'หมอระวี' ยังลุยต่อ ดันกฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง แต่เปลี่ยนชื่อลดแรงต้าน เป็น ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข เตรียมล่าชื่อ ส.ส. ชงเข้าสภาฯ สัปดาห์หน้า
12 ธ.ค. 2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวการพยายามผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการนิรโทษกรรมคดีการเมือง ที่นำโดย นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ และส.ส.บัญชีรายชื่อ ว่า ล่าสุด นพ.ระวี ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อและเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว โดยล่าสุด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมสังคมสันติสุข เพื่อลดแรงต้าน
และมีรายงานว่า นพ.ระวี เตรียมเคลื่อนไหวเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ในสัปดาห์หน้าหลังก่อนหน้านี้ได้มีการเดินสายหารือกับทั้ง ส.ส.รัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนแกนนำกลุ่มสีเสื้อทางการเมืองหลายกลุ่ม เพื่อขอความเห็นและให้ช่วยสนันสนุนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ในสัปดาห์หน้า หากได้รับเสียงสนับสนุนจากส.ส.ที่ต้องมีส.ส.ลงชื่อด้วยจำนวนหนึ่ง
สำหรับเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ระบุเหตุผลในการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการสร้างเสริมสังคมสันติสุขโดยให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน
ส่วนเนื้อหาในร่างดังกล่าว มีสาระสำคัญเช่น มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมืองหรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองแต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองโดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตนการต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการชุมนุม การประท้วงหรือการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมืองตามบัญชีแนบท้าย ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ไม่เป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
เนื้อหาในร่างระบุว่า ทั้งนี้ การกระทำความผิดในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำความผิดฐานทุจริตหรือประพฤติมิชอบ-การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือเป็นการกระทำที่ส่งผลให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
มาตรา 4 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 วรรคหนึ่งยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวนให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวนหรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้องหากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้องถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น
มาตรา 5 ในกรณีที่การกระทำผิดตามมาตรา 3 ก่อให้เกิดความเสียหายทางแพ่งแก่หน่วยงานของรัฐ ให้ความเสียหายทางแพ่งนั้นเป็นอันระงับไปกรณีตามวรรคแรก ถ้ามีการดำเนินคดีถึงที่สุดและมีการบังคับคดีไปแล้วเพียงใดก็ให้การบังคับคดีนั้นสิ้นสุดลงและให้คืนทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดแก่ผู้ที่ได้รับนิรโทษกรรมโดยเร็ว ถ้าอยู่ระหว่างการบังคับคดีก็ให้ยกเลิกการบังคับคดีนั้น
มาตรา 6 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งจากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย
มาตรา 7 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้ง “คณะกรรมการกลั่นกรองคดีที่จะได้รับการนิรโทษกรรม”มีจำนวนไม่เกิน 7 คน ภายใน 60 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้ มีหน้าที่
(1) รับเรื่องจากผู้ต้องหาคดีตามมาตรา 3 ที่ต้องการได้รับการนิรโทษกรรม
(2) พิจารณาว่าคดีที่ยื่นเข้ามาตามข้อ (1) คดีใดอยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับการนิรโทษกรรม
(3)แจ้งความคิดเห็นของกรรมการกลั่นกรองคดีที่จได้รับการนิรโทษกรรมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
คำชี้ขาดของคณะกรรมการกลั่นกรองคดีให้เป็นที่สุดและให้หน่วยงาน หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามคำชี้ขาดโดยพลัน คณะกรรมการกลั่นกรองคดีที่จะได้รับการนิรโทษกรรมมีวาระ 10 เดือนนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
มาตรา 9 หากผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้กระทำความผิดซ้ำภายหลังจากได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ห้ามมิให้ศาลรอลงอาญาหรือรอการกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสำหรับคดีที่กระทำความผิดภายหลังจากได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว
มาตรา 9 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ชาล็อต' ให้ข้อมูล กมธ.ตำรวจปมถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงิน
'ชาล็อต ออสติน' เข้าให้ข้อมูล กมธ.ตำรวจ ปมถูกหลอกสูญเงิน 4 ล้าน 'ชัยชนะ' ยันตำรวจให้ความสำคัญทุกคดี ไม่เกี่ยวเป็นคนดังหรือไม่
รื้อปมคดีแตงโมเดือด! กมธ.กฎหมายผวาก้าวล่วงอำนาจศาล
โต้เดือดหวิดวอล์กเอาท์! 'อัจฉริยะ' รื้อปม 'คดีแตงโม' ไม่สำเร็จ เหตุ 'กมธ.กฎหมาย' ชี้ไม่พบหลักฐานใหม่ ห่วงก้าวล่วงอำนาจศาล
'ธนกร' ค้าน 'ปชน.' แก้รธน.สุดซอย เตือนระวังโดนฟ้อง 157 ผิดกราวรูด
'ธนกร' ปักธงค้าน 'ปชน.' ชงแก้มาตรา 256 ชี้ตัดอำนาจ สว. ชัดขัดเจตนารมณ์ รธน. ทำเสียสมดุล 2 สภา หนักข้อสุดซอยเอื้อมแตะหมวด 1-2 พ่วงอำนาจองค์กรอิสระ เตือนระวังถูกฟ้อง 157 เจอผิดกราวรูด
'เท้งเต้ง' บอกอย่าเพิ่งหมดหวังสัญญาจะคงเส้นคงวาเหมือนเดิม!
'เท้ง' อวยพรปีใหม่ 68 ปลุกคนไทยอย่าทิ้งความหวัง ย้ำไม่เช่นนั้นจะสร้างความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ยืนยันฝ่ายค้านทำหน้าที่สม่ำเสมอ สัญญาจะคงเส้นคงวาเหมือนเดิม แย้มเปิดเวทีซักฟอกรัฐบาลภายใน มี.ค. แน่
ฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าดาวดับคู่
สื่อสภาตั้งฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' – 'เนวิ(น)เกเตอร์' สภาสูง 'วันนอร์' รูทีนตีนตุ๊กแก – ประธานวุฒิฯ 'ล็อกมง' – ผู้นำฝ่ายค้านฯ 'เท้งเต้ง' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าคู่ 'ดาวดับ' ยกขันหมาก 'พท.-ปชป.' เหตุการณ์แห่งปี
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า