โค้งสุดท้ายชิง 'ผู้ว่าฯกทม.' ถึงเวลาเลือก-ส่งตัวจริงลงสนาม

16 พ.ค. 2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสจมีรายละเอียดดังนี้

โค้งสุดท้าย ถึงเวลาเลือกและส่งตัวจริงลงสนาม

เวลามีคนที่สนิทกับผม ถามผมว่า คิดว่าใครจะชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้ ผมตอบโดยไม่ต้องคิดว่า “ชัชชาติ”

และถ้าวันนี้ยังมีคนถามผมด้วยคำถามนี้ ผมก็จะยืนยันและฟันธงว่าเป็น “ชัชชาติ” อยู่เหมือนเดิม

นี่คือคำตอบที่ผมไม่พูดกับใคร นอกจากคนที่สนิทกันเท่านั้น

เพราะจริงๆ ไม่อยากพูดออกไป ว่าชัชชาติจะชนะ เนื่องจาก”พูดไปก็ช้ำใจไป”

ถึงใจจะประเมินแล้วว่า ชัชชาติจะชนะ แต่ยังแอบหวังว่าพวกเราจะหยุดระห่ำ แข่งขันกันตัดคะแนนกันเอง แล้วตั้งสติ คิดกันให้ดีๆ ว่า ทุกวันนี้เราไม่ได้หาเสียงแข่งกับชัชชาติหรือวิโรจน์ แต่เรารณรงค์หาเสียงเพื่อแข่งกันเอง

อัศวิน สกลธี สุชชัชวีร์ ต่างหาเสียงแข่งกันเอง กองเชียร์ของทั้ง 3 ท่านนี้ก็รณรงค์ให้คนฝ่ายเรามาเลือกคนที่ตนเชียร์ ซึ่งหมายความว่า เราแข่งขันตัดคะแนนกันเองระหว่าง 3 คนนี้

ทั้ง 3 คนและกองเชียร์ของทั้ง 3 คนนี้ ไม่ได้แข่งขันกับชัชชาติหรือวิโรจน์
เพราะกลุ่มคนที่เลือกชัชชาติหรือวิโรจน์ เขาไม่เลือก 3 คนฝ่ายเรานี้อยู่แล้ว และฐานคะแนนเสียงของชัชชาติมากกว่า 3 คนนี้อยู่แล้ว

ยกเว้นว่าเราจะเทคะแนนให้ใครก็ได้ในฝ่ายเราเท่านั้น เพราะฐานคะแนนเสียงของคนฝั่งเรามากกว่าฝั่งของชัชชาติหรือวิโรจน์รวมกันอีกเยอะ แต่ฐานคะแนนเสียงของฝ่ายเราที่ว่ามากกว่านั้น มักแตกออกเป็นสอง เป็นสามหรือไม่ก็เป็นสี่

แตกละเอียดเป็น สองสามสี่เสียง แบบนี้มาตลอดตั้งแต่เริ่มต้นจนโค้งสุดท้ายแบบนี้ ผมก็ฟันธงว่าชัชชาติชนะแบบนอนมาเลย

ดังนั้น ความหวังเดียวที่ผมยังเหลืออยู่ก็คือ ผมยังคงสนับสนุนและขอรณรงค์ให้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ด้วยกลยุทธ์ SV คือเทคะแนให้คนใดคนหนึ่งในฝ่ายเรา ที่มีคะแนนนนิยมมากที่สุด เป็นคนที่มีโอกาสจะชนะการเลือกตั้งมากที่สุด

ผมขอบอกว่า ผมเห็นด้วยและสนับสนุนที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีคนดังที่เป็นต้นเสียงประกาศรณรงค์สนับสนุนผู้สมัครที่แต่ละคนเชียร์อย่างเต็มกำลัง

แต่เมื่อถึงโค้งสุดท้ายนี้ เราทุกคนทุกกองเชียร์ คงจะเริ่มเห็นกันแล้วว่า ใครในฝ่ายเราที่มีคนดังกลุ่มต่างๆ เชียร์อยู่นั้น “มีคะแนนนิยมมากที่สุด ที่จะเป็นผู้นำชัยชนะมาสู่ฝ่ายของเราในที่สุด”

ผมยังคงยืนยันว่า “ถึงจะมีคนที่เรานิยม-รักชอบอยู่ในใจ แต่ต้องตัดใจ” ดูฐานคะแนนนิยม และ”ร่วมใจกันเทคะแนนเสียงให้กับผู้ที่เป็นที่นิยมที่สุด และมีโอกาสที่จะชนะมากที่สุด”

ไม่อย่างนั้นจะจบด้วยคำว่า ไม่เลือกเราเขามาแน่

การรณรงค์โฆษณาของชัชชาติที่ว่า ถ้าได้เป็นผู้ว่าฯ เขาจะให้มีการจัดชุมนุมได้ทุกที่อย่างเสรีนั้น คือการแย่งฐานคะแนนเสียงกับวิโรจน์ เพราะฐานเสียงพรรควิโรจน์คือผู้สนับสนุนม็อบ และม็อบก็สนับสนุนเขา มันเป็นเนื้อเดียวกัน และชัชชาติทำแผนรณรงค์เรื่องม็อบเสรี ก็เพื่อชนกันวิโรจน์ ไม่ใช่คนของฝ่ายเรา

กล่าวคือ ชัชชาติกับวิโรจน์ ก็กลัวกลยุทธ์ SV จะสำแดงฤทธิ์เหมือนกัน ถึงเริ่มมาแข่งขันกันเองและแย่งคะแนนเสียงกันเองบ้างแล้ว

ถ้าคนฝ่ายเราได้สติ และร่วมใจใช้กลยุทธ์ SV เทคะแนนให้คนที่มีโอกาสจะชนะมากที่สุด เพราะเป็นคนที่มีฐานะคะแนนนิยมมากที่สุด เราก็จะดับฝันของชัชชาติ วิโรจน์ เลยไปถึงธนาธรและทักษิณลงได้

ถ้าชัชชาติชนะเลือกตั้งครั้งนี้ ผมบอกเลยว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่ แลนด์สไลด์ของพรรคเพื่อทักษิณมารออยู่เบื้องหน้าแล้ว

ซึ่งสาเหตุนั้น ไม่ใช่เพราะฐานเสียงของฝ่ายเขามากกว่า เนื่องจากฐานคะแนนเสียงของผู้จงรักภักดีมีมากกว่าเยอะมาก เพียงแต่ เสียงของฝ่ายเราแตกกันอยู่ทุกการเลือกตั้ง

ถึงเวลาหยุดความระห่ำ แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาว่าใครมีฐานคะแนนเสียงสูงสุดที่ทำให้มีโอกาสชนะ แล้วเทคะแนนให้คนนั้น ถึงแม้จะมีใครที่รักและเชียร์อยู่ในใจ

Otherwise เราจะแพ้ตั้งแต่วันที่ยังไม่ไปลงคะแนน

แข่งขันกันเองมาพอสมควรแล้ว ถึงเวลาเลือกตัวแทนลงสนามจริงในโค้งสุดท้ายนี้แล้ว

ด้วยความรัก เคารพและปรารถนาดีจากใจจริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490