'ครูหยุย' มั่นใจร่างพรบ.สมรสเท่าเทียม คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน

"ครูหยุย" มั่นใจ "พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม" คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน เหตุตัวบทกฎหมายไม่มีอะไรยาก มองเกณฑ์อายุไม่เป็นปัญหา ส่วนศาสนาไม่ได้บังคับ

5 เม.ย.2567 - ที่รัฐสภา นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมวุฒิสภา กล่าวถึงกรอบเวลาในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ ว่า ขณะที่ร่างดังกล่าวอยู่ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ทาง กมธ.หลายคณะได้ศึกษาล่วงหน้าในร่างที่เทียบเคียงกัน อาทิ พ.ร.บ.สัญชาติ, พ.ร.บ.อุ้มบุญ, พ.ร.บ.คู่ชีวิต, และ พ.ร.บ.รับบุตรบุญธรรมเป็นต้น

เมื่อวุฒิสภาบรรจุเข้าที่ประชุม ตนก็ไม่แน่ใจว่าจะผ่านได้ง่าย แต่หลังจากฟังสมาชิกอภิปรายเลยมั่นใจได้ว่า วุฒิสมาชิกเกือบทั้งหมดเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ จึงมีมติผ่านวาระที่ 1 จากนั้นได้มีการนัดประชุมเมื่อวันที่ 2 เม.ย. โดยได้ตั้งตนเป็นประธาน กมธ. รวมถึงแต่งตั้งตัวแทนจากภาคประชาชนในตำแหน่งทุกระดับ และเร่งประชุมให้เสร็จสิ้นภายในเดือน พ.ค. โดยมีการนัดประชุมสัปดาห์ละ 2 วัน ในรายละเอียดก็ไม่น่าจะมีปัญหา รอเพียงแต่ผู้แปรญัตติซึ่งให้กรอบเวลาไว้ 7 วัน โดยจะเริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. เพื่อในเดือนมิ.ย. จะได้ตรวจสอบรายละเอียดโดยถี่ถ้วน ยืนยันว่าขั้นตอนในวุฒิสภาเสร็จก่อนเวลาเปิดประชุมวุฒิสภาแน่นอน

ส่วนจะทันใน สว.ชุดนี้หรือไม่นั้น นายวัลลภ กล่าวว่า คำว่าทันคือภายใต้เงื่อนไขกำหนดเวลาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เราสามารถเปิดประชุมสมัยหน้าซัก 3-4 วันเท่านั้น เมื่อเปิดจะขอประธานนำกฎหมายเพื่อเข้าพิจารณาทันที หากไม่แก้มาก เชื่อว่าสภาผู้แทนราษฎรจะเห็นชอบนำขึ้นทูลเกล้าฯ เท่าที่ดูไม่น่าจะมีการแก้อะไรมาก เพราะไม่มีหลักอะไรที่ยาก นอกจากมีความเป็นห่วงว่ากฎหมายจะแก้ทันหรือไม่ ซึ่งได้ปลดล็อกไว้แล้วว่าหากไม่ทันให้รายงานไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในแง่ของเจ้ากระทรวงนั้นๆ

เมื่อถามว่า จากการอภิปรายของสว.ยังมีความเป็นห่วงเรื่องอายุ และศาสนา จะเป็นปัญหาหรือไม่ นายวัลลภ กล่าวว่า ร่างเดิมกำหนดอายไว้ที่ 17 ปี แต่ทางสภาผู้แทนราษฎรได้ใช้เกณฑ์จาก พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ซึ่งเป็นฐานกฎหมายที่ชัดเจนอยู่แล้ว หากใช้เกณฑ์อายุ 18 ปีจะเป็นสิทธิ์ที่คุ้มครองเด็กโดยอัตโนมัติอยู่แล้วจำเป็นต้องขยับอายุขึ้นหรือลง ไม่เป็นปัญหา เพราะสามารถอธิบายได้ด้วยหลักกฎหมายที่มีอยู่ ส่วนเรื่องของศาสนาในกฎหมายไม่ได้บังคับศาสนาใด แต่ละศาสนาก็ปฏิบัติตามภารกิจของท่านไปตามดุลยพินิจ ไม่มีปัญหาในเชิงปฏิบัติเป็นความกังวลมากกว่า แต่เท่าที่คุยในรายระเอียดไม่ใช่ปัญหาเลย

ส่วนที่มีการมองว่าเป็นกฎหมายทิ้งทวนของ สว.ชุดนี้ นายวัลลภ กล่าวว่า ไม่จำเป็นตนรอกฎหมายฉบับนี้มาโดยตลอด ครั้งที่แล้วที่กฎหมายถูกตีตกไปก็เสียใจ ไม่ใช่เรื่องของการทิ้งทวนตนทำงานด้านสังคมมาโดยตลอด รวมถึงยังเร่งให้พิจารณากฎหมายหากวุฒิสภาพิจารณาไม่ทันตกในมือของสว.จะเสียคน อะไรที่ยอมได้ก็ต้องยอมไม่มีอะไรในโลก 100 เปอร์เซ็นต์ ได้ซัก 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าสุดยอดในเอเชียแล้ว

ฉะนั้นไม่ใช่การทิ้งทวน แต่เป็นกฎหมายที่มาถึงมือเราช้ามากซึ่งตก็ได้เร่งรัดมาโดยตลอด ยืนยันว่ากฎหมายฉบับผ่านทัน สว.ชุดนี้แน่นอน ไม่มีปัญหา ไม่ใช้กฎหมายที่ยาก เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ตัวบทไม่มีอะไรยากเป็นเพียงการแก้ประโยค สามี ภรรยา เป็นคู่สมรส แก้ชาย หญิง เป็นบุคคล เป็นเพียงการแก้ถ้อยคำเท่านั้นเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วู้ดดี้' ลั่นถึงวันที่รอคอย เฮ! กม.สมรสเท่าเทียมผ่าน

ใช้ชีวิตร่วมกันกับแฟนหนุ่ม โอ๊ต อัครพล มานานหลายปี สำหรับพิธีกรคนเก่ง วู้ดดี้-วุฒิธร มิลินทจินดา และเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากให้ประเทศไทยมีกฏหมายสมรสเท่าเทียม โดยล่าสุดหลังจากรอคอยมากว่า 20 ปี ในวันที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศไทยได้รับการอนุมัติ วู้ดดี้ วุฒิธร ก็ได้ออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าวผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว

ผ่านแล้ว พรบ.สมรสเท่าเทียม ให้สิทธิเบื้องต้น LGBTQ อายุ 18 ปี หมั้น-สมรสได้

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เข้าสู่วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่.)พ.ศ…. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม

'รัดเกล้า' ตอกย้ำ รัฐบาลให้ความสำคัญความเท่าเทียมทางเพศ

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนนตรี และ รมว.คลัง

นายกฯ สั่งตรวจสอบชื่อตำแหน่งในหน่วยงานรัฐ ไม่ให้มีคำด้อยค่า-ลดทอนคุณค่าเพศสภาพ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ศึกษารายละเอียดการใช้ถ้อยคำเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ความเท่าเทียม ความหลากหลายทางเพศ รวมถึงเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ เพื่อให้เกียรติและศักดิ์ศรีคนทุกกลุ่ม