'รัดเกล้า' ชี้ราคายางสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการปราบปรามลักลอบนำเข้ายางเถื่อน

"รัดเกล้า" โต้โซเชียลกังขาราคายาง ชี้ราคาในประเทศสูงขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการปราบปรามการลักลอบนำยางเถื่อนข้ามพรมแดนของรัฐบาล วอนอย่าบั่นทอนกำลังใจคนทำงาน ดิสเครดิตรัฐบาลไปเรื่อย​

18 เม.ย.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวตอบโต้กรณีที่มีกลุ่มคนบนช่องทาง X สร้างกระแสตั้งข้อกังขาถึงการทำงานของรัฐบาลว่าเคลมผลงานราคายาง​ ทั้งที่ราคายางขึ้นเป็นผลพวงจากราคายางในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ว่า ไม่ปฏิเสธที่ราคายางในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจริง​ ในสภาวะขณะนี้ที่ยางขาดตลาด เป็นปกติที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกจะมีบทบาทในการชี้นำราคาในตลาดโลกให้เพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ และไม่จีรัง มีขึ้นมีลงเป็นปกติของการตลาด

นางรัดเกล้า กล่าวว่า ฉะนั้น มองได้ว่าราคาตลาดโลกเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคายางเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่วอนประชาชนทำความเข้าใจด้วยว่าในบริบทของประเทศไทยนั้น แท้จริงมีอีก​หนึ่งปัจจัยที่กดทับไม่ให้ราคายางขึ้นตามตลาดโลกอยู่นั่นคือ การลักลอบนำเข้ายางเถื่อนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งตามบริเวณที่มีชายแดนติดกัน มักจะมีการลักลอบส่งเข้ามาในประเทศไทย​ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้เป็นปริมาณสำรองกันชน​ หรือ Buffer Stock เพื่อกดราคาการรับซื้อยางในประเทศ ให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เช่น​ การมี​ Buffer Stock ปริมาณ 450,000 ตัน สามารถคิดได้เป็นราว 9% ของปริมาณผลผลิตต่อปีในไทย สามารถใช้เป็นกันชน​ กล่าวคือใช้เป็นอำนาจต่อรองกับการรับซื้อยางในประเทศของพ่อค้าคนกลางในประเทศได้​ กดราคายางในประเทศให้ต่ำได้นานมากกว่า 45 วัน

“ขอชวนประชาชนให้กำลังใจคนทำงาน และรู้สึกภาคภูมิใจในการทำงานของรัฐบาลตนเอง ที่สามารถออกมาตรการป้องกันการทะลักเข้ามาของยางเถื่อนเหล่านี้ได้ มากกว่าการตั้งข้อการขาและดิสเครดิตการทำงานของรัฐบาลบนโลกโซเชียลมีเดีย” นางรัดเกล้ากล่าว

รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ยังกล่าวว่า นอกจากการปิดกั้นการนำเข้ายางจากพม่าแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังประสบความสำเร็จในการทำแอพพลิเคชั่นที่สามารถทำให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตและมาตรฐานของสินค้ายางพาราจากไทยว่าไม่ได้มาจากการทำลายป่าไม้ ตามกฏหมายว่าด้วย EUDR (EU Deforestation Regulations) ที่กลุ่มประเทศนำเข้าในอียูได้ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2566 และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม 2567 นี้ มีผลทำให้ผลผลิตยางพาราจากไทยได้รับความเชื่อมั่นสูงขึ้นจากประเทศคู่ค้า และมีความสามารถในการแข่งขันเป็นที่ยอมรับของตลาดมากขึ้น เมื่อจีนและญี่ปุ่นรู้ว่าต่อไปมีแนวโน้มว่ายางคุณภาพดีจากไทยจะเป็นที่ต้องการจากประเทศทางตะวันตกมากขึ้น จึงเร่งไล่ซื้อเก็บของดีเข้าสต๊อกเอาไว้ก่อนที่คู่แข่งจะเข้ามาแย่งซื้อของในตลาด เมื่อเร็วๆนี้ก็เพิ่งจะมีข่าวออกมาว่าจีนตกลงซื้อยางล็อตใหญ่จากไทย 200,000 ตัน มูลค่าเป็นหมื่นล้านบาททีเดียว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐา โชว์ราคายางพาราใกล้แตะ 100 บาท ย้ำเกิดจากทำงานหนัก ไม่ใช่โชคช่วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X ว่าข่าวดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เราจะได้เห็นภาพราคายางแตะกิโลละ 100บาท ในเร็วๆนี้แล้ว

บึงกาฬพายุฤดูร้อนถล่มรอบ 3 บ้านเรือนเสียหายต้นยางพาราหักโค่นระนาว

บึงกาฬ โดนพายุฤดูร้อนถล่มรอบที่ 3 บ้านเรือนชาวบ้านเสียหาย รวมทั้งต้นยางพาราหักโค่นจำนวนมาก ขณะที่ผู้ใหญ่บ้านเร่งรวบรวมหลักฐานขอความช่วยเหลือเยียวยาจากราชการ

นายกฯ ลั่นดันราคายางให้สูงขึ้นอีก ยันดูแลความเป็นอยู่คนใต้ไม่ใช่แค่เรื่องท่องเที่ยว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เดินทางมาสหกรณ์กองทุนสวนยาง ฉลอง น้ำขาวพัฒนา จำกัด โดยเมื่อเดินทางถึงนายกฯ ได้เข้ามาดูโรงรมยาง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนกระบวนการรับน้ำยาง

ชาวสวนยางพารา ขอบคุณรัฐบาลปราบยางเถื่อน ส่งเสริมราคายางสูงขึ้น

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมกิจกรรมและโครงการตามนโยบายรัฐบาล

'ชวน' กรีดยางเศรษฐา-ธรรมนัส อ้างปราบยางเถื่อน ทำราคาพุ่ง!

นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายประเด็นราคายางพาราว่า ขณะนี้ราคายางพาราขึ้นเป็นเรื่องน่าดีใจ เป็นไป

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก