“ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด” “ตัวช่วยสำคัญ” ยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน

แนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิล สู่การใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานภาคพลังงานของประเทศ พร้อมเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนการพลังงานหมุนเวียนมาใช้ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น รวมทั้งมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความทันสมัยและมั่นคง (Grid Modernization) พร้อมรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

ความผันผวนและไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา นำมาสู่การจัดตั้งศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast Center: REFC) และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) ของ กฟผ. ซึ่งเป็น 2 ใน 5 เสาหลักตามแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565-2574  โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ สำนักงานใหญ่ กฟผ. เพื่อเป็นต้นแบบของศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลดในประเทศไทย

REFC” ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน “ที่สุดแห่งความแม่นยำ”

  • ทำหน้าที่พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP)
  • นำผลพยากรณ์ไปใช้วางแผนการผลิตไฟฟ้าร่วมกับโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงประเภทอื่น เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับความผันผวนและความไม่แน่นอนจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน
  • พัฒนาระบบจำลองให้ครอบคลุมถึงผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer: VSPP) รวมถึงระดับ Solar Rooftop
  • เตรียมจัดตั้งศูนย์ฯ ตามสถานีไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. โดยเริ่มต้นที่ 11 ศูนย์ กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะเข้ามาในระบบเพิ่มขึ้นกว่า 8,000 เมกะวัตต์ในอนาคต

DRCC” ศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด ตัวช่วยลดการใช้ไฟฟ้า

  • ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในสถานการณ์ที่เชื้อเพลิงมีราคาสูง หรือช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) เนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตจะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ามีราคาที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ของภาคประชาชนอาจปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย การลดการใช้ไฟฟ้าแทนจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
  • ดำเนินการผ่านผู้รวบรวมโหลด (Load Aggregator: LA) หรือปริมาณการใช้ไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่ทำหน้าที่รวบรวมปริมาณการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยินดีรับเงินชดเชยจากการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า
  • ในช่วงระหว่างปี 2565-2566 ได้นำร่องการตอบสนองด้านโหลดในปริมาณเป้าหมาย 50 เมกะวัตต์ ตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อทดสอบนำร่องการใช้งานจริงของโปรแกรม DR ระหว่างการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ก่อนที่จะนำไปขยายผลการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป

ด้วยทิศทางพลังงานโลกและบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป รูปแบบการผลิตไฟฟ้าในอนาคตของประเทศยากที่จะเหมือนเดิมอีกต่อไป การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนานวัตกรรมเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการผลิต จัดหา และส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ผ่านศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลดของ กฟผ. จึงเป็น “ตัวช่วยสำคัญ” ในการยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความมั่นคงและทันสมัย เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กฟผ.หนุนศึกยกน้ำหนัก'เวิล์ด คัพ 2024' เฟ้นหานักกีฬาไทย ชิงชัยโอลิมปิก 2024

นายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน เป็นผู้แทน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมพิธีเปิด และรับมอบของที่ระลึกในฐานะผู้สนับสนุนการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก 2024 ไอดับเบิ้ลยูเอฟ เวิลด์ คัพ รอบคัดเลือกโอลิมปิกเกมส์ 2024 "ปารีสเกมส์"

กฟผ.ชวนสัมผัส “ELEXTROSPHERE โลกใหม่ Right คาร์บอน” โซนใหม่ศูนย์การเรียนรู้ จัดเต็มความรู้คู่ความสนุก พบกัน 2 เมษายนนี้!

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง เป็นโครงการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม หรือ Learning for Society

ฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่ 5 ดาว ประหยัดไฟ รักษ์โลกมากกว่าเดิม

แม้ไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อนเพียงไม่นาน แต่บางพื้นที่มีอุณหภูมิร้อนแรงแตะ 45 องศาเซลเซียส ทำให้หลายคนเตรียมปาดเหงื่อทั้งจากอากาศที่ร้อนจัด

ตามโผ ‘ครม.’ ตั้ง ‘เทพรัตน์ เทพพิทักษ์’ นั่ง ผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่

ครม.มีเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายเทพรัตน์  เทพพิทักษ์  ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

กฟผ. พร้อมจ่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาดในรูปแบบผสมผสาน กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ภายใน มี.ค. นี้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทดสอบการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ ชุดที่ 1 เข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าของสถานีไฟฟ้าแรงสูงเขื่อนอุบลรัตน์