
รัฐบาลเดินหน้ารับมือสังคมสูงวัย หนุนโครงการ ‘เดินดีไปด้วยกัน’ ลดเสี่ยงกระดูกหักในผู้สูงอายุ เผยนำร่อง 11 จังหวัด ตัวเลขหกล้ม-เสียชีวิตน้อยลง
2 พ.ค. 2568 – นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากสถิติทางทะเบียนประชากรไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” โดยในปี 2565 จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีมากถึง 12.1 ล้านคน หรือ 18.3% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้ปัญหาสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการพลัดตกหกล้มที่นำไปสู่ภาวะกระดูกหัก เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะกรณี “กระดูกสะโพกหัก” ที่เป็นสาเหตุสำคัญของความพิการและอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึง 30 – 50% ภายใน 1 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า จำนวนผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีจำนวน 23,426 ราย และในปี 2568 เพิ่มขึ้นเป็น 34,246 ราย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 56,443 รายในปี 2593 ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ
นายคารม กล่าวว่า เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด และภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินโครงการ “เดินดีไปด้วยกัน” ซึ่งมุ่งเน้นการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบ “กระเป๋าสุขภาพ” บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และ LINE @NHSO ได้ถูกนำมาใช้ เพื่อติดตามสุขภาพของผู้สูงวัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยีของระบบเก็บข้อมูลโครงการต้นแบบเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบในการเฝ้าระวังและป้องกันกระดูกหักบริเวณรอบข้อสะโพกในผู้สูงอายุไทย และประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ และวางแผนป้องกันการพลัดตกหกล้มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผลการดำเนินโครงการในพื้นที่นำร่อง 11 จังหวัด 1 เขต พบว่าอัตราการล้มใหม่และล้มซ้ำ ลดลง 10% อัตราการเสียชีวิต 1 ปีหลังกระดูกสะโพกหักและได้รับการผ่าตัดเหลือเพียง 15% มีผู้สูงอายุเข้าถึงมาตรการประเมินความเสี่ยงและการติดตาม 70% ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการป้องกันและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่ป้องกันได้ พร้อมย้ำว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดูแลสุขภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศอย่างยั่งยืนในยุคสังคมสูงวัยด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลส่งสัญญาณ พร้อมหนุน'ONE'ดันมวยไทยสู่เวทีโลก
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา แสดงความชื่นชม วัน แชมเปียนชิพ (ONE) ที่มีบทบาทสำคัญในการจุดกระแสมวยไทยให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มความนิยมอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก พร้อมแสดงความยินดีที่จะเปิดโต๊ะพูดคุยกันเพื่อให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม
เสียงประชากรกลุ่มเฉพาะกว่า 4,300 คน รวมพลัง สสส. ประกาศเจตนารมณ์ ‘ทิศทางและก้าวต่อไปของการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ’ เดินหน้าส่งเสริมสิทธิ-สวัสดิการ-นวัตกรรม
ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อประชากรกลุ่มเฉพาะ ชู 28 คน/องค์กร มุ่งมั่นสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำ มอบรางวัล Voice of the Voiceless Award ตอกย้ำไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
'ณัฐวุฒิ' ชี้ยุบสภาไม่ใช่คำตอบ เตือนบทเรียนยึดอำนาจมักเกิดหลังยุบ
ที่ปรึกษาของนายกฯ ค้านแนวคิดยุบสภาก่อนถูกรัฐประหาร ชี้ไม่มีหลักประกันหยุดวงจรยึดอำนาจ ย้ำรัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจเต็ม รับมือภัยคุกคามจากต่างประเทศได้ยาก ยกบทเรียนในอดีตยุบแล้วก็ยังยึด สถานการณ์นี้ต้องพึ่งกองทัพทำงานร่วมรัฐบาลอย่างมีเอกภาพ
'อนุทิน' ประณามคนปล่อยข่าว ภท.ล้มนายกฯ ยันไม่แข่งตั้งรัฐบาล ขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน
"อนุทิน" ประณามคนปล่อยข่าวภูมิใจไทยจ้องล้มนายกฯ-รัฐบาล ยัน"เนวิน" ไม่ได้ดีลลุง หนุน "พีระพันธุ์" นั่งนายกฯ ประกาศไม่ตั้งรัฐบาลสู้ เหตุเหลือเวลาไม่นาน ขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ตัดจบไม่ขอชักเข้าชักออก กลับไปเป็นรัฐบาล แม้เปลี่ยนตัวนายกฯ
สสส. ลงพื้นที่ถอดบทเรียนขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ “ฮ่วมใจ๋ ฮ่วมก่อสุข (ภาวะ)” พร้อมเดินหน้ายกระดับศูนย์วิทย์ฯ จ.ลำปาง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สุขภาวะด้านจัดการโภชนาการผู้สูงอายุ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำโดย นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุน สสส. และประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8 สสส.
สสส. หนุน การอ่านเพื่อพัฒนาสุขภาวะในเด็กปฐมวัย ปักหมุด “จ.ลำปาง” พื้นที่ต้นแบบ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน “ฮ่วมใจ๋ ฮ่วมก่อสุข (ภาวะ)” ที่เทศบาลตำบลเสริมซ้าย อ.เสริมงาม จ.ลำปาง พร้อมถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานระบบสื่อ