ศาลพิพากษา 'ช่อ พรรณิการ์' ฝ่าฝืนจริยธรรม ให้ถอนสิทธิ์รับสมัครเลือกตั้งตลอดไป


แฟ้มภาพ

20 ก.ย.2566 - ที่ศาลฎีกา สนามหลวง องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ คมจ.1/2565 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ ผู้ร้อง น.ส.พรรณิการ์ วานิช ผู้คัดค้าน โดยผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านโพสต์ภาพถ่ายและ ข้อความตามคำร้องข้อ 4.1 (1) ถึง (6) ในลักษณะเป็นการกระทำอันมิบังควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ลงในเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ชื่อบัญชี “Pannika Chor Wanich” ของผู้คัดค้าน ต่อมาผู้คัดค้านได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภาพถ่ายและข้อความดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ในบัญชีการใช้งานเฟซบุ๊กของผู้คัดค้าน ในลักษณะเป็นสาธารณะ บุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปดูได้อย่างต่อเนื่อง โดยผู้คัดค้านมิได้กระทำการใด ๆ หรือลบภาพ และข้อความดังกล่าวออกจากบัญชีเฟซบุ๊กของผู้คัดค้าน เป็นการแสดงออกถึงการไม่เคารพและเทิดทูนต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ อันเป็นการไม่ยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข และเป็นการไม่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ขอให้พิพากษาว่า ผู้คัดค้านฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กับเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้าน มีกําหนดเวลาไม่เกินสิบปี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 87 และมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของ ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อ 5ข้อ 6 และข้อ27

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า การกระทำของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนที่จะมีบทกฎหมายและมาตรฐานทาง จริยธรรม จึงไม่อาจใช้บังคับย้อนหลังเอากับผู้คัดค้านได้ และบทกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายใช้บังคับแก่บุคคลที่ยังดำรง ตำแหน่งอยู่ในขณะถูกร้องและดำเนินคดี แต่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ผู้ร้องจึง ไม่มีอำนาจไต่สวนและยื่นคำร้องต่อศาล ขณะผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มิได้กระทำการใด อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ส่วนการที่ยังคงมีภาพถ่ายและข้อความตาม คำร้องปรากฏอยู่ไม่ถือเป็นการกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ขอให้ยกคำร้อง

ศาลฎีกาพิพากษาว่า ผู้ร้องได้รับคำร้องของสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ฉบับลงวันที่ 11 มิ.ย.62 กล่าวหาว่า ผู้คัดค้านขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีพฤติการณ์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งขณะนั้นมีผลใช้บังคับแล้วไว้พิจารณา ซึ่งขณะนั้นผู้คัดค้านยังดำรง ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้ต่อมาผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งแล้ว ผู้ร้องยังคงมีอำนาจไต่สวนและยื่นคำร้อง คดีนี้ได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 234 (1) มาตรา 235 วรรคหนึ่ง (1) และพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 87 ประกอบมาตรา 55(3) ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มาตรา 6บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” และหมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50บัญญัติว่า “บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1 ) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข...” ผู้คัดค้านมีเชื้อชาติและสัญชาติไทย นอกจากมีหน้าที่ตามมาตรา 50 (1) อันเป็น หน้าที่ของปวงชนชาวไทยแล้ว ผู้คัดค้านในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังต้องยึดถือปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรมเพื่อรักษาเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งและความเชื่อถือศรัทธาของประชาชน ย่อมต้องระมัดระวัง ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์มิให้มีภาพถ่ายหรือข้อความพาดพิงหรือแสดงออกต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางที่ ไม่เหมาะสมหรือมิบังควร เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ เป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวม ความสามัคคีของปวงชนชาวไทย โดยกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ว่า “ในหลวง” “พ่อหลวง” หรือ “พ่อของแผ่นดิน” เป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย ปวงชนชาวไทยมีความรักและความภาคภูมิใจในองค์พระมหากษัตริย์และ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดมา

เมื่อพิจารณาการกระทำของผู้คัดค้านตามคำร้องซึ่งกระทำอย่างต่อเนื่องกัน มาจึงต้องนำการกระทำของผู้คัดค้านทั้งหกกรณีมาพิเคราะห์ร่วมกันเพื่อหยั่งทราบเจตนาของผู้คัดค้านว่ามุ่งประสงค์ อย่างไร การกระทำของผู้คัดค้านตามคำร้อง ข้อ 4.1(1) ถึง 4.1(4) และ 4.1(6) ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านมี เจตนาพาดพิงถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ส่วนการกระทำตามคำร้อง ข้อ 4.1 (5) เป็นการลงข้อความพาดพิงถึงสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ (พระนามในขณะนั้น) อันเป็นการแสดงออกต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางที่ไม่เหมาะสม หรือมิบังควรอย่างยิ่ง เป็นการไม่เคารพในหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้คัดค้านที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ ก่อนดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอยู่ภายใต้ บังคับมาตรฐานทางจริยธรรมฯ หมวด 1 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 6 ที่กำหนดให้ผู้คัดค้านต้อง พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง นอกจากการกระทําโดยตรงแล้วยังหมายรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกัน ผลนั้นด้วย เมื่อผู้คัดค้านยังคงปล่อยให้ภาพถ่ายและข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์บัญชีการใช้งาน เฟซบุ๊กของผู้คัดค้านในลักษณะเป็นสาธารณะบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ พฤติการณ์ของผู้คัดค้านเป็นการแสดงออก ถึงการไม่เคารพและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 มาตรา 50(1) และมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 6การที่ผู้คัดค้านไม่ลบหรือนำภาพถ่ายและข้อความ ดังกล่าวทั้งหมดออกจากระบบคอมพิวเตอร์ทั้งที่สามารถกระทำได้เพื่อไม่ให้ปรากฏอยู่และเพื่อไม่ให้บุคคลใดสามารถ เข้าถึงภาพถ่ายและข้อความทั้งหกกรณีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 87 และมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 6 ประกอบ ข้อ 27 วรรคหนึ่ง ให้เพิกถอนสิทธิ สมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านตลอดไป รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย มาตรา235 วรรคสามและวรรคสี่ แต่ยังฟัง ไม่ได้ว่าเป็นการไม่ยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 5 จึงยังไม่เห็นสมควร เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้าน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อ.ปริญญา' โต้แย้งคำพิพากษา ไม่ควรตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 'ช่อ' ตลอดชีวิต

'อ.ปริญญา'โต้แย้งคำพิพากษาตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง'ช่อ' ชี้เป็นการตีความรัฐธรรมนูญของผู้มีอำนาจหน้าที่ ทั้งที่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อน ไม่ใช่เกิดขึ้นหลังมาตรฐานจริยธรรมประกาศใช้ จึงไม่ควรตัดสิทธิตลอดชีวิต

'ช่อ พรรณิการ์' ลั่นสะกดคำว่า 'ท้อ' ไม่เป็น

น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า อดีต สส.พรรคอนาคตใหม่ กล่าวถึงกรณีที่ศาลฎีกามีพิพากษา ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงกรณีโพสต์ข้อความพาดพิงสถาบันฯ โดยให้ถอนสิทธิ์รับสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต และไม่มีสิทธิ์ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า แม้มีคำตัดสินดังกล่าวออกมา ก็ถือ

'ช่อ พรรณิการ์' ลั่นภารกิจการเมืองยังเหมือนเดิมทุกประการ หลังถูกตัดสิทธิลงเลือกตั้งตลอดไป

ช่อ พรรณิการ์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ขอบคุณสำหรับทุกกำลังใจและความเป็นห่วงจากทุกๆ ช่องทางค่ะ คำพิพากษาศาลในวันนี้ เป็นการตัดสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง หมายความว่า ลงสมัคร สส. หรือแข่งขันการเลือกตั้งทุกระดับไม่ได้ รับตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้

'หมอวรงค์' ลุ้นอีกคดี! ศาลอุทธรณ์ตัดสิน 'ช่อ' ฟ้องหมิ่น 11 ก.ค.

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฟังคำพิพากษาอีกหนึ่งคดี ขออธิบายเพิ่มเติม คดีที่ศาลยกฟ้องที่พรรคก้าวไกลโดยนายพิธาฟ้องผม