เขม็งเกลียว! ย้อนคดี 'บิ๊กตู่-2รมต.' ถึงมือศาลรธน. ปม 8 ปี-หยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่

10 ส.ค.2565 - จากกรณีปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่" ทำให้มีข้อถกเถียงในวงกว้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้หลัง 23 สิงหาคมนี้หรือไม่

และล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว

ขณะที่ส่วนส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ก็จะยื่นในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ เพื่อให้ศาลวินิจฉัยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นอกจากประเด็น “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่" แล้วสิ่งที่้ต้องติดตามหลังมีการส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ ก็คือในคำร้องของ นายศรีสุวรรณ และที่ฝ่ายค้านจะยื่น17 สิงหาคม ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ พลเอกประยุทธ์ หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยคำร้องคดีนี้ออกมา

โดยหากศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติตามที่ จะทำให้ พลเอกประยุทธ์ ออกไปพักข้างสนามชั่วคราวและทำให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เบอร์หนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการนายกฯไปจนกว่าคดีจะจบ

แต่หากศาลไม่สั่งพลเอกประยุทธ์ ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ พลเอกประยุทธ์ ก็ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไป ยังมีอำนาจเต็มทุกอย่าง จนกว่าศาลจะอ่านคำวินิจฉัยออกมา

ทั้งนี้หากตรวจคำร้องที่รัฐมนตรีในครม.ประยุทธ์ที่เรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า หลายคนศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณา แต่ไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี

เช่นคดี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ตอนนี้มีคดีอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ จากกรณี ส.ส.ฝ่ายค้านยื่นให้วินิจฉัยกรณีความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ หลังมหาดไทย มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ อบจ.สงขลา จากเรื่องการจัดซื้อรถซ่อมบำรุงทาง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา แต่ไม่ได้สั่งให้นิพนธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่การเป็นรัฐมนตรี

หรือกรณี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ฝ่ายค้านยื่นให้วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีและ ส.ส.ต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ เพราะอาจมีลักษณะต้องห้ามจากคดีความเดิมที่ประเทศ ออสเตรเลีย ที่ตอนศาลรับคำร้องเมื่อ 17 มิถุนายน 2563 ก็ไม่ได้สั่งให้ธรรมนัสหยุดปฏิบัติหน้าที่ และต่อมาศาลวินิจฉัยว่า ร.อ.ธรรมนัส ไม่หลุดจากส.ส.และรัฐมนตรี ที่พบว่าใช้เวลาพิจารณาร่วม 11 เดือน

ที่สำคัญ เมื่อไปดูตัว พลเอกประยุทธ์ พบว่าเคยตกเป็นผู้ถูกร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว 3 คดี

โดยมีสองคดีที่ศาลรับคำร้องไว้พิจารณาคือ คดีฝ่ายค้านยื่นให้วินิจฉัยกรณี เป็นหัวหน้าคสช.แล้วไปลงสมัครเป็นแคนดิเดตนายกฯพลังประชารัฐ ซึ่งศาลรับไว้เมื่อ 19 กรกฏาคม 2562 โดยไม่สั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่ และต่อมา ศาลมีคำวินิจฉัย 18 กันยายน 2562 ว่า หัวหน้า คสช. ไม่ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พล.อ.ประยุทธ์ จึงไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี

คดีที่สองคือคดีฝ่ายค้านร้องพลเอกประยุทธ์อยู่บ้านพักทหาร ที่ศาลรับไว้เมื่อ 11 มิถุนายน 2563 โดยไม่ได้สั่งให้พลเอกประยุทธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่ และต่อมามีคำวินิจฉัยเมื่อ 2 ธันวาคม 2563 ให้ยกคำร้อง พลเอกประยุทธ์ยังได้เป็นนายกฯต่อไป

ขณะที่คำร้อง คดีพลเอกประยุทธ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ ศาลมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง

เท่ากับว่า พลเอกประยุทธ์ ตกเป็นผู้ถูกร้องสองคดี แต่ศาลไม่เคยสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

กกต.ย้ำไม่ได้เร่งยุบก้าวไกลแต่ส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ศาล รธน.แล้วตั้งแต่ 25 มี.ค.

กกต.แจง ส่งเอกสาร ยื่นยุบก้าวไกล เพิ่มเติมถึงศาลรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ส่วนคำร้องยุบภูมิใจไทยเป็นคนรับประเด็น