'ผู้ตรวจการแผ่นดิน' ถกด่วน! คำร้องส่งศาล รธน. ชี้ขาดมติสภาห้ามชง 'พิธา' ซ้ำ

‘ผู้ตรวจการแผ่นดิน’ ถกด่วน คาดพิจารณาคำร้อง 2 นักวิชาการ ส่งศาล รธน. ตีความปมเสนอชื่อ ‘พิธา’ ซ้ำไม่ได้

24 ก.ค. 2566 – มีรายงานว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินได้นัดประชุมด่วนในช่วงเช้าวันนี้ เพื่อหารือวาระที่สำคัญ คาดว่าน่าจะเป็นคำร้องของ 2 นักวิชาการที่ขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการลงมติของที่ประชุมรัฐสภาว่าการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นการเสนอญัตติซ้ำ

โดยนายพรชัย เทพปัญญา นักวิชาการอิสระ และนายบุญส่ง ชเลธร อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 เข้าชื่อเพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการที่ที่ประชุมรัฐสภา ในวันที่ 19 ก.ค. มีมติว่าการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาลงมติเป็นนายกรัฐมนตรี ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อที่ 41 เป็นการเสนอญัตติซ้ำนั้น เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้หรือไม่ และหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ก็ขอให้มีคำสั่งไปยังที่ประชุมรัฐสภาให้ยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

ทั้งนี้คำร้องของนักวิชาการทั้ง 2 ระบุด้วยว่าว่า การลงมติของที่ประชุมรัฐสภาว่าไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้เนื่องจากเป็นการเสนอญัตติซ้ำ โดยอ้างข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 มองว่ารัฐธรรมนูญกำหนดการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการเฉพาะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 และตราบใดที่กระบวนการเลือกเลือกนายกฯยังไม่เสร็จสิ้น ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีย่อมสามารถถูกเสนอชื่อได้เรื่อยๆ ดังนั้นมติที่ประชุมรัฐสภาจึงเท่ากับรัฐธรรมนูญถูกละเมิดโดยข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 หรือไม่ จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ทั้งนี้ในเวลาประมาณ 14:30 น ผู้ตรวจการแผ่นดินจะมีการแถลงผลการประชุม

สำหรับการเลือกนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้นัดลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 27 ก.ค.นี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน

ศาลรธน. ไม่รับคำร้องขอวินิจฉัยอำนาจสภาฯแก้รัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับคำร้องของประธานรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256