ซูเปอร์โพลเผยผลสำรวจประชาชนยังหนุนรัฐบาลทำงาน ยกเว้นกลุ่มคนรุ่นใหม่

3 ธ.ค. 2566 – นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลการศึกษา เรื่อง หนุน หรือ ไม่หนุน รัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวน 1,093 ตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

เมื่อสอบถามถึง การหนุนหรือไม่หนุน พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.3 หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล เพราะ ต้องการให้โอกาสปล่อยรัฐบาลทำงานไปก่อน เพราะมาตรการแจกเงินช่วยเกษตรกร และเพราะนโยบายแจกเงินหมื่น เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 43.7 ไม่หนุน พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล เพราะ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพสูง ภัยออนไลน์ โจรมิจฉาชีพไซเบอร์ ยาเสพติด หนี้นอกระบบ หนี้ในระบบ เป็นต้น

ที่น่าสนใจคือ เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มชายและกลุ่มหญิง พบว่า ทั้งชายและหญิงเกินครึ่งคือ ชายร้อยละ 53.4 หญิงร้อยละ 58.6 หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล แต่เมื่อแบ่งออกตามช่วงอายุ พบว่า คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่หรืออายุน้อยกว่า 20 ปีร้อยละ 70.3 และคนช่วงอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 50.0 ไม่หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ในขณะที่คนอายุ 40 – 49 ปี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลและคนสูงอายุ เช่น กลุ่มคนอายุ 50 – 59 ปีร้อยละ 56.6 และคนอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 56.3 หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล

ผศ.ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อแบ่งตามระดับรายได้ พบว่า กลุ่มรายได้น้อย คือ ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล แต่กลุ่มรายได้มากกว่า 35,000 บาทขึ้นไปต่อเดือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 ไม่หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล เป็นเพราะความไม่ชัดเจนของนโยบายและมาตรการจากรัฐบาลที่ควรจะมีอะไรจับต้องได้ตอบโจทย์ความต้องการของคนทุกกลุ่ม ชดเชยความรู้สึกว่า รัฐบาลกำลังเอาใจคนบางกลุ่มมากเกินไปโดยเฉพาะกลุ่มคนที่คิดว่าตนเองจ่ายภาษีมากกว่าคนอื่นและถูกรัฐบาลนำเงินภาษีหรือเงินกู้ของรัฐบาลที่เป็นภาระของคนทั้งประเทศไปช่วยเหลือคนเฉพาะกลุ่ม

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจตอกย้ำว่า คนรุ่นใหม่ยังไม่หนุน พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลสะท้อนได้จากกลุ่มนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.5 ไม่หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล แต่มีกลุ่มค้าขายอิสระ กลุ่มคนว่างงาน และกลุ่มเกษตรกร รับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 65.4 ของกลุ่มค้าขายอิสระ อาชีพส่วนตัว ร้อยละ 65.2 ของกลุ่มว่างงานและร้อยละ 59.9 ของกลุ่มเกษตรกร รับจ้างทั่วไปที่หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล โดยมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐร้อยละ 52.2 ไม่หนุน แต่ พนักงานเอกชน ร้อยละ 52.1 หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา กล่าวว่า จากผลการศึกษาครั้งนี้พบประเด็นสำคัญคือ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนสนับสนุนรัฐบาลเป็นเพียงแค่เส้นบาง ๆ นั่นคือ ประชาชนให้โอกาสปล่อยรัฐบาลทำงานไปก่อนมากกว่าผลงานที่จับต้องได้เป็นรูปธรรมรัฐบาลจึงควรเร่งทำเป็นชุดโครงการครบทุกมิติออกเป็นแพ็กเกจเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนบนหลัก 3 หลักคือ หลักของการรวบรวมทรัพยากรหน้าตักของรัฐบาลทั้งภายในส่วนราชการและนอกส่วนราชการ

หลักของกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ในการรวบรวมทำอย่างถูกต้อง และหลักของการกระจายทรัพยากร ผลประโยชน์ บริการและความปลอดภัยทั้งต่อผู้ให้และประชาชนผู้รับ เพราะผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ยังไม่หนุนรัฐบาล เลือกตั้งใหม่พรรคก้าวไกลก็จะชนะอยู่ดีและกำลังขยายตัวไปถึงท้องถิ่นท้องที่ทั่วไทยอีกด้วย เพราะรัฐบาลยังขาดคนที่ใช่และมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ชนะการเลือกตั้งที่โดนใจกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่หนุนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล

ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพลและนักวิชการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ กล่าวต่อว่า ปัจจัยบวกที่หนุนรัฐบาลจึงเปราะบางแต่มีบางตัวจับต้องได้ที่น่าพิจารณาทำต่อทำเสริมอย่างปลอดภัย เช่น มาตรการแจกเงินหมื่น มาตรการแจกเงินช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเช่นเกษตรกร และผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ทั้งผู้ขายและผู้บริโภค รวมถึงมาตรการบริการประชาชนในทุกมิติของชีวิตที่มีความปลอดภัยทางไซเบอร์เพราะประชาชนทั้งประเทศอยู่บนโลกออนไลน์จึงเสี่ยงสูงกว่า ปัญหายาเสพติดที่มีประชาชนบางส่วนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและหนี้นอกระบบ หนี้ในระบบ ดังนั้นรัฐบาลน่าจะหันมาให้ความสำคัญสูงสุดต่อการป้องกันและปราบปรามโจรไซเบอร์ มิจฉาชีพไซเบอร์เป็นวาระแห่งชาติบูรณาการทุกหน่วยงานราชการและเอกชนทำงานร่วมกันโดยปรับประยุกต์ใช้หลักความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้มาตรฐานเช่น NIST ของสหรัฐอเมริกา ISO 27000 ISO 31000 และกฎหมาย GDPR ของยุโรป และปรับปรุงกฎหมาย PDPA ของประเทศไทยให้ลงไปถึงการเยียวยาประชาชนผู้เสียหายทางไซเบอร์ได้รับการชดเชยความเสียหายและได้รับความปลอดภัยแท้จริงบนหลักของ CIA คือความลับและเชื่อถือได้ของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องแท้จริงของข้อมูล (Integrity) ความสามารถเข้าถึงบริการและการใช้ประโยชน์ข้อมูล (Availability) พร้อมกับการให้สิทธิการสงวนสิทธิ (Authentication) และการป้องกันการปลอมแปลง หลอกหลวงประชาชน (Non-Repudiation) ในความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ขอฝากไปยังพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างทั่วถึง

“รัฐบาลและทุกภาคส่วนก็จะสามารถร่วมกันขับเคลื่อนประเทศบรรลุเป้าหมายสำคัญสูงสุด 3 เป้าหมายคือ ความมั่นคงของชาติ การปกปักษ์รักษาผลประโยชน์ชาติและความอยู่เย็นเป็นสุขอย่างปลอดภัยของประชาชน ถ้าพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเร่งประกาศของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนเร็ววันนี้ ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ รัฐบาลโดยพรรคร่วมรัฐบาลจะครองใจประชาชนทุกกลุ่มที่ครั้งหนึ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเคยเสียไปจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดและช่วงการจัดตั้งรัฐบาลให้กลับมีฐานสนับสนุนขยายกลุ่มและมั่นคงแข็งแกร่งยิ่งขึ้น” ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซูเปอร์โพลตอกย้ำ คะแนนนิยม ‘ก้าวไกล’ เหนือกว่า ‘เพื่อไทย’ 1 เท่าตัว

พรรคก้าวไกลมีคะแนนสูงกว่าเพื่อไทยอยู่ประมาณหนึ่งเท่าตัว แต่พรรคก้าวไกลก็ยังจะไม่มีคะแนนนิยมมากพอที่จะชนะการเลือกตั้งจนตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ถ้ายังทำงานการเมืองแบบนี้ต่อไป

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็น 'เงินถูกโจรกรรม ใครต้องรับผิด'

นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพลและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง

'นักเรียนไทยในสหรัฐ' เรียกร้องสองรัฐบาล ขยายเวลาวีซ่า F1

นายกฤตัชญ์ กรรณิกา เหรัญญิกสมาคมนักศึกษาไทยในสหรัฐอเมริกา (ATSA) ในฐานะผู้แทนนักศึกษาไทยประชุมร่วมเวที 190 ปี สายสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา

เปิดผลสำรวจคนกรุงเทพฯ 'ประชาธิปัตย์ในใจประชาชน' จับตา 4 คนชิงหัวหน้า

ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เปิดเผยผลการศึกษา เรื่อง ประชาธิปัตย์ในใจประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสา

ซูเปอร์โพล ห่วงเกษตรกร เป้าหมายโจรไซเบอร์หลังแจกดิจิทัลวอลเล็ต

นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) และนักวิชาการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เสนอผลสำรวจความรู้สึกของประชาชน (Sentiment Survey) เรื่อง เป๋าตัง เกษตรกร กับ ภัยไซเบอร์ ชี้เป้าและทางออก กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ

ซูเปอร์โพลเผยประชาชนเป็นห่วงภัยไซเบอร์มากกว่าปัญหายาเสพติด

นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) และในบทบาทกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)