'ซูเปอร์โพล' ออกแถลงการณ์แจงถี่ยิบ 'โพล' ไม่ใช่ 'เดา'

ก่อนอื่น ด้วยความเคารพในทุก ๆ ท่านผู้มี “องค์” ความรู้ในตัวกันทั้งนั้นที่ผมถือว่าทุกท่านรวมถึงชาวบ้านด้วย คือ ครูบาอาจารย์ของผมจะมีอัจฉริยภาพในตัวกันทุกคน แต่ขอแบ่งปันให้ทุกคนทราบว่า องค์ความรู้และความเป็นจริงเป็นเรื่องที่กว้างใหญ่มากมีความหลากหลายและมองกันได้หลายมุม เหมือนเราอยู่ใกล้ช้างตัวใหญ่ที่คนหนึ่งมองที่หัวแต่อีกคนหนึ่งมองที่หางก็จะมองต่างกัน ยิ่งถ้าเอามุมมองคนละมุมไปรวมกับอคติ (Bias) ส่วนตัวด้วยแล้วอาจจะทำให้เกิดการสรุปว่าคนอื่นเขาทำผิดกระบวนการ จากข้ออ้าง (premises) ที่อยู่บนพื้นฐานของการคาดเดาไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical evidence) ไปสร้างข้อสรุปที่ผิดได้ แบบนี้ในทางตรรกศาสตร์ เรียกเป็นความผิดพลาดในทางตรรกวิทยาว่า ด่วนสรุป (jump to conclusions)

4 ม.ค.2565- ตามที่ ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และท่านเป็นศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่ Warwick Business School สหราชอาณาจักรได้เผยแพร่ข้อเขียนตั้งข้อสังเกตและข้อสงสัยต่อผลสำรวจของซูเปอร์โพล เรื่อง บุคคลแห่งปี ที่ผ่านมา พบในเว็บข่าวออนไลน์หนึ่ง เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565 นี้

นาย นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล แก้ข้อสังเกต ข้อสงสัย ข้อคำถามของนักวิชาการท่านนี้ เพื่อช่วยทำให้ข้ออ้าง (Premises) และข้อสรุป (Conclusion) ของนักวิชาการมีความถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงให้มากยิ่งขึ้น โดยลองพิจารณากันในหลักการอย่างน้อย 2 หลักการ ดังนี้

หลักการที่ 1 ได้แก่ หลักของการออกแบบโพลที่อยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ (Learning and Doing) ในหลักของการรับรู้ของสาธารณชน (Public Perception) ที่ผมขอเชิญชวนนักวิชาการผู้มีอัจฉริยภาพท่านนี้ลองพิจารณา (ไม่ได้บอกให้เชื่อ) ดูว่า ผลสำรวจในโพลเขาแบ่งออกชัดเจนเป็นด้าน ๆ เช่น พี่ตูนบอดี้สแลม ปวีณา หงสกุล และบุ๋มปนัดดา อยู่ในด้านความเป็นคนดีของสังคมที่ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเหยื่อต่าง ๆ และระดมทุนบริจาคเพื่อความดีส่วนรวมของสังคม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อยู่ในด้านผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านด้านหนี้นอกระบบ ที่ทำกิน แหล่งน้ำ ปากท้องและอื่น ๆ ดังนั้น ตัวเลือกบุคคลในแต่ละด้านได้มาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Data) และมาจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดย ซูเปอร์โพล ไม่ได้ไปสร้างขึ้นมาเองแบบลอย ๆ

นอกจากนี้ ซูเปอร์โพลยังระบุในผลการสำรวจที่เผยแพร่อีกด้วยทำนองว่า คนเหล่านี้ก็ไม่ใช่ซูเปอร์ฮีโร่ แต่คนเหล่านี้เป็นตัวอย่างของคนดีบางส่วนเพราะประเทศยังมีคนดีอยู่จำนวนมากทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยประเทศชาติจึงควรช่วยกันรักษาและส่งเสริมเชิดชูคนดีให้มีที่ยืน ไม่ใช่ไปโจมตีคนทำดีหรือไปทำให้คนดีไม่มีที่ยืนในสังคมของคนบางคนคิดและพยายามสร้างกระแสเหล่านั้นขึ้นตอนนี้ ทุกคนมีทั้งดีและไม่ดี ซูเปอร์โพลมีหลักอยู่ตรงที่ส่งเสริมและเลือกรักษาต่อยอดความดีของคน เพราะมีใครในโลกบ้างไม่เคยทำผิด ดังนั้น จึงเชิญชวนมาอยู่ในหลักการและมุมมองเดียวกันก่อน เหมือนกับว่า มายืนอยู่ตรงหัวช้างด้วยกันก่อน ไม่ใช่คนหนึ่งมองไปที่หัวช้างแต่อีกคนอยู่ที่หางช้าง

หลักการที่ 2 ที่น่าพิจารณาหลักตรรกวิทยาของ ศาสตราจารย์ ผู้เป็นคนหนุ่มและเก่ง ท่านนี้คือ

ข้ออ้างที่หนึ่ง ( 1st premise) ของนักวิชาการผู้นี้ “คลาดเคลื่อนไป” ผมไม่ได้ว่าท่าน “ผิด” แต่แค่บอกว่า “คลาดเคลื่อนไป” ในเรื่องประเภทของคำถามของโพล เพราะคำถามในโพลมีความเป็น open-ended ด้วย ดังนั้นข้อสรุปเชิงสมมติฐาน (Hypothetical Conclusion) ของนักวิชาการผู้นี้เรื่องคะแนนของพี่ตูนที่นักวิชาการท่านนี้ออกมาระบุว่าอาจจะไม่ถึง 5% ก็เป็นเพียงสมมติฐานของท่านไม่ใช่ข้อมูลจริง เพราะท่านฯ กล่าวสรุปโดยไม่มีข้อมูล แต่ผลโพลของซูเปอร์โพลมีข้อมูลจริง ๆ ว่า พี่ตูนได้คะแนนคนดีของสังคม 44.1% จริง ๆ มีข้อมูลยืนยันที่พิสูจน์มาแล้ว ไม่ได้คาดเดาเองของนักวิชาการท่านนี้จากข้ออ้างที่หนึ่งที่ตั้งขึ้นเองก็คาดเคลื่อนเลื่อนลอยและคาดเดาสรุปไปเองอีกก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ผลโพลของซูเปอร์โพลเป็นข้อมูลจริงพิสูจน์ได้

ข้ออ้างที่สอง ( 2nd premise) ของนักวิชาการผู้นี้ “คลาดเคลื่อนไป” อีกแล้ว เพราะตัวเลือกไม่ได้มีสามตัวเลือก และไม่ได้มีห้าตัวเลือก และนักวิชาการท่านก็เหมือนกับจะแนะนำว่าให้ใส่ตัวเลือกว่า “ไม่เห็นด้วยกับตัวเลือกที่ให้มา” ทางคณะทำงานซูเปอร์โพลขอแนะกลับไปว่า ท่านอยากจะทำอะไรท่านก็ทำของท่านไป ส่วนซูเปอร์โพล มีหลักการและเป้าหมายของซูเปอร์โพลมี signature ของซูเปอร์โพลที่จะไม่ทำแบบของท่านนั้น

จากข้ออ้างเพียงสองข้อของนักวิชาการท่านนี้ แล้วมาสรุปว่า ผลของซูเปอร์โพลว่า โพลนี้ทำขึ้นมาโดยมีความตั้งใจว่าคำตอบจะต้องเป็นคนใดคนหนึ่งที่คนทำโพลได้เลือกมาไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยทางด้านสถิติไม่ทำกันเพราะมันผิดกระบวนการ ตามที่เผยแพร่ในบทความของนักวิชาการท่านนั้น

ทางซูเปอร์โพลเรียนให้ทราบว่า โพลนี้ทำขึ้นมาไม่มีความตั้งใจว่าคำตอบจะต้องเป็นคนใดคนหนึ่งที่คนทำโพลเลือกมาไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว แต่โพลนี้มีตัวเลือกมาจากการศึกษาวิจัยทั้งจากเอกสารที่เคยมีมาก่อนหน้านี้และจากประชาชนถึงบุคคลที่มีนัยสำคัญในแต่ละด้านที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Data) เป็นวิทยาศาสตร์และมาจากอัตวิสัย (Subjectivity) ของประชาชนผู้ถูกศึกษา

การสรุปของนักวิชาการจากข้ออ้างเพียงสองข้อที่แกะออกมาได้จากบทความนี้ ไม่น่าจะเพียงพอที่จะสรุปว่า โพลนี้ผิดกระบวนการ เพราะข้ออ้าง (premises) ทั้งสองท่านนักวิชาการผู้นี้ก็เป็นข้ออ้างที่ลอย ๆ เพราะตั้งขึ้นโดยคาดเดาไปเองรวมทั้งข้อสรุปและข้อเสนอแนะก็เป็นเชิงสมมติฐานเพราะขาดข้อมูลจริงมารองรับ โดยซูเปอร์โพลยืนยันว่าทำถูกต้องตามกระบวนการและหลักการวิจัยที่ประยุกต์ใช้ทั้งผลการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้และข้อมูลสัมภาษณ์เจาะลึกจากประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

โดยสรุป ซูเปอร์โพลทำโพลแต่ละเรื่องมีหลักการและไม่เคยผิดหลักการอย่างแน่นอนเพราะไม่ใช่โพลเฉพาะกิจจึงทำโพลบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical data) และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วและข้อมูลเชิงอัตวิสัย (Subjectivity) จากประชาชนผู้ถูกศึกษา ดังนั้นจึงอยู่ที่การรับรู้สาธารณะ (Public Perception) มุมมองที่แตกต่างกันและหลักการระเบียบวิธีการสำรวจ จึงสะท้อนให้เห็นว่า

ข้ออ้างและข้อสรุปในบทความของนักวิชาการท่านนี้เป็นสิ่งที่ดีแต่ข้ออ้างต่าง ๆ (premises) นั้นอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ไม่ครบถ้วนและข้อสรุป (conclusions) ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอมาด่วนสรุป (jump to conclusions) แทนที่จะด่วนสรุปว่าคนอื่นเขาทำผิดกระบวนการ ผู้สรุปควรมีข้อมูลความเป็นจริงครบถ้วนรอบด้านมองในมุมเดียวกันและหลักการเดียวกันเสียก่อน อย่าใจร้อนออกมาว่าคนอื่นเขา ถ้ายังไม่รู้ความจริงว่าคืออะไร เพื่อว่าพวกเราในฐานะนักวิชาการที่ดีควรจะมาช่วยกันลดอคติ (Bias) ต่อกันจะดีกว่าหรือไม่ ลองพิจารณาดู เพราะไม่ต้องการให้ใครมาเชื่ออยู่แล้วและส่วนตัวเขียนบทความอยู่ในเว็บไซต์ของซูเปอร์โพล www.superpoll.co.th ตัวใหญ่ ๆ อยู่ให้เห็นว่า “อย่าเชื่อโพล” ที่เขียนโดยคนทำโพล ลองเข้าไปหาอ่านดูได้จะได้ช่วยกันลดอคติที่มีต่อกันได้ในทางใดทางหนึ่ง (someway somehow)

ซูเปอร์โพล เข้าใจดีว่าตลอดปีที่ผ่านมา ชาติบ้านเมืองและประชาชนได้เจออะไรที่วิกฤตหนัก ๆ ทั้ง วิกฤตโควิด วิกฤตเศรษฐกิจ ปากท้อง สังคมการเมืองและอื่น ๆ จึงย่อมจะมีกระแสตอบโต้แรง แต่ถ้าเราตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิหาจุดที่ดีร่วมกันและระลึกเสมอว่าสังคมไทยไม่สิ้นคนดีต้องช่วยกันทำให้คนดีมีที่ยืนอย่างแน่นอน บ้านเมืองของเราและประชาชนของเราจึงผ่านพ้นมาได้แม้ว่าอนาคตข้างหน้าอาจจะเจออะไรที่หนักกว่านี้แต่ก็จะผ่านพ้นไปได้เพราะสังคมไทยไม่สิ้นคนดี เหล่านี้คือหลักการ (Principles) และมุมมอง (Perspectives) และปฏิบัติการ (Practices) ของซูเปอร์โพล และหวังว่า คนในรัฐบาลจะทำอะไรต่อยอดที่ดีต่อชาติบ้านเมืองและประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ไม่นำไปเข้าข้างตนเองเมื่อเห็นผลสำรวจนี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ซูเปอร์โพล' การันตี 'ทักษิณ' เป็นผู้มีบารมี ปชช.วอนแก้ปากท้อง

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง จับกระแสโพล ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

ไทยเฉยมาแรง! ไม่ยึดติดขั้วการเมือง เทใจให้ตามทิศผลประโยชน์

เปิดผลโพลความต้องการของประชาชน ต้องการเดินหน้าเงินดิจิทัล หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาปากท้อง ขณะการเมือง ไม่ยิดติด พร้อมหนุนกลุ่มทำดี มีผลประโยชน์

'ซูเปอร์โพล' ชี้ประชาชนพอใจให้โอกาส 'เศรษฐา' บริหารประเทศให้อยู่ครบวาระ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ประเมินผลงานรัฐบาล 6 เดือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป