2 พ.ค.2568- ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ทำไมโรงงานรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมประสิทธิภาพต่ำตั้งได้ง่ายในประเทศไทย มีเนื้อหาดังนี้
1.รัฐบาลในอดีตสมัยคสช.เน้นนโยบายการนำกากของเสียเข้าสู่ระบบการกำจัดการคัดแยกและรีไซเคิล จึงอำนวยความสะดวกด้วยการออกคำสั่งคสช. ฉบับที่4/2559ให้งดเว้นการบังคับใช้กฏหมายว่าด้วยผังเมืองเพื่อประกอบกิจการบางประเภท เช่น โรงผลิตไฟฟ้าจากขยะ โรงงานกำจัด คัดแยกหรือรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมทั้งอันตรายและไม่อัน ตรายเป็นเวลา1ปีหรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนสีผังเมืองใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่จำนวนมากนอกเขตเมืองที่ยังไม่มีการเปลี่ยนสีผังเมือง จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวโดยส่วนราชการอ้างว่าได้มีคำขอและยังอยู่ในกระบวนการตั้งโรงงานประเภทดังกล่าวจำนวนมาก หากยกเลิกจะถูกฟ้องร้องได้ทำให้มีโรงงานหรือโกดังคัดแยกและรีไซเคิลมาตั้งอยู่ในเขตฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรสาคร ชลบุรีและระยองจำนวนมากทั้งถูกกฎหมายและสีเทา
2.ในวันที่1มกราคม2551ประเทศจีนลดการนำเข้ากากอุตสาหกรรมจากต่างประเทศเพื่อนำมาคัดแยก กำจัดหรือรีไซเคิลและสั่งให้หยุดดำเนินการทั้ง หมดภายในวันที่ 1มกราคม2564 ทำให้โรงงานกำจัด คัดแยกและรีไซเคิลจากประเทศจีนที่มีประสิทธิภาพต่ำก่อมลพิษสูงประมาณเกือบ80%หลั่งไหลเข้ามาขอตั้งในประเทศไทยซึ่งสามารถจัดตั้งได้ค่อนข้างง่ายตามคำสั่งคสช.ฉบับที่4/2559และนโยบายส่งเสริมก่รลงทุน ซึ่งในปี 2560 มีโรงงานประเภทดังกล่าวเข้าตั้งในประเทศไทยถึง 2,074แห่ง
3.พรบ.โรงงานพ.ศ.2562ได้อำนวยความสะดวกให้ตั้งโรงงานได้ง่ายขึ้นโดยให้คำนิยามใหม่ของ"โรงงาน" หมายถึงการนำเครื่องจักรมาติดตั้งในอาคารซึ่งเดิม การตั้งโรงงานต้องรวมถึงการก่อสร้างอาคารและนำเครื่องจักรมาติดตั้ง นอกจากนี้พรบ.โรงงานฉบับนี้ไม่ต้องมีการต่ออายุใบอนุญาตโรงงาน เพียงแต่โรงงานจะต้องทำself declare หรื่อยื่นผลการจัดการตามมาตรการในใบอนุญาตของโรงงานส่งให้หน่วยงานพิจารณาปีละ1ครั้งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การตรวจสอบโรงงานเกิดความย่อหย่อนลง รวมทั้งการตั้งโรงงานประ เภทคัดแยกและรีไซเคิลกากอุตสาห กรรมยังทำได้ง่าย เพียงแค่จัดทำราย งาน ESAหรือรายงานประเมินสิ่งแวด ล้อม ความปลอดภัย ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และทำการติดประกาศการขออนุญาตในบริเวณที่ตั้งของหน่วยงานของราชการเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทราบอย่างน้อย3 แห่งเป็นเวลา30 วัน หากไม่มีการคัดค้านก็อนุญาตได้เลยโดยไม่มีกฎหมายผังเมืองบังคับ ถ้าหากยังไม่มีการเปลี่ยนสีผังเมือง ซึ่งบางครั้งประชาชนในพื้นที่ยังไม่รู้แลยว่าจะมาทำอะไร
4.ประเทศไทยได้ประกาศนโยบายBCG Economyเสนอที่ประชุมAPECเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่จะส่งเสริมการลดและการบริหารจัดการของเสีย นอกจากนี้การควบคุมการเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมจากโรงงานก่อกำเนิดไปยังโรงงานรับจัดการปลายทางได้ใช้ระบบ E manifest ตั้งแต่การขออนุญาตนำกากออกจากโรงงาน การรายงานผล การควบคุมรถขนส่งและการจัดการที่ปลายทางโดยเป็นระบบอิเล็กทรอนิคส์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามจุดอ่อน คือหากโรงงานที่ต้นทางรู้กันกับโรงงานที่อยู่ปลายทาง ก็ไม่สามารถควบคุมได้แล้ว เช่น นำกากไปขายต่อ การขายและส่งกากให้โรงงานอื่นไปหลอมต่อ เป็นต้น หากโรงงานที่ต้นทางกับปลายทางแจ้งผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิคส์ตรงกันก็ผ่านแล้ว
5.ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานกำจัด คัดแยกและรีไซเคิลมากถึง2500แห่งตั้งกระจุกอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคกลาง เช่นฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรสาคร สมุทรปรา การ เพราะใกล้พื้นที่อุตสาหกรรม ทรัพยากรมีมาก ใกล้ท่าเรือแหลมฉบังส่งออกง่าย โรงงานประเภทคัดแยกและรีไซเคิลกากอุตสากรรมอันตราย เช่น ขยะอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า กากโลหะทั้งสังกะสี ทองแดง แคดเมี่ยม อลูมิเนี่ยม เป็นต้น โดย 80%จะเป็นโรงงานที่เคลื่อนย้ายมาจากประเทศจีน จากข้อมูลพบว่าขยะอิเล็กทรอนิคส์1ตันสกัดได้ทอง คำหนักถึง6บาทจึงเป็นที่สนใจของโรงงานสีเทาจำนวนมาก
6.จัดการอย่างไร?
6.1.ประกาศยกเลิกคำสั่คสช.ฉบับที่4 /2559โดยเร็ว
6.2.การตั้งโรงงานประเภทคัดแยกและรีไซเคิลกากอันตรายทุกประเภทต้องทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นประ ชาชนก่อนและควรกำหนดให้กิจการบางประเภทหรือบางขนาดต้องทำราย งาน EIA รวมทั้งผลักดันให้โรงงานที่มีความเสี่ยงสูงต้องไปตั้งในนิคมอุตสา หกรรมหรือเขตประกอบการ เป็นต้น
6.3.ปฎิรูประบบการอนุญาต การขนส่งกากอุตสาหกรรมอันตราย โดยต้องมีแนวทางการตรวจสอบโรงงานต้นทางและปลายทางอย่างเข้มงวดก่อนการอนุญาต
6.4.ตรวจสอบโรงงานรีไซเคิลโลหะทุกประเภทอย่างเข้มงวด โดยกำหนดให้มีผู้ตรวจสอบเอกชนทำการAditแทนภาครัฐก็ได้และภาครัฐต้องบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด
6.5.กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นรับผิดชอบในการตรวจสอบการทำผิดกฏหมายของโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลที่ตั้งในพื้นที่นั้น รวมทั้งร่วมมือกับภาคประชาสังคมให้เป็นคณะทำงานช่วยสอดส่องหรือเป็น watch dog สำหรับการทำงานของโรงงานประเภทดังกล่าว
6.6.ราชการส่วนท้องถิ่นต้องเข็มแข็งในการกำกับดูแลกิจการดังกล่าวและบังคัยใช้กฏหมายตามพรบ.การสาธารณ สุข พ.ศ.2535อย่างเข้มงวด..หากละเลยอาจเจอมาตรา157ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการ เตือนปีนี้ระวัง ‘ระเบิดฝน’ ผลพวงโลกร้อน ช่วงมิ.ย.-ก.ค.เสี่ยงน้ำท่วมหนัก
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เรื่อง สัญญาณเตือนจากธรรมชาติ พายุจะมา ฝนตกหนัก ให้ระวังตัว!
นักวิชาการ เผยสาเหตุฝนตกหนัก 3 ชม. เมืองพัทยาจมน้ำ แนะปรับปรุงระบบระบายน้ำใหม่
เมืองพัทยาต้องเร่งปรับปรุงระบบการระบายน้ำใหม่ให้มีประสิทธิภาพซึ่งเมืองพัทยากำลังเดินหน้าสร้างอุโมงค์ดักน้ำขนาด 2 เมตรตลอดแนวถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก
'นักวิชาการ' ยกงานวิจัยล่าสุด เตือนให้ระวัง โลกร้อน น้ำแข็งละลาย ทำให้เกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น
ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง โลกร้อนขึ้น..ทำให้เกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น..ระวังตัวด้วย! มีเนื้อหาดังนี้
นักวิชาการ อธิบายชัดสัญญาณเกิดพายุฤดูร้อน เตือนระวังฟ้าฝ่า
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ เรื่อง พายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร?และจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?ไม่เจอพายุฤดูร้อน
นักวิชาการ เตือนโลกร้อน โครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจมีอันตรายในอนาคต
นักวิชาการระบุโลกร้อน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินทรุดตัว โครงการขนาดใหญ่ที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำอาจมีอันตรายได้ในอนาคต
นักวิชาการ ชี้จุดออ่อน ไทยเจอมลพิษจากอุตสาหกรรม-สถานประกอบการเกลื่อนเมือง
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชี้ไทยเจอมลพิษจากอุตสาหกรรมและสถานประกอบการเกลื่อนเมือง จุดอ่อนอยู่ที่ไหน?..ประเทศพัฒนาแล้วเขาป้อง กันอย่างไร