ผู้ประกันตนควรรู้ 'กองทุนเงินทดแทน-กองทุนประกันสังคม' ต่างกันอย่างไร

ประกันสังคม
​22 มี.ค.2567 - สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อธิบายเกี่ยวกับ "กองทุนเงินทดแทน กับกองทุนประกันสังคม" ต่างกันอย่างไรบ้าง มีสิทธิประโยชน์แบบไหนที่ผู้ประกันตนทุกคนควรรู้

กองทุนเงินทดแทน

คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน ของร่างกาย ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยจะได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง

มีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับ 4 กรณี

ค่ารักษาพยาบาล
* ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง จ่าย 50,000 บาท
* บาดเจ็บรุนแรงหรือเรื้อรังจ่ายไม่เกิน 150,000 บาท
* หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 300,000 บาท
* หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มได้อีก 500,000 บาท
* หากไม่เพียงพอจ่ายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท

เว้นแต่ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษา หรือกรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล

ค่าทดแทนรายเดือน

ค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน (ค่าจ้างสูงสุด 20,000 บาท)

* แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่วันแรก รวมไม่เกิน 1 ปี
* สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายไม่เกิน 10 ปี
* ทุพพลภาพตลอดชีวิต
* ถึงแก่ความตายหรือสูญหาย 10 ปี และค่าทำศพ

ค่าทำศพ
จ่ายตามที่กระทรวงกำหนด อัตราที่กำหนดในกฏกระทรวง(ค่าทำศพ 50,000บาท)

ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

สำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ได้รับตามอัตราดังนี้

*ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัดไม่เกินวันละ 100 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 24,000 บาท

*ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 40,000 บาท หากมีความจำเป็นให้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 140,000 บาท แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 180,000 บาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์เป็นผู้มีอำนาจพิจารณา

*ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 160,000 บาท

*ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ ให้จ่ายได้เฉพาะ ที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการไม่เกิน 24,000 บาท


กองทุนประกันสังคม

คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่ประกันตน โดยได้รับเงินสมทบจาก นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล มีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ได้รับ มี 7 กรณี (ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน)
- ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- สงเคราะห์บุตร
- ว่างงาน
- ชราภาพ
- ตาย

ที่นี้ก็รู้กันแล้วว่า ผู้ประกันตนมีสิทธิความคุ้มครองอยู่ 2 กองทุน โดยข้อแตกต่างของแต่ละกองทุน จะอยู่ที่สาเหตุของการเกิดสิทธิ

กองทุนเงินทดแทนจะดูแลเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง

กองทุนประกันสังคมให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือที่เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“สิรภพ” ลุยกาญจนบุรี! ฝึกอบรมอาชีพเสริม 12 สาขาฟรี ! ทำงานได้ทันที

วันที่ 14 มีนาคม 2568 นายสิรภพ  ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “สร้างงาน สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับแรงงานนอกระบบ” ในจังหวัดกาญจนบุรี

'พิพัฒน์' ลุยสงขลา หนุนสร้างงาน-เพิ่มรายได้ เปิดงาน 'JOB FAIR 2025 @สงขลา' รับแรงงานกว่า 2,000 อัตรา แนะแนวอาชีพอิสระ มีเงินทุนส่งเสริมอาชีพให้กู้สูงสุด 300,000 บาท

กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน เดินหน้าสร้างโอกาสการจ้างงานให้กับประชาชนในจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “JOB FAIR 2025 @สงขลา”

รัฐบาลเตือน 'นายจ้าง' รีบยื่นขอใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว ภายในสิ้นเดือนนี้

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดให้นายจ้างและสถานประกอบการที่จ้างแรงงานข้ามชาติที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ป้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม! “พิพัฒน์” แจงกระทู้สดในสภา – เร่งช่วยแรงงานถูกเบี้ยวค่าเลิกจ้าง ดันงบกลาง-ล็อคบัญชีนายจ้าง-แก้กฎหมายให้คุ้มครองลูกจ้างมากขึ้น

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้สดในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงถึงแนวทางแก้ไขปัญหานายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การขออนุมัติงบกลางช่วยเหลือลูกจ้าง และมาตรการป้องกันการโยกย้ายทรัพย์สินของนายจ้าง  .

เปิดคำสั่ง 'อนุทิน' ตั้งคกก.สืบสวนข้อเท็จจริง ปมร้อนงบประกันสังคม

สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีการใช้งบสำนักงานประกันสังคม (สปส.) นั้น เมื่อวันที่ 11 มี.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 86/2568 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี เสริมสร้างทักษะแรงงานอิสระและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ภายใต้นโยบาย “หนึ่งตำบล หนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ”

วันที่ 11 มีนาคม 2568 นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนางสมพร ดวงแก้ว ผุ้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี ตรวจเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการเพิ่มทักษะแรงงานอิสระ