AI' สร้างความรู้-ทักษะสำคัญให้นศ.

‘มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ จับมือ ‘IBM Thailand’ ทำ MOU ดำเนินโครงการ “Thammasat-IBM SkillsBuild” เปิดโอกาสให้ นศ. เพิ่มความรู้ – ทักษะจำเป็นด้านเทคโนโลยี ผ่านหลักสูตรออนไลน์ 4 กลุ่มวิชาหลัก ‘Data Science – AI – Security - Cloud’ จากบริษัทชั้นนำด้าน IT ระดับโลก

7 ก.พ.2567 - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินโครงการ “Thammasat-IBM SkillsBuild” เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้รับองค์ความรู้แบบข้ามศาสตร์ พร้อมเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อโลกปัจจุบัน และการประกอบอาชีพในอนาคต โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สำหรับการลงนามดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัดและไร้พรมแดนให้กับนักศึกษา ผ่านการเรียนรู้ในหลักสูตรออนไลน์ของบริษัทชั้นนำด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ระดับโลกอย่าง ไอบีเอ็มฯ (IBM E-learning Courses) ที่ประกอบไปด้วย 4 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ Data Science, Artificial Intelligence (AI), Security และ Cloud

ศ.ดร.นพ.รัฐกร วิไลชนม์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ธรรมศาสตร์เชื่อว่าการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปได้ จึงได้ร่วมมือกับบริษัท ไอบีเอ็มฯ ในการจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นแห่งแรกที่ทำเรื่อง Credit Bank กับ บริษัท ไอบีเอ็มฯ

ศ.ดร.นพ.รัฐกร กล่าวต่อไปว่า โดยหลังจากมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงในวันที่ 31 ม.ค. 2567 แล้วทาง มธ. จะเปิดระบบให้นักศึกษาสามารถเรียนหลักสูตรดังกล่าวได้ทันทีผ่านทางเว็บไซต์ของธรรมศาสตร์ และเว็บไซต์ของไอบีเอ็ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มวิชาจะแบ่งความรู้ออกเป็น 3 ระดับ เริ่มตั้งแต่ความรู้ระดับพื้นฐาน ระดับปานกลาง และระดับสูง เมื่อศึกษาจบในแต่ละวิชาแล้ว นักศึกษาจะได้รับ ประกาศนียบัตร (E-Certification) และสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้มาเทียบโอนหน่วยกิตจากการศึกษาครั้งนี้ได้ด้วย ซึ่งสามารถเลือกเรียนเป็นรายวิชาเลือกเสรี

“นอกจากสามารถทำให้การศึกษาเกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลาแล้ว ขณะเดียวกันเราก็มั่นใจว่าหลักสูตรที่ มธ. กับ ไอบีเอ็มได้ร่วมกันจัดทำนั้น มีการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ และสามารถประเมินคุณภาพของนักศึกษา
ได้เป็นอย่างดี ทำให้การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ไม่ต่างจากการเรียนในชั้นเรียน”

ด้าน รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับโครงการความร่วมมือกับไอบีเอ็มในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้นักศึกษา หรือนักเรียนในชั้นระดับมัธยมที่สนใจเข้ามาเรียน และสอบผ่านการประเมิน สามารถสะสมหน่วยกิตไว้ได้ เมื่อสมัครเข้ามาเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ ก็สามารถโอนหน่วยกิตที่สะสมไว้เข้ามาในหลักสูตรได้ สิ่งเหล่านี้เป็น Digital literacy ที่สำคัญ ถือว่าเป็น 1 ในทักษะ ที่คนจะประสบความสำเร็จได้ สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงในอนาคต และตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ในการช่วยพัฒนาคนให้กับประเทศ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยจะทำให้ธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัย World Class University for the People ที่เปิดกว้างให้กับประชาชน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาแรก ๆ ของประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญการเรียนการสอนนอกห้องเรียน ตลอดจนการเรียนรู้ที่ไม่ต้องอยู่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น และได้ร่วมกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ SkillLane สถาบันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือล่าสุดกับทางบริษัท ไอบีเอ็มฯ ในการจัดทำหลักสูตรออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการ Upskill-Reskill ให้กับทั้งนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็เชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในด้านนั้น ๆ อยู่แล้ว ทำให้องค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ได้จริง

“นอกจากนี้การเรียนการสอนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต้องไม่ได้มีหน้าที่ให้ความรู้แต่เพียงนักศึกษาเท่านั้น แต่ต้องเป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนทุกช่วงวัย ซึ่งหลักสูตร E-learning ที่ มธ. ได้ไปร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเปิดให้คนทุกคนเข้าถึงได้ พร้อมระบบ Credit bank ที่สามารถเก็บหน่วยกิตเพื่อเทียบโอนได้เมื่อเข้ามาเรียนใน มธ.” รศ.ดร.พิภพ กล่าว

ขณะที่ รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า ภารกิจที่ มธ. ทำมาโดยตลอดวางอยู่บนการทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในข้อที่ 4 เรื่องการสร้างหลักประกันให้ทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

รศ.เกศินี กล่าวอีกว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ และการทลายกำแพงในการเข้าถึงความรู้นอกห้องเรียนจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับทั้งมหาวิทยาลัยในไทยและต่างประเทศ ตลอดจนช่วยให้การพัฒนาระบบการเรียนการสอนมีความเข้มแข็งมากขึ้น ทำให้การผลิตนักศึกษา ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศมีประสิทธิภาพตอบโจทย์การทำงานในอนาคตภายใต้การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า

“นี่เป็นอีกหนึ่งครั้งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นธรรมศาสตร์ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ที่ได้นำจุดแข็งด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ การวิจัย ไปสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน” อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวทิ้งท้าย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ่อน้ำ' ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์ปริญญา

อาจารย์ปริญญา จบกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน จึงน่าจะเป็นเหตุผล ที่ทำให้ อาจารย์ มักแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของประเทศไทย อยู่หลายๆครั้ง ทำเหมือนไม่รู้ว่า “เมื่อเป็นคนไทยทำผิด ก็

มธ.จัดงาน 'วันสัญญา ธรรมศักดิ์' เปิดวงเสวนายกเคส ชั้น 14 สะเทือนกระบวนการยุติธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัด “งานวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2567” มอบรางวัลนักศึกษากฎหมาย-เรียนดี สืบสานปณิธานปูชนียบุคคลด้านนิติศาสตร์ พร้อมจัดวงเสวนา “กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนบังคับคดีอาญา” ยกเคสตัวอย่าง “คดีชั้น 14 รพ.ตำรวจ” บนขั้นตอนที่ผิดเพี้ยน สั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบยุติธรรม-กฎหมายไทย

ดร.นิว เฮลั่น! หยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมธ. 'ปริญญา' ได้ที่โหล่

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า "โชคดีของ