เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ฟัน 7 ต่อ 2 สิระพ้นส.ส. เหตุเคยติดคุกคดีฉ้อโกง ชี้แม้มีเพียงหน้าสำนวน ไร้หลักฐานอื่นยืนยัน แต่คำให้การคู่กรณี-หนังสือหน่วยงานยันตรงกัน คาดเลือกตั้งใหม่ 30 ม.ค.2565
22 ธ.ค.2564 - ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยด้วยมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ให้สมาชิกความเป็นส.ส. ของนายสิระ เจนจาคะ ส.ส. กทม.พรรคพลังประชารัฐ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (10) เนื่องจากเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลแขวงปทุมวัน ว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ท่กระทำโดยทุจริตตามมาตรา 341 ประมวลกฎหมายอาญา โดยตุลาการเสียงข้างน้อยมี 2 คน คือนายทวีเกียรติ มีนะกนิตย์ และนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ที่เห็นว่าสมาชิกภาพส.ส.ของนายสิระ ไม่สิ้นสุดลง
สำหรับเหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยดังกล่าวระบุว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (10) เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้นใหม่ ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามบางประการของบุคคลเพื่อมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นส.ส. โดยมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ขาดความน่าเชื่อถือในความสุจริต หรือที่เคยทำความผิด อันเป็นปฏิปักษ์ต่อสาธารณะเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันเป็นหนทางให้ใช้ตำแหน่ง หรืออำนาจหน้าที่ของฝ่ายการเมือง กระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบได้โดยง่าย บุคคลที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ในฐานะที่เป็นปวงชนชาวไทยต้องได้รับการกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าบุคคลนั้นๆ จะปฏิบัติหน้าที่โดยซื่อสัตย์สุจริต มีความปรพฤติ และคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับ และเชื่อถือของสาธารณชนในทุกด้าน ปราศจากมลทินมัวหมอง
ในส่วนที่เป็นฐานความผิดนั้น หลักการสำคัญของบทบัญญัติ 98 (10) ยึดถือการที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าด้วยกระทำความผิดเป็นสำคัญ โดยไม่ได้คำนึงว่ามีเหตุบรรเทาโทษ หรือได้รับการลดโทษหรือไม่ โดยเหตุนี้เมื่อมีการล้างมลทินหรืออภัยโทษ โดยการล้างมลทิน คือการลบล้างโทษ ว่าไม่เคยถูกลงโทษจำคุกในความผิดนั้นๆเท่านั้น แต่พฤติกรรม หรือการกระทำความผิด ซึ่งศาลพิพากษาความมีการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งก็ยังคงอยู่ ไม่มีผลลบล้างการกระทำความผิด และคำพิพากษาในที่สุดว่าได้กระทำความผิดนั้น ส่วนการอภัยโทษเป็นการให้อภัยแก่ผู้ที่กำลังได้รับโทษอยู่ ให้ได้รับการงดเว้นไม่ต้องถูกลงโทษต่อไป อันเป็นการลดโทษมิใช่การลบล้างความผิด ทั้งนี้ผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 98 (10) ถือได้ว่าเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส
ข้อเท็จจริงตามคำร้อง คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คำชี้แจงของหน่วยงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้แก่ ได้แก่ศาลแขวงปทุมวัน ลอุทธรณ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดี ศาลแขวง 6 (ปทุมวัน) เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเอกสารประกอบ สรุปได้ว่า ผู้ถูกร้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง พ.ต.ต.เขมรินทร์ หัสศิริ ซึ่งเป็นยศในขณะนั้น ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน เมื่อ 15 ต.ค. 2537 ให้ดำเนินคดีนายสิระ และพวกฐานฉ้อโกง เป็นคดีอาญาที่ 2889/2537 ของสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 6 (ปทุมวัน) ชี้แจงตามหนัง อส.0025.6/440 เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2564 ได้ความว่า ได้รับสำนวนจากสถานีนครบาลปทุมวัน เป็นสำนวนส. 1 เลขรับที่ 36/2538 ระหว่างพ.ต.ต.เขมรินทร์ เป็นผู้กล่าวหา นายสิระ ผู้ถูกร้องเป็นผู้ต้องหาที่ 1 นายสมชาย เกียรติพิทยสกุล เป็นผู้ต้องหาที่ 2 และนายสิทธิชัย บุณยนิตย์ เป็นผู้ต้องหาที่ 3 ฐานร่วมกันฉ้อโกง ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2538 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดี ศาลแขวง 6 ปทุมวัน เป็นโจทย์ยื่นฟ้องผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่ 1 เป็นจำเลยต่อศาลแขวง 6 ปทุมวัน ในคดีอาญา 1 หมายเลขดำที่ 812/2538 ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ,91, 83 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2526 มาตรา 4 และสั่งให้จำเลยคืน รือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย และริบสัญญาจะซื้อจะขาย 3 ฉบับ ทั้ง 3 ฉบับ โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินคดี นายสมชาย และนายสิทธิชัย ผู้ต้องหาที่ 2 และ 3 เนื่องจากคดีขาดอายุความ และเมื่อวันที่21 พ.ย. 2538 ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษา เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2218/2538 ว่าผู้ถูกร้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 รวม 2 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 8 กระทงลงโทษจำคุก 8 เดือน รับสารภาพเป็นประโยชน์ลดโทษกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 78 คงจำคุก 4 เดือน และให้ผู้ถูกร้องคืน หรือชดใช้ราคาทรัพย์ 2 แสนบาท แก่ผู้เสียหาย และริบสัญญาจะซื้อจะขายทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งจากคำชี้แจงของศาลแขวงปทุมวัน ตามหนังสือศาลยุติธรรม สย 301.012 (ค) /ค 190 ลงวันที่ 23 มี.ค.2564 ได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 และหมายเลขแดงที่ 2218/2538 ศาลแขวงปทุมวันดำเนินการปลดทำลายสำนวนความ และเอกสารไปตามระเบียบแล้ว จึงส่งสำเนาปกสำนวนและสำเนาคำพิพากษาดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลอุทธรณ์ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญตามหนังสือศาลอุทธรณ์ สำนักงานศาลยุติธรรม ที่สย.200/1849 ลงวันที่ 2 เม.ย.2564 สรุปความได้ว่า ไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ และเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามหนังสือกระทรวงยุติธรรมที่ ยธ.0768/2707 ลงวันที่ 29 มี.ค.2564 สรุปได้ว่าไม่ปรากฏข้อความการต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีการบันทึกข้อมูลในระบคอมพิวเตอร์ ประกอบกับปี 2554 เกิดอุทกภัยในพื้นที่เรือนจำ เอกสารที่จัดเก็บไว้ในอาคารน็อกดาวน์เกิดความเสียหาย ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2538 ผู้ถูกร้องเคยต้องคำพิพากษาของศาลแขวงปทุมวันในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ว่ากระทำความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา คดีดังกล่าวไม่มีการอุทธรณ์ ต่อศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่าพ.ต.ต.เขมรินทร์ ไม่เป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าว เพราะหลังศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษา ผุ้ถูกร้องได้รับการประกันตัวในวันเดียวกัน และมีการเจรจาชดใช้ค่าเสียหาย กับผู้เสียหายฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ นายโสภณ เจนจาคะ พี่ชายของผู้ถูกร้อง เป็นผู้เจรจา และชดใช้ค่าเสียายให้กับผู้เสียหาย ซึ่งสามารถตกลงกันได้ ภายในระยะเวลาอุทธรณ์ และผู้เสียหายได้ยื่นถอดถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลแขวงปทุมวัน ศาลแขวงปทุมวันสั่งจำหน่ายคดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ออกจากสารบบความ
คดีมีปัญหาว่า พ.ต.ต.เขมรินทร์ เป็นผู้เสียหายในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ของศาลแขวงปทุมวันหรือไม่ และคดีนั้นมีการยอมความและถอนคำร้องทุกข์ภายในระยะเวลาอุทธรณ์อันเป็นเหตุให้ถือว่าผู้ถูกร้องไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดนั้นที่กระทำอันเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ เห็นว่าคดีนี้ไม่มีพยานเอกสารใดรับรองว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ถึงที่สุดอย่างไร ไม่มีสำนวนคำฟ้องที่บรรยายฟ้องว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหาย ไม่มีเอกสารที่แสดงว่ามีการยอมความระหว่างผู้ถูกร้อง และผู้เสียหายแล้ว ภายในระยะเวลาอุทธรณ์ และศาลแขวงปทุมวันมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มีเพียงคำชี้แจงของพ.ต.ต.เขมรินทร์ คำชี้แจงของผู้ถูกร้อง นายโสภณ และของหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และเอกสารอื่นๆ ประกอบเป็นพยานหลักฐาน พ.ต.ต.เขมรินทร์ ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยสรุปคามได้ว่า พยานเพียงผู้เดียวเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ 3 คัน และจ่ายเงินดาวน์รวม 1,108,317.57 บาท ซึ่งนายสมชาย เจ้าหน้าที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนพล จำกัด และนายสิทธิชัย เจ้าหน้าที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีธนา จำกัด เป็นผู้จัดทำสัญยาเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งบุคคลทั้ง 2 มีส่วนเกี่ยวพันกับการกระทำความผิดของผู้ถูกร้อง คือไม่ได้เอารถยนต์ที่พิพาทไปจดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบก พยานหลงเชื่อว่ารถยนต์ที่พิพาทมีอยู่จริง ซึ่งความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากเลขเครื่องรถยนต์ และเลขตัวถังรถยนต์ ที่พยานทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ทั้ง 2 ไม่ได้อยู่ในสารบบของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ แม้พยานผ่อนส่ง ชำระค่างวดรถครบ ก็ไม่อาจเป็นเจ้าของรถยนต์ได้ รถยนต์ที่ผู้ถูกร้องนำมาแสดงให้พยานดู ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่มีรุ่นและสีตรงกันเท่านั้น พยานร้องทุกข์ต่อสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ให้ดำเนินคดีกับนายสมชาย และนายสิทธิชัย เพิ่มเติมหลังได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี แก่ผู้ถูกในข้อหา ร่วมกันฉ้อโกง เมื่อพนักงานสอบสวนสรุปสำนวน มีความสสั่งฟ้อง และส่งสำนวนสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ โดยพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องนายสมชาย กับนายสิทธิชัย โดยให้เหตุผลว่า ยังไม่ได้ร้องทุกข์ภายในอายุความ 3 เดือน ส่วนนางดารารัตน์ อ่อนสะอาด และน.ส.วัลลดา ทองอ่อน พยานถอนคำร้องทุกข์
ส่วนกรณีที่ทราบว่าผู้ถูกร้องถูกจับ และถูกดำเนินคดีอื่นนั้น พยานไม่ได้สอบถามจากผู้ถูกร้อง หรือพนักงานราชทัณฑ์ เกี่ยวกับคดีที่ผู้ถูกร้องถูกจับกุม แต่ทราบว่าผู้ถูกร้องถูกจับกุมดำเนินคดีที่สถานนีตำรวจนครบาลลุมพินี และศาลตัดสินคดีแล้ว โดยผู้ถูกร้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และมีคดีความอื่นๆอีก ซึ่งพนักงานสอบสวนดำเนินการอายัดตัวผู้ถูกร้องไว้ดำเนินคดีในความผิดที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษา พยานไม่เคยได้รับเงินตามคำพิพากษาจากฝ่ายผู้ถูกร้อง หรือผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น และไม่เคยถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความตามกฎหมาย
ผู้ถูกร้องชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมว่า ผู้ถูกร้องรู้จักกับ พ.ต.ต.เขมรินทร์ เนื่องจากเคยทำสัญญาจัดซื้อจัดขายรถยนต์เป็นจำนวน 3 คน แต่พ.ต.ต.เขมรินทร์ ไม่ใช่ผู้เสียในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 โดยผู้เสียในคดีนั้นมี 2 คน พยานหลักฐานของผู้ร้องไม่เกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าว เนื่องจากการฟ้องในคดีที่พ.ต.ต.เขมรินทร์ เป็นผู้เสียหาย ต้องมีจำเลยรวม 3 คน แต่ในคดีที่ผู้ร้องอ้างเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติม ผู้ถูกร้องเป็นจำเลยเพียงคนเดียว คือผู้ถูกร้อง ซึ่งไม่เป็นไปตามสำนวนในคดีที่มีการฟ้องผุ้ถูกร้องต่อศาลแขวงปทุมวัน และคดีดังกล่าวไม่มีคำพิพากษาให้ผู้ถูกร้องชดใช้ค่าเสียหาย แก่ผู้เสียหาย 2,853,158.75 บาท ตามบัญชีทรัพย์ที่เสียหาย คดีทีผู้ถูกร้องกล่าวอ้าง พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการน่าจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากผู้ถูกร้องกับพวกไม่ได้ฉ้อโกงตามสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้เสียหาย ตามที่มีการแจ้งความร้องทุกข์ และการเช่าซื้อรถยนต์ 3 คันเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไม่ได้ซื้อจากผู้ถูกร้องกำพวก
ส่วนข้อเท็จจริงที่ผู้ถูกร้องอ้างว่าผู้เสียหายลงชื่อในหน้าสำนวนคดีดังกล่าวไม่อาจรับฟังได้ เนื่องจากผู้ที่ลงลายมือชื่อในช่องโจทย์เป็นพนักงานอัยการเท่านั้น ผู้เสียหายไม่ได้เป็นโจทย์ร่วม อีกทั้งลายมือชื่อในช่องโจทยร์ที่ผู้เสียหายรับรองว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายในคดีดังกล่าว ไม่เหมือนกับลายมือชื่อในหน้าสำนวน ประกอบกับไม่มีเจ้าหน้าที่ รับรองว่าผู้เสียหายเป็นผู้ลงลายมือด้วยตนเองหรือเป็นผู้เสียหาย ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2538 ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ผู้ถูกร้องไปฟังพิพากษาโดยไม่ได้ถูกควบคุมตัว หรือถูกคุมขังในเรือนจำ และได้เจรจาชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย แต่ในวันฟังคำพิพากษาผู้ถูกร้องไม่สามารถนำเงินไปชำระแก่ผู้เสียหายได้ ศาลแขวงปทุมวันพิพากษาให้ผู้ถูกร้องชำระเงินจำนวน 2 แสนบาทแก่ผู้เสียหาย ผู้ถูกร้องได้รับการปล่อยชั่วคราว โดยนายโสภณ นำเงินสดวางเป็นหลักประกัน หลังจากศาลแขวงปทุมวันได้มีคำพิพากษาแล้ว ผู้ถูกร้องและนายโสภณ ได้นัดผู้เสียหายทั้ง 2 เจรจาที่สำนักงานขายรถยนต์ของนายโสภณ และตกลงจ่ายเงินแก่ผู้เสียหายทั้ง 2 คนละ 1 แสนบาท โดยขอจ่ายเป็น 2 งวด งวดแรกจ่ายเป็นเงินสด ในวันเจรจาตกลงกันคนละ 5 หมื่นบาท งวดที่ 2 จ่ายหลังจากงวดแรกประมาณ 20 วัน เมื่อถึงกำหนดงวดที่ 2 ผู้ถูกร้อง กบันายโสภณ นำเงินไปจ่ายแก่ผู้เสียหายทั้ง 2 อีกคนละ 5 หมื่นบาท รวมเป็นเงินที่จ่ายให้กับผู้เสียหาย 2 แสนบาท โดยนัดตกลงกันจ่ายเป็นเงินสดที่ศาลแขวงปทุมวัน มีบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหาย และใบรับเงินค่าเสียหาย เมื่อชำระหนี้ครบถ้วน ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลแขวงปทุมวัน ในวันที่ได้รับเงินค่าเสียหายงวดที่ 2 ซึ่งผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ ศาลแขวงปทุมวันมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ แต่เอกสารการชำระหนี้ และเอกสารสำเนาคำร้อง ขอถอนคำร้องทุกข์ ผู้ถูกร้องไม่ได้เก็บไว้ และไม่สามารถขอคัดถ่ายเอกสารได้ เนื่องจากเป็นระยะเวลานานแล้ว ประกอบกัยเอกสารดังกล่าวถูกทำลายตามวิธีของศาลยุติธรรม ผู้ถูกร้องไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ เนื่องจากมีการชดใช้ค่าเสียตามคำพิพากษาก่อนครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และเมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ก่อนวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลแขวงปทุมวัน ก็มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
นายโสภณร ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ สรุปได้ว่าพยานเป็นผู้ยื่นขอปล่อยชั่วคราวผู้ถูกร้องตั้งแต่วันฟ้องคดีที่ 4 ส.ค. 2538 โดยใช้หลักประกันเป็นเงินสด 1 แสนบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2538 ผู้ถูกร้องไม่สามารถหาเงินค่าเสียหายมาชำระแก่ผู้เสียหายได้ ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาจำคุกผู้ถูกร้อง 4 เดือน และให้ชำระค่าเสียหายจำนวน 2 แสนบาท พยานยื่นขอปล่อยชั่วคราวผู้ถูกร้องโดยเงินสดและสัญญาประกันเดิม โดยไม่เคยรู้จัก พ.ต.ต.เขมรินทร์ โดนเที่จำได้ ในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ของศาลแขวงปทุมวัน ผู้เสียหายในคดีดังกล่าว 2 จำชื่อไม่ได้ มีค่าเสียจำนวน 2 แสนบาท และผู้เสียหายไม่เคยแจ้งความว่ามีค่าเสียจำนวน 2,853,158.75 บาท ในระหว่างพิจารณาคดีผู้ถูกร้องได้ตกลงที่จะชดใช้ค่าเสียหายภายในวันที่ 21 พ.ย.2538 แต่ไม่สามารถหามาชำระกับผู้เสียหายได้ หลังศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาแล้ว พยานได้ติดต่อผู้เสียหายเพื่อเจรจาชำระหนี้ ในวันที่ 22 พ.ย.2538 และนัดผู้เสียหายที่สำนักงานขายรถของพยาน เนื่องจากผู้เสียหายไม่เชื่อถือว่าผู้ถูกร้องจะสามารถชำระหนีได้ โดยพยานตกลงชำระค่าเสียหาย 2 งวด งวดแรกชำระค่าเสียหายกับทั้ง 2 ในวันที่เจรจาตกลงกันเป็นเงินคนละ 5 หมื่นบาท งวดที่ 2 หลังจากงวดแรกประมาณ 20 วัน ผู้เสียหายตกลงว่าเมื่อชำระเสร็จสิ้นแล้ว จะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลแขวงปทุมวัน ซึ่งมีการบันทึกเป็นเอกสารไว้ และเมื่อครบกำหนดงวดที่ 2 ที่ได้มีการชำระเงินที่ศาลแขวงปทุมวันแล้ว ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ พยานจำไม่ได้ว่าผู้เสียหายทั้ง 2 เป็นบุคคลใด เนื่องจากเป็นเวลานานแล้ว และช่วงปี 2538 ผู้ถูกร้องถูกดำเนินคดีเกี่ยวเช็คหลายคดี และไม่ได้เก็บเอกสารเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ แต่จำได้ว่าผู้เสียหายในคดีดังกล่าวไม่ใช่ตำรวจที่มียศ ร.ต.อ. หรือพ.ต.ต.
จากคำชี้แจงของพ.ต.ต.เขมรินทร์และผู้ถูกร้อง โดยลำพังไม่อาจเชื่อไปตามคำชี้แจงทางใดทางหนึ่งได้ ต้องพิจารณาคำชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารประกอบด้วย คำชี้แจงของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 6 (ปทุมวัน) ได้ความว่าคดีที่พนักงานอัยการสูงสุด กองคดีแขวงปทุมวันยื่นฟ้องผู้ถูกร้องเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 เมื่อ 4 ส.ค.2538 และศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 พ.ย.2538 ว่าผู้ถูกร้องมีความผิดตามมาตรา 341 ประมวลกฎหมายอาญา พนักงานอัยการปทุมวันได้รับสำนวนจากสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน คดีอาญาที่ 2889/2537 มีพ.ต.ต.เขมรินทร์ เป็นผู้กล่าวหา มีหนังสือของพ.ต.ต.เขมรินทร์ ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎรว่า พ.ต.ต.เขมรินทร์ ได้ร้องทุกข์ผู้ถูกร้องต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ข้อหาฉ้อโกง ในคดีอาญาที่ 2889 /2537 พร้อมส่งสำเนาชั้นสอบสวนให้กับประธานกรรมาธิการฯ และผู้ร้องก็ส่งเอกสารนั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ฟังได้ว่าคดีอาญาที่ 2889/2537 ของสถานนีตำรวจนครบาลปทุมวัน มีพ.ต.ต.เขมรินทร์ เป็นผู้กล่าวหา ประกอบกับหน้าสำนวนคดีดังกล่าว ปรากฏว่าพ.ต.ต.เขมรินทร์ ลงชื่อในช่องโจทย์พนักงานอัยการโจทย์ด้วย แม้ลายมือชื่อของพ.ต.ต.เขมรินทร์ ที่ลงในบันทึกช่องโจทย์จะไม่เหมือนกับลายมือชื่อของเขมรินทร์ ขณะที่มียศเป็นพ.ต.อ.ตามที่ผู้ถูกร้องกล่าวอ้าง แต่หากดูลายมือชื่อที่พ.ต.ต.เขมรินทร์ ที่ลงไว้ในช่องผู้กล่าวหา และพยานในสำนวนคดีอาญาดังกล่าว เปรียบเทียบกับลายมือชื่อในหน้าสำนวนแล้ว เห็นได้ว่ามีลักษณะลายมือชื่อที่เหมือนกัน การลงมือชื่อทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 1 ปีเศษ อันถือได้ว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ไม่เหมือนกับการลงลายมือชื่อ ซึ่งระยะเวลาห่างจากมียศเป็นพ.ต.ต. ประมาณ 27 ปี เช่นนี้การลงลายมือชื่อของพ.ต.ต.เขมรินทร์ ในช่องตรวจบันทึกหน้าสำนวน แม้จะเหมือนกับขณะมียศเป็นพ.ต.อ.ก็หาได้เป็นข้อพิรุทธ์ว่าเป็นคนละคนตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างไม่ ส่วนการลงลายมือชื่อของพ.ต.ต. ในบันทึกหน้าสำนวนนั้น แม้พ.ต.ต.จะไม่ได้ร่วมเป็นโจทย์ แต่การที่เจ้าหน้าที่ศาลยอมให้พ.ต.ต.เขมรินทร์ ลงชื่อในชอ่งโจทย์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยไม่ได้ความว่าพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทย์ได้โต้แย้ง หรือผู้พิพากษาที่ทำบันทึกนั้นเพิกถอนการลงลายมือชื่อในภายหลัง ยอมแสดงว่า พ.ต.ต.เขมรินทร์ ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง กับฝ่ายโจทย์ในคดีอาญาดังกล่าว โดยเป็นผู้เสียหายได้
ส่วนที่ผู้ถูกร้องกล่าวอ้างว่าคดีดังกล่าวมีพ.ต.ต.เขมรินทร์ ต้องมีจำเลยที่ถูกฟ้อง รวมกับผู้ถูกร้องรวม 3 คน ได้ความจากหนังสือสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 6 (ปทุมวัน) คดีนี้ผู้ถูกร้องเป็นผู้ต้องหาที่ 1 นายสมชาย ผู้ต้องหาที่ 2 และนายสิทธิชัย ผู้ต้องหาที่ 3 แต่ในส่วนของนายสมชาย และนายสิทธิชัยขาดอายุความร้องทุกข์ พนักงานอัยการจึงมีคำสั่งยุติการดำเนินการ ฉะนัน้การที่พนังกานอัยการเป็นยื่นฟ้องผู้ถูกร้องเพียงคนเดียวต่อศาลแขวงปทุมวันจึงถูกต้องแล้ว ส่วนที่ผู้ถูกร้องกล่าวอ้างว่า พ.ต.ต.เขมรินทร์ ได้รับความเสียหาย 2,853,158.75 บาท แต่คดีของศาลแขวงปทุมวันดังกล่าว พิพากษาให้ผู้ถูกร้องชดใช้ราคาทรัพย์จำนวน 2 แสนบาทแก่ผู้เสียหาย พ.ต.ต.เขมรินทร์ ไม่ใช่เจ้าของคดี ทำให้เชื่อได้ว่าไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีดังกล่าว จากบันทึกคำให้การของพ.ต.ต.เขมรินทร์ ในชั้นสอบสวน นอกจากนี้นายสมชาย และนายสิทธิชัย ซึ่งเป็นผุ้ต้องหาร่วมกระทำความผิดกับผู้ถูกร้องแล้วยังมีนางดารารัตน์ และน.ส.วัลลดา ร่วมกระทำความผิดด้วย แต่ในส่วนของนายสมชาย และนายสิทธิชัย พ.ต.ต.เขมรินทร์ ไม่ได้ร้องทุกข์ภายในอายุความ คดีในทั้ง 2 คนดังกล่าว จึงมีเพียงว่าพ.ต.ต.เขมรินทร์ ถอนคำร้องทุกข์ เมื่อพ.ต.ต.เขมรินทร์ ชำระค่าเช่าซื้อรถงวดที่ 3 ให้กับน.ส.วัลลดา เป็นต้นไป และเงิน 2 แสนบาทที่พนักงานอัยการให้ผู้ถูกร้องชดใช้ก็เนื่องจากการกระทำควมผิดของผู้ถูกร้องที่ต้องคืนให้กับพ.ต.ต.เขมรินทร์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตรา 43 รวมถึงในส่วนที่ขาดอายุความ และในส่วนที่พ.ต.ต.เขมรินทร์ ถอนคำร้องทุกข์ไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นหากพ.ต.ต.เขมรินทร์ เห็นว่าผู้ถูกร้องต้องรับผิด และคืนทรัพย์มากกว่าที่ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษา พ.ต.ต.เขมรินทร์ สามารถดำเนินการฟ้องในทางแพ่งอีกคดีได้ หาได้เป็นพิรุทธ์ถึงกับจะรับฟังมิได้ ทั้งการที่ผู้ถูกร้องกล่าวอ้างว่าพ.ต.ต.เขมรินทร์ ไม่เคยมีปัญหาในคดีดังกล่าว แต่ผู้ถูกร้องและพยานก็จำไม่ได้ว่าใครเป็นผู้ใช้ ก็เป็นการกล่าวอ้างลอยๆเพื่อปฏิเสธโดยง่าย ขาดน้ำหนักในการรับฟัง นอกจากนี้ยังได้ความจากการชี้แจงของพ.ต.ต.เขมรินทร์ ที่ให้การกับกมธ.ดังกล่าว 21 พ.ย.2538 พ.ต.ต.เขมรินทร์ ได้เดินทางไปยังศาลแขวงปทุมวันเพื่อเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าว ได้เห็นผู้ถูกร้องสวมใส่ชุดนักโทษ และถูกล่ามโซ่ตรวนที่ขา และมีพนักงานราชทัณฑ์ควบคุมตัวไปห้องพิจารณา และทราบว่าผู้ถูกร้องถูกจับกุมตัว และถูกดำเนินคดีที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ซึ่งศาลมีคำพิพากษาปีนั้นและถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งตามหนังสือของศาลแขวงพระนครใต้ที่ ศย.301.104 (E/396) ลงวันที่ 28 มิ.ย.2564 มีใจความว่าคดีอาญาที่เกิดขึ้นของศาลแขวงพระนครใต้ 2518 มีผู้ถูกร้องเป็นจำเลยรวม 4 คดีที่ 1. คดีหมายเลขดำที่ 891/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 828/2538 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2538 ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง สารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งจำคุก 5 เดือน คดีที่ 2 คดีอาญาหมายเลขดำที่ 491/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 1308/2538 คำพิพากษาเมื่อ 21 มิ.ย.2538 จำเลยมีความผิดตามฟ้องรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 ปรับ 6 หมื่นบาท จำเลยที่ 2 (ผู้ถูกร้อง) จำคุก 5 เดือน และให้รับโทษต่อจากคดีที่ 1 และให้จำเลยชำระค่าปรับ คดีที่ 3 คดีอาญาหมายเลขดำที่ 49/2538 หมายเลขแดงที่ 2035/2538 มีคำพิพากษาเมื่อ 2 มี.ค. 2538 ศาลมีคำพิพากว่าจำเลยที่ 2(ผู้ถูกร้อง) มีความผิดตามฟ้อง สารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง จำคุก 1 เดือน ให้นับโทษต่อจากคดีที่ 1 คดีที่ 4 คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1496/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 2982/2538 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2538 ว่ามีความผิดตามฟ้องรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง จำคุก 1 เดือนให้นับโทษต่อจากคดีที่ 3
เมื่อประเมินโทษจำคุกของผู้ถูกร้องทั้ง 4 คดีแล้ว ในวันที่ 4 ส.ค.2538 ซึ่งเป็นวันที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ถูกร้องเป็นจำเลยต่อศาลแขวงปทุมวัน ซึ่งในวันที่ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาคดีนั้น ในคดีหมายเลขแดงที่ 2218/2538 ผู้ถูกร้องยังต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลแขวงพระนครใต้ดังกล่าว สอดคล้องกับหนังสือของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯที่ มท.0917/1659 ลงวันที่ 15 ส.ค.2538 ได้ความว่าในวันดังกล่าวผู้ถูกร้องถูกคุมขังอยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯตามหายขังระหว่างไต่สวนมูลฟ้องระหว่างพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 ของศาลแขวงปทุมวัน (คดีพิพาทนี้) และหมายจำคุกถึงที่สุดของศาลแขวงพระนครใต้ ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 49/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 2035/2538 ดังนั้นในวันที่ 4ส.ค.2538 ซึ่งศาลแขวงปทุมวันรับคดีนี้ไว้พิจารณา และในวันที่ 7 พ.ย.2538 ซึ่งในวันพิจารณาดังกล่าวผู้ถูกร้องยังต้องขังอยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งการที่ผู้ถูกร้องถูกควบคุมตัวไปนอกเรือนจำ อย่างเช่นถูกคุมตัวไปที่ศาล ผุ้ถูกร้องต้องแต่งกายตามแบบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ตามพรบ.ราชทัณฑ์ 2497 มาตรา 14 เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่เห็นสวควรว่าจะใช้เครื่องพันธนาการนั้นได้ ฉะนั้นในวันที่ศาลแขวงปทุมวันนัดพิจารณาคดีในวันที่ 21 มิ.ย.2538 เชื่อได้ว่าพ.ต.ต.เขมรินทร์ เห็นผู้ถูกร้องใส่ชุดนักโทษสวมโซ่ตรวนขาเข้ามาห้องพิจารณาคดี คำชี้แจงของพ.ต.ต.เขมรินทร์ ในเรื่องดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่าเป็นความจริง คำชี้แจงของผู้ถูกร้องที่อ้างว่าในการพิจารณาคดีของศาลแขวงปทุมวันตั้งแต่วันฟ้องจนถึงวันที่มีคำพิพากษา ผู้ถูกร้องได้รับการป่อยชั่คราวมาโดยตลอด ไม่ได้ถูกคุมขังในเรือนจำ และในวันที่ 21 มิ.ย.2538 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่ได้ควบคุมตัวไปที่ศาลแขวงปทุมวันนั้น ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าในวันที่ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษา ผู้ถูกร้องถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯคดีหมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ของศาลแขวงปทุมวัน และถูกคุมขังในคดีของศาลแขวงพระนครใต้อีกด้วย อันทำให้ข้ออ้างของผู้ถูกร้องที่อ้างว่าได้รับการปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ ผู้ถูกร้องได้ยอมความโดยชดใช้เงินตามคำพิพากษาในคดีของศาลแขวงปทุมวันให้จบปัญหาในคดีนั้น และผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไป ภายนระยะเวลาอุทธรณ์ สิทธิทางคดีที่นำมาฟ้องต่อพนักงานอัยการนี้จึงขาดความน่าเชื่อถือ คำชี้แจงของผู้ถูกร้องในส่วนนี้จึงไม่เป็นความจริง
ส่วนข้ออ้างของผู้ถูกร้องที่ว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 001/2550 หมายเลขแดงที่ อ.2748/2550 ของศาลประจวบคีรีขันธ์ และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 250/2550 หมายเลขแดงที่ 229/2550 ของศาลแขวงจ.แพร่ ที่ผู้ถูกร้องเป็นจำเลย ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และศาลจ.แพร่ พิพากษารอการลงโทษจำคุกโดยกล่าวอ้างว่าผู้ถูกร้องไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งหากผู้ถูกร้องต้องคำพิพากษาในคดีอาญา หมายเลขดำที่ 2812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ของศาลแขวงปทุมวันอันถึงที่สุดให้จำคุกแล้ว ศาลย่อมมิอาจพิพากษารอการลงโทษผู้ถูกร้อง ข้อเท็จจริง ปรากฏว่าศาลแขวงปทุมวันพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 คดีหมายเลขแดงที่ 2218/2538 แล้ว มีพรบ.ล้างมลทินในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชครองราชครบ 50 ปี เมื่อปี 2539 ประกาศใช้ผู้ถูกร้องย่อมได้รับการล้างมลทินโทษตามพรบ.ดังกล่าว ถืว่าผู้ถูกร้องไม่ได้เคยถูกลงโทษจำคุกฐานฉ้อโกงในคดีนั้นมาก่อน เข้าเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ว่าผู้ถูกร้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลจ.ประจวบคีรีขันธ์ ศาลจ.แพร่อาจใช้ดุลยพินิจในการลงโทษตมาตรา 56 นี้แก่ผู้ถูกร้องได้ ซึ่งการได้รับประโยชน์จากการล้างมลทินดังกล่าว ไม่มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิด ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ของศาลแขวงปทุมวันที่ผู้กถูกร้องเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุริตตามประมวลกฎหมายอาญาได้ นอกจากนี้ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ว่าเอกสารราชการที่ผู้ถูกร้องส่งไม่ปรากฎว่ามีส่วนราชการ เจ้าพนักงานผู้จัดทำหรือครอบครองรับรองความถูกต้อง ไม่สามารถนำมารับฟังตามประมวลกฎหมายประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวผู้อ้างส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญ และรับรองความถูกต้องอันถือเป็นการรับรองว่า ได้รับหรือคัดถ่ายผุ้จัดทำเอกสารนั้น ทั้งผู้ถูกร้องไม่ได้อ้างถึงความไม่บริสุทธิ์ และไม่ถูกต้องของข้อความในเอกสารนั้นว่าเป็นอย่างไร และที่ถูกควรเป็นเช่นไร ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจรับฟังเอกสารนี้ ตามพรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 27 และสามารถนำเอกสารดังกล่าวมารับฟังว่าความจริงเป็นเช่นไรได้ ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องทุกข้อจึงอาจรับฟังได้ ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าพ.ต.ต.เขมรินทร์ เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 812/2538 หมายเลขแดงที่ 2218/2538 ของศาลแขวงปทุมวัน พ.ต.ต.เขมรินทร์ ไม่เคยยอมความกับผู้ถูกร้อง หรือถอนคำร้องทุกข์คดีอันเป็นเหตุให้ศาลแขวงปทุมวันได้จำหน่ายคดีออกจากศาลระบบความภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ เช่นนี้คำพิพากษาดังกล่าวจึงถือที่สุด ในตามคำพิพากษาของศาลแขวงปทุมวัน ผู้ถูกร้องจึงถือว่าเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลแขวงปทุมวันว่ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา เมื่อผู้ถูกร้องเคยถูกคำพิพากษาอันถึงที่สุด ว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ผู้ถูกร้องจึงเป็นบุคคลมีลักษณะต้องห้ามเป็นส.ส. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (10) เมื่อสมาชิกภาพส.ส.ของผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลง ทำให้มีตำแหน่งส.ส.ที่มีจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตว่างลงและต้องดำเนินการเลือกตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งขั้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ตำหน่งสส.ว่างลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 105 วรรค 1 ประกอบมาตรา 102 จึงให้ถือว่าวันที่ตำแหน่งส.ส.ว่างลง คือ วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจให้แก่คู่กรณีโดยชอบตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารราตามรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 76 วรรค 1 ที่ให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนุญมีผลในวันอ่าน คือ วันที่ 22 ธค.64
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานสำหรับการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายใน 45 วัน หากมีการประกาศ พรฏ. ให้มีการเลือกตั้งแล้ว กกต.น่าจะมีการกำหนดให้วันที่ือาทิตย์ที่ 30 ม.ค.2565 เป็นวันเลือก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เสี่ยหนู' เหน็บ 'ณฐพร' อยากดัง หลุดที่ปรึกษา คงโมโห ยื่นยุบภท.แทรกแซงเลือกสว.
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมาไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)กล่าวถึงท่าทีของพรรคฯ กรณีที่ นายณฐพร โตประยูร ร้องศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นยุบพรรค ภท.
'รทสช.' มีมติหนุนส่งศาลตีความ ปมอำนาจสภาแก้รธน.
'รทสช.' มีมติเห็นชอบส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ปมอำนาจสภาแก้รัฐธรรมนูญ ย้ำเรื่องใหญ่ ทำประชามติใช้งบ 4 พันล้าน จำเป็นต้องรอบคอบชัดเจน
ตลกร้ายการเมืองไทย! 'ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์' นายกฯ แบกรับ 'เกมของพ่อ'
การเมืองไทยกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้องที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร มอบหมายให้ “ชูศักดิ์ ศิรินิล” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย ในประเด็นที่ว่า
'ชูศักดิ์' โอดนักการเมืองไม่ใช่พระหลังศาล รธน.ตีตกคำร้องซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
'ชูศักดิ์' ยันต้องระมัดระวังเต็มที่ หากตั้งรมต. -ขรก.การเมือง หลังศาล รธน.ไม่วินิจฉัยปมซื่อสัตย์สุจริต โอดนักการเมืองไม่ใช่พระ หวังแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนแน่นอน
โถ!ภูมิธรรมเพิ่งเห็นธรรมบอกต่อไปตั้ง รมต.ต้องยึดหลักวิญญูชนหลัง ศาล รธน.ตีตกคำร้อง
'ภูมิธรรม' ยันต้องรอบคอบ ตั้งครม.ยึดหลักวิญญูชน หลัง ศาลรธน. ไม่รับวินิจฉัยปมซื่อสัตย์สุจริต-มาตรฐานจริยธรรม
'ภูมิธรรม' ตีมึน! รอดูความชัดเจน หลังศาลรธน. ไม่รับวินิจฉัยคุณสมบัติซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องวินิจฉัยคุณสมบัติของรัฐมนตรีเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตและมาตรฐานจริยธรรม ว่า หลังจากนี้นายชูศักดิ์ ศิรินิล