ฝ่ายค้านตาลุก! กางปฏิทินการเมืองร้อน กรกฎา 65-มีนา 66 ยุบสภาหรืออยู่ครบเทอม

ประยุทธ์1 ก.ค.2565 - นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่าเปิดปฏิทินการเมืองร้อน กรกฎา 65-มีนา 66 ยุบสภาหรืออยู่ครบวาระ?

วันนี้เป็นวันแรกของครึ่งปีหลัง 2565

จากวันนี้จนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2566 อันเป็นวันที่สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันจะครบวาระ 4 ปี เหลือเวลากลม ๆ อยู่อีก 8 เดือน

ภาพรวมของการเมืองไทยในช่วง 8 เดือนนี้ถือว่าร้อนแรงทีเดียว

มาเปิดปฏิทินการเมืองดูกันโดยสังเขป

5-6 กรกฎาคม 2565 - ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับที่จำเป็นสำหรับการเลือกตั้ง และอาจจะต่อเนื่องไปถึงวันต่อไปหากยังไม่เสร็จ

13-17 กรกฎาคม 2565 - วันหยุดยาว

19-22 กรกฎาคม 2565 - อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี 11 คนในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

24 สิงหาคม 2565 - นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี

24-26 สิงหาคม 2565 - สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 วาระ 2 และ 3

29-30 สิงหาคม 2565 - วุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 (วาระเดียว)

ระหว่างหลังจาก 22 กรกฎาคมถึงไม่เกิน 18 กันยายน 2565 - พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 5 ฉบับ

18 กันยายน 2565 - ปิดสมัยประชุมรัฐสภาที่ 1/2565

1 พฤศจิกายน 2565 - เปิดสมัยประชุมรัฐสภาที่ 2/2565

18-19 พฤศจิกายน 2565 - ประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2022

28 กุมภาพันธ์ 2566 - ปิดสมัยประชุมรัฐสภาที่ 2/2565

24 มีนาคม 2566 - สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันครบวาระ 4 ปี รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ภายใน 45 วัน

ทั้งหมด เป็นปฏิทินโดยสังเขป

ต้องรอวันกำหนดวาระการประชุมของทั้ง 2 สภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้ชัดเจนก่อนนะครับ แต่ที่ชัดเจนคือวันปิดและเปิดสมัยประขุมรัฐสภา วันครบวาระสภาผู้แทนราษฎร

ตามปฏิทินนี้เห็นได้ว่ามีด่านหินอยู่ 3 ด่าน และอีก 1 หลักชัยสำคัญ

ด่านที่ 1 ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ด่านที่ 2 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 วาระ 3

ด่านที่ 3 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาจะสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 หลังจาก 24 สิงหาคม 2565 แล้ว ได้หรือไม่ ถ้าได้ ได้ถึงเมื่อใด

ด่านที่ 1 และ 2 แม้จะไม่หินเกินไปนัก แต่ก็ประมาทไม่ได้

ด่านที่ 3 หินที่สุด และคาดการณ์ได้ยากที่สุด

เพราะด่านนี้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเชื่อว่าจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้านใช้สิทธิกันเข้าชื่อเสนอความเห็นผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาครบ 8 ปีเต็มตามกำหนดรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรคสี่ และมาตรา 264 แล้วตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2565 หากยังคงดำรงตำแหน่งอยู่หลังจากวันนั้นถือว่าขาดคุณสมบัติ

ความเห็นทางกฎหมายของกรณีนี้ เคยสรุปไว้แล้วว่ามีอย่างน้อย 3 แนวทาง แต่ละแนวทางล้วนมีเหตุผลรับฟังได้

มติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาในแนวทางใดยังยากจะคาดการณ์

ส่วน 1 หลักชัยสำคัญของรัฐบาลคือการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ที่ผู้นำประเทศไม่ได้ไปเยือนเขื่อมสัมพันธ์กันโดยตรง การครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดียิ่งโดยมีการวิเคราะห์กันว่าหากผ่านพ้นงานนี้ไปแล้ว รัฐบาลพร้อมยุบสภาผู้แทนราษฏร

ทั้งนี้ โดยไม่นับร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. … ที่กำลังพิจารณาอยู่ และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับที่รอคิวพิจารณา 5-6 มิถุนายน 2565 มีร่างพระราชบัญญัติที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างมีความหมายและนัยสำคัญอยู่ในกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาในช่วงเวลาตั้งแต่หลัง 22 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป อย่างน้อย 6-7 ฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม รอให้พิจารณาอีก 5 ฉบับ

1. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ….

2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. ….

3. ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ….

4. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …

5. ร่างพระราชบัญญัติกัญชากัญชง พ.ศ. …

6. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. … (สมรสเท่าเท่าเทียม) และร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …

7. ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ …) พ.ศ. … (สุราก้าวหน้า)

ร่างที่ 1 และ 2 เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ พิจารณาโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ขณะนี้รอเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 และ 3

ทั้ง 2 ร่างไม่น่าจะมีปัญหา เขื่อว่าผ่านออกมามีผลบังคับใช้ได้แน่ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างใหญ่ที่จะเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่าเป็นการปฏิรูป

ร่างที่ 3 แม้เป็นร่างร่างพระราชบัญญัติทั่วไป พิจารณา 2 สภาทีละสภาตามปกติ แต่ก็ถือว่าเป็นมิติใหม่ที่มีความก้าวหน้า เป็นวิธีการเพิ่มความปลอดภัยแก่สังคมวิธีหนึ่ง ถือเป็นการปฏิรูปเช่นกัน ขณะนี้กรรมาธิการของวุฒิสภาพิจารณาใกล้เสร็จแล้ว รอนำส่งประธานวุฒิสภาเพื่อบรรจุระเบียบวาระเพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป แต่เนื่องจากคณะกรรมการของวุฒิสภาอาจแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญบางประเด็น หากที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นด้วยกับกรมมาธิการ อาจมีผลให้สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย และต้องตั้งกรรมาธิการร่วมกันของ 2 สภา

เช่นเดียวกับร่างที่ 4 เพียงแต่ร่างนี้คณะกรรมาธิการของวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จ เพิ่งต่อเวลาออกไปอีก 30 วัน

ร่างที่ 5 - 7 เป็นร่างพระราชบัญญัติทั่วไปที่เป็นมิติใหม่เช่นเดียวกัน ขณะนี้อยู่ในชั้นกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร หากผ่านสภาผู้แทนราษฎร 3 วาระแล้ว ยังจะต้องผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาอีก 3 วาระด้วย

ร่างที่ 5 สำคัญมาก เพราะขณะนี้การปลดกัญชาออกจากยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 มีผลสมบูรณ์แล้วตั้งแต่เมื่อ 9 มิถุนายน 2565 ยังไม่มีกฎหมายกำกับควบคุมที่ครบถ้วนรอบด้าน ถือเป็นสุญญากาศอยู่ ร่างที่ 5 นี้คือกฎหมายกำกับควบคุมที่สามารถทำให้ครบถ้วนรอบด้านได้ หากมีผลใช้บังคับได้เร็วเท่าใด ก็จะเป็นการอุดช่องสุญญากาศได้เร็วเท่านั้น

ร่างที่ 7 สำคัญมากเช่นกัน เพราะหากทำได้สำเร็จจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในระบบเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากทั่วประเทศ อาจเป็นหนึ่งในทางเยียวยาวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น และที่มีความหมายอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางการเมืองด้วยก็คือร่างพระราชบัญญัตินี้เสนอโดยส.ส.พรรคฝ่ายค้าน พรรครัฐบาลแพ้โหวตในวาระที่ 1 โดยมีพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนโหวตให้ด้วย จึงน่าจับตาการลงมติวาระ 3 ในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งระดับการตอบสนองจากวุฒิสภา

กล่าวโดยสรุป ร่างที่ 3 - 7 ทั้ง 5 ร่างนี้หากมีการยุบสภาก่อนครบวาระ มีโอกาสที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน เพราะโดยเงื่อนเวลาแล้วกระบวนการพิจารณาอาจไม่ทัน มีผลให้ต้องตกไป

โดยเฉพาะกับบางร่างที่อาจยืดเยื้อถึงขั้นต้องตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่าง 2 สภา

และคำว่า ‘บางร่าง’ ที่ว่านี้อาจหมายความว่าอย่างน้อยคือ 3 ใน 5 ร่างทีเดียว

ส่วนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 5 ฉบับนั้นได้รับการบรรจุอยู่ในระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว ขอสรุปในชั้นนี้แต่เพียงสั้น ๆ ว่ามีอยู่ 1 ฉบับที่มีความหมายและนัยสำคัญยิ่ง โดยเป็นการเข้าชื่อเสนอของภาคประชาชนกว่า 6 หมื่นคนนำโดยนายสมชัย ศรีสุทธิยากร เสนอให้ตัดอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

ผ่านหรือไม่ผ่าน มีผลโดยตรงต่อการเมืองไทยในอนาคตอันใกล้หลังการเลือกตั้งทั่วไปไม่ว่าจะโดยเหตุยุบสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรครบวาระแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เผ่าภูมิ' ปัดนายกฯ ส่งสัญญาณนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวได้เดินทางมารับเอกสารกรอกแบบฟอร์มตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว ว่า ตนไม่ให้คอมเมนท์ ยืนยันว่าขณะ

อดีตบิ๊กข่าวกรองเตือนสติ! อย่าหลับตาพูดลืมตาดูสถานการณ์โลกด้วย

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

'หมอชัย' สยบข่าวเปลี่ยนตัวโฆษกรัฐบาล ยันนายกฯไม่ส่งสัญญาณ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงโฆษกรัฐบาล ว่า ไม่มีนะ ตนไม่เคยได้ยินข่าว และขอย้ำว่าไม่มีตนกองเชียร์ไม่เยอะ

'เศรษฐา' แพลมโผครม.นิ่งแล้ว ไม่มีแกว่ง อุบตอบเก้าอี้หดเหลือแค่ตำแหน่งนายกฯ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ระบุว่าส่งรายชื่อบุคคลที่จะมาเป็นรัฐมนตรีถึงนายกฯ โดยนายกฯย้อนถามว่า “หรือครับ ไม่ทราบ”

'เศรษฐา' ยันถกแกนนำพรรคร่วม ไม่ได้ส่งสัญญาณปรับครม. ถ้าเกิดขึ้นก็รู้เอง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการเรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาหารือที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบฯ ได้มีการส่งสัญญาณปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ ว่า ไม่มี ไม่ได้พูดคุย เมื่อถามว่า นอกจากพูดคุยเรื่องดิจิทัลวอลเล็ตแล้วมีเรื่องอะไรบ้าง

เปิดภาพนักการเมืองหลายพรรคร่วมประชุม 'ผู้ช่วยรัฐมนตรี'

นายสุทิน คลังแสง รมว.กห. ให้การต้อนรับคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2567 ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ โดยมี พล.อ.อ.สุรพล พุทธมนต์ และ นายจำนงค์ ไชยมงคล ผช.รมต.ประจำ กห. เป็นประธาน