โออาร์มุ่งมั่นสร้างโอกาสร่วมกับธุรกิจรายย่อย พัฒนาการเติบโตตามวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง

โลกของธุรกิจในอดีตมักจะมีแนวคิดที่ว่า “ปลาใหญ่ กินปลาเล็ก” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าใครมีกำลังมากกว่า มีทุนหนากว่า หรือมีคอนเน็กชั่นที่ดีกว่า ก็จะคอยกลืนกินรายอื่น ๆ ไปโดยการทำธุรกิจแบบนั้น ส่วนใหญ่จะมองแต่เรื่องของผลประโยชน์ ผลกำไร และรายได้เป็นหลัก จนบางครั้งอาจจะทำให้เกิดการครอบครองตลาดและปิดกั้นการทำธุรกิจของคนอื่นได้ และเมื่อมามองในมุมของผู้ประกอบการรายย่อย ๆ ซึ่งถูกปิดกั้นทางการค้า ก็อาจจะไม่เป็นธรรมนักหากจะผลิตสินค้าหรือบริการอะไรออกไป สุดท้ายก็แข่งขันไม่ได้ และส่งผลให้ไม่มีใครกล้าที่จะลงทุนทำอะไรใหม่ ๆ ออกมา 

แต่ในทางกลับกันในยุคปัจจุบันที่ช่องทางเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น กลุ่มผู้บริโภคเริ่มเข้าใจตลาดและเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และไม่ยึดติดอยู่กับแบรนด์เดิม ๆ ก็เป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ ๆ มีช่องทางที่จะทำมาหากินมากขึ้น ใครมีไอเดียหรือวิธีทำการตลาดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า ก็อาจจะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ จึงทำให้กลุ่มนักลงทุนหน้าใหม่ หรือ สตาร์ตอัปเห็นโอกาส และกล้าที่จะลงทุนธุรกิจรูปใหม่ ๆ ให้เข้ามาในตลาดมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้ธุรกิจใหม่ ๆ ในทุกวันนี้จะสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง 

แต่แน่นอนว่าหากมีลมใต้ปีกที่คอยสนับสนุน หรือชี้ช่องทางการดำเนินงานที่ถูกต้องให้ ก็มักจะเติบโตไปได้ดีกว่าแน่นอน ซึ่งในโลกของธุรกิจยุคใหม่นี้การมองเห็นผู้อื่น เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการทำกำไรให้กับองค์กร และหลาย ๆ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เองก็หันมาดำเนินงานในแนวทางนี้มากขึ้น ซึ่งสำหรับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) หรือโออาร์ ที่ได้มองเห็นการเติมเต็มโอกาสเช่นกัน ก็ได้มุ่งมั่นที่จะทำให้กลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัปนั้นเกิดการเติบโตไปพร้อม ๆ กันด้วย 

จึงดำเนินเนินงานตามวิสัยทัศน์ใหม่ ที่คาดหวังในการเติมเต็มโอกาส และมุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะสตาร์ตอัป และ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยสร้างคุณค่าให้กับสังคมชุมชนผ่านการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ และผลักดันธุรกิจสัญชาติไทยสู่ระดับโลก ในรูปแบบการเข้าร่วมเป็นพาทเนอร์ทางธุรกิจ และใช้ความเชี่ยวชาญของทั้งสององค์กรทั้งโออาร์และพามเนอร์มาผลักดันธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้า ซึ่งถือเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับกลุ่มสตาร์ตอัปและเอสเอ็มอีอย่างตรงจุด 

โดยที่ผ่านมาโออาร์ได้มีการจัดตั้งกองทุนและลงทุนผ่านกองทุน ได้แก่ ORZON Ventures กองทุนเพื่อการลงทุนในสตาร์ตอัป , Finnoventure Private Equity Trust I กองทุนเพื่อการลงทุนในสตาร์ตอัปด้าน Fin-tech, e-Commerce, Automotive และกองทุน SeaX Fund II กองทุนเพื่อการลงทุนในสตาร์ทอัปที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) 

โดยการลงทุนผ่านกองทุน ORZON Ventures กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของ PTTOR International Holdings (Singapore) Pte. Ltd. (SGHoldCo) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ OR ถือหุ้น 100% กับ กลุ่มบริษัท 500 สตาร์ตอัพ (500 TukTuks) โดยจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาโอกาสการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพด้าน Mobility & Lifestyle ที่มีศักยภาพทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 

รวมทั้งยกระดับ Ecosystems ในการสร้างและส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพผ่านการสนับสนุนจาก OR เพื่อสร้างการเติบโตด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยกองทุนนี้มีทีมงาน “500 TukTuks” ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านสตาร์ทอัพเป็นผู้บริหารกองทุน โดยเข้าไปลงทุนใน 7 บริษัทสตาร์ทอัป ได้แก่ 1. Pomelo แพลตฟอร์มและแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแตกต่างและเป็นที่สนใจของลูกค้า ครอบคลุมการซื้อขายทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ปัจจุบันได้เปิดช่องทางซื้อขายออนไลน์ โดยมีแบรนด์เข้าร่วมแล้วมากกว่า 500 รายทั้งในและต่างประเทศ 

2.Carsome แพลตฟอร์มที่มีซื้อ-ขายรถยนต์มือสองออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นตัวกลางในการซื้อหรือขายรถยนต์มือสอง มีนำเสนอบริการแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบสำหรับลูกค้า และดีลเลอร์รถยนต์มือสองทุกราย ตั้งแต่การตรวจสภาพรถยนต์ การโอนกรรมสิทธิ์ ไปจนถึงบริการทางด้านสินเชื่อ 3.Freshket แพลตฟอร์มจำหน่ายวัตถุดิบครบวงจร สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ HoReCa (โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยง) และกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการระบบอย่างมืออาชีพ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ปัจจุบัน freshket มีสินค้าทั้งของสด และของแห้งให้เลือกกว่า 7,000 รายการ มีผู้ใช้งานกว่า 10,000 ราย 

4.GoWabi แพลตฟอร์มชั้นนำของไทยที่รวบรวมทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับบริการทางด้านความงามและสุขภาพไว้ในที่เดียว โดยผู้ใช้สามารถหาข้อมูล ดูส่วนลด จองเวลา และจ่ายเงินออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของโออาร์ นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้ให้บริการบน GoWabi กว่าพันรายสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น 5.Protomate ผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยี AI สัญชาติไทยที่ได้ประยุกต์นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาพัฒนาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สมาชิกทีมประกอบไปด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานที่องค์กรเทคโนโลยีชั้นนำของโลก และมีเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเดินทางและการขนส่ง

รายที่ 6 ได้แก่ Hungry Hub บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย แพลตฟอร์มจองร้านอาหารและโรงแรมชั้นนำที่ก่อตั้งเมื่อปี 2017 ภายใต้โมเดล 'ข้อเสนอพิเศษในการจองร้านอาหารแบบคุมงบได้' เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าร้านอาหาร และส่งเสริมให้ร้านอาหารสามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันได้ให้บริการลูกค้าไปแล้วมากกว่า 2 ล้านที่นั่ง และสร้างยอดขายให้ร้านอาหารไปแล้วมากกว่า 1,000 ล้านบาท หรือ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ และรายที่ 7 ได้เข้าไปลงทุนใน Hangry สตาร์ตอัปสัญชาติอินโดนีเซีย ด้านการทําอาหาร (Culinary Startup) ที่ทำระบบการใช้ครัวกลางร่วมกัน (Cloud Kitchen) 

ได้เข้าไปร่วมลงทุน แบ่งได้เป็น กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยโออาร์ เข้าถือหุ้น ในบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด หรือ ร้านอาหารโอ้กะจู๋ ในสัดส่วน 20% ตั้งเป้าขยายสาขาร้านโอ้กะจู๋เพิ่มเติมในสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น รวมถึงจำหน่ายอาหารแบบแกร๊บแอนด์โก (Grab&Go) ผ่านร้านคาเฟ่ อเมซอน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคเหนือ และเข้าถือหุ้น 25% ใน บริษัท อิ่มทรัพย์ โกลบอล คูซีน จำกัด (ISGC) ร้านอาหารญี่ปุ่น โคเอ็น ซูชิ 

นอกจากนี้ยังถือหุ้นในสัดส่วน 25% ในบริษัท คามุ คามุ จำกัด (KAMU) เจ้าของแฟรนไชส์ร้านเครื่องดื่ม “Kamu Tea” ที่ปัจจุบันมีอยู่มากกว่า 140 สาขา และลงทุนใน ในบริษัท พีเบอร์รี่ ไทย จำกัด ผู้จัดหา ผลิต และจัดจำหน่ายเมล็ดกาแฟ และอุปกรณ์สำหรับการเปิดร้านกาแฟ รวมถึงให้บริการดูแลรักษาเครื่องชงกาแฟให้กับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ และเจ้าของร้านกาแฟชื่อดัง “พาคามาร่า” 

รวมถึงยังได้เข้าถือหุ้น 25% ในบริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด โดยจะสร้างแพลตฟอร์มด้านอาหาร เพื่อช่วยเหลือคนตัวเล็กในชุมชนและท้องถิ่นให้มีโอกาสเติบโตทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงขยายโอกาสในการเติบโตของพอร์ตด้วยการทำงานร่วมกับ OR และบริษัทอื่นๆ ที่ OR ได้ลงทุนไว้ก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นร้านคาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) รวมถึงร้านอาหารเพื่อสุขภาพโอ้กะจู๋ ซึ่งความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไปนี้ ขณะเดียวกันยังจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ร่วมกับบริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 50% เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม 

ด้าน กลุ่มธุรกิจบริการ โดยเข้าลงทุนโดยตรงในสัดส่วน 40% ใน บริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KNX) ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องซักผ้า และเครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม รวมถึงประกอบกิจการร้านสะดวกซัก ภายใต้แบรนด์ “อ๊อตเทริ วอชแอนด์ดราย” เพื่อให้ OR เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ทุกเพศ ทุกวัย และเพิ่มความหลากหลายทางธุรกิจให้กับเครือข่ายสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ที่มีอยู่กว่า 2,000 สาขา 

และเข้าถือหุ้น 8.8% ในกลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านขนส่งและพลังงาน อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปยังธุรกิจอื่น ๆ ของโออาร์ เชื่อมต่อธุรกิจแบบ Online to Offline เพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตที่มีไลฟ์สไตล์ปรับตัวสู่โลกออนไลน์มากขึ้น โดยปัจจุบัน โออาร์ และ แฟลช มีความร่วมมือทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ เช่นการที่โออาร์ให้บริการน้ำมันแก่รถที่ใช้ในการขนส่งของ Flash Express หรือการที่ Flash Express เริ่มเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ขนส่งผลิตภัณฑ์ของ โออาร์ 

กลุ่มการท่องเที่ยว โดยได้เข้าลงทุนผ่านบริษัทย่อย SG HoldCo ใน Traveloka ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการค้นหา จอง และชำระเงินสำหรับตั๋วเครื่องบิน ที่พัก การเดินทาง และไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ รวมไปถึงบริการทางการเงิน ซึ่งเห็นว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของ OR เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย มีอัตราการเติบโตที่สูงอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอัตราการจ้างงานสูง อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไทยที่พึ่งพาอุตสาหกรรมนี้เป็นจำนวนมาก 

ทั้งนี้ Traveloka เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีบริการที่หลากหลาย ไม่เพียงเฉพาะแค่ด้านการท่องเที่ยว แต่ยังตอบโจทย์พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะตัวในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างดี จะช่วยเพิ่มทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ เพื่อให้ OR เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ตลอดจนเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตร่วมกันของ Traveloka และ OR ทั้งในและต่างประเทศ 

กลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัล โดยดำเนินการผ่านบริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด ที่โออาร์ถือหุ้น 100% ร่วมมือกับบริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาชั้นนำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ลงทุนในบริษัท ออร์บิท ดิจิทัล จำกัด โดยโออาร์ มีสัดส่วนการถือหุ้น 40% และ BBIK ถือหุ้น 60% เพื่อดำเนินงานในการยกระดับขีดความสามารถด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงดิจิทัล แพลตฟอร์ม รวมทั้งต่อยอดทางธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัล โดยในปี 2565 ออร์บิท ดิจิทัล มีแผนพัฒนา 3 โครงการสำคัญ ได้แก่ 

1.โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสมาชิกสำหรับลูกค้าของ OR ไม่ว่าจะเป็นสมาชิก Blue Card และสมาชิกของพันธมิตรธุรกิจ ให้สามารถเชื่อมต่อและนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างสูงสุด 2. โครงการการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ด้วยแนวคิดที่รวมทุกไลฟ์สไตล์ไว้ในแอปฯ เดียว และ 3.โครงการเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ ระหว่าง OR และพันธมิตรธุรกิจบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม เชื่อมต่อระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มของธุรกิจ OR และพันธมิตรโดยการผนวกสินค้าและบริการ รวมถึงระบบงานแบ็คออฟฟิศให้เข้าไปอยู่ภายใต้ โออาร์ ดิจิทัล 

และ กลุ่มพลังงาน ที่ได้ลงนามสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุ เพื่อประกอบการระบบบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดย บริษัท โกลเบิลแอโร่แอสโซซิเอทส์ จํากัด (GAA) กิจการร่วมค้าของบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS) และ โออาร์ ที่ถือหุ้น ในสัดส่วน 45% รวมถึงยังตั้งบริษัทร่วมทุน ในนามบริษัท Phnom Penh Aviation Fuel Service Co., Ltd. (PPAFS) ซึ่ง PPAFS ได้ลงนามในสัญญาสัมปทาน ร่วมกับบริษัท Cambodia Airport Investment Company Limited (CAIC) ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานการพัฒนาสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญจากรัฐบาลกัมพูชา 

เพื่อเป็นการมอบสิทธิให้แก่ PPAFS ในการเป็นผู้ประกอบการระบบบริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ณ สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญ โดยเป็นการร่วมทุน ระหว่าง SG HoldCo , บริษัท China National Aviation Fuel International Holdings Limited (CNAF) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน และบริษัท Total Energies Marketing (Cambodia) Co., Ltd. (TOTAL) บริษัทในกลุ่มของบริษัท Total Energies จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทั้ง 3 บริษัทฯจะถือหุ้นในสัดส่วนเท่ากัน ในสัดส่วน 33.33% 

เห็นได้ชัดว่าการร่วมลงทุนของ OR จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจรายย่อย และสตาร์ตอัปที่มีแพชชั่นที่ชัดเจน สามารถแข่งขันได้ในตลาด และมีโอกาสการเติบโตได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งยังครอบคลุมเกือบทุกกลุ่มธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ OR ได้ดำเนินการมาโดยตลอด และมุ่งมั่นในการที่จะสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่มีความสามารถ อย่างที่ผ่านมาก็ได้เปิดโครงการ Startup for Chance ที่เชิญชวนกลุ่มสตาร์ตอัปทั่วประเทศที่มีแนวคิด เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะยกระดับสังคม  โดยการพัฒนาธุรกิจใหม่ที่ร่วมแก้ปัญหาชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยใช้แรงบันดาลใจจากธุรกิจของ โออาร์ ซึ่งสามารถผลักดันโมเดลธุรกิจแห่งอนาคต และสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจสู่อนาคตอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

OR สนับสนุนสถาบันคึกฤทธิ์ ๘๐ สืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมไทย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

OR เสริมแกร่งธุรกิจจับมือ อะมอเร่แปซิฟิค ขยายธุรกิจความงาม

OR เสริมความแข็งแกร่งด้านธุรกิจไลฟ์สไตล์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ร่วมกับ อะมอเร่แปซิฟิค (Amorepacific) หนึ่งในผู้นำผลิตภัณฑ์ด้านความงามในเกาหลีใต้ เดินหน้ารุกตลาดสุขภาพและความงาม (Health and Beauty) ของไทย มุ่งสร้างประสบการณ์การชอปปิ้ง สินค้าที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า ตั้งเป้าเปิดตัวสาขาแรกกลางปี 2567 นี้

OR จับมือ สุกิ โฮลดิ้งส์ ต่อยอดเครือข่ายร้านขายยา รุกธุรกิจสุขภาพความงาม

OR จับมือ สุกิ โฮลดิ้งส์ ต่อยอดเครือข่ายร้านขายยาของญี่ปุ่น เดินหน้ารุกธุรกิจสุขภาพและความงาม ขยายพอร์ตโฟลิโอสู่ธุรกิจที่นอกเหนือจากน้ำมัน เล็งเปิดตัวสาขาแรกกลางปี 2567 นี้

OR ฉายภาพเส้นทางการทำธุรกิจบนกรอบคิด ESG ต่อยอดวิสัยทัศน์ด้วยการ “ลงมือทำ” ขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ

นายวิศน สุนทราจารย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ร่วมแบ่งปันมุมมองเรื่อง ESG