นักเขียนดังย้อนรอย 'อ.ไชยันต์' ลุยสืบค้นวิทยานิพนธ์บิดเบือน ทิ้งร่องรอยพิรุธกว่า 31 จุด

7 มี.ค.2567 - จากกรณีศาลอาญายกฟ้อง อ.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คดีหมิ่นประมาท นายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้เขียนหนังสือ "ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ" และ "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี" ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

ล่าสุด นายปฏิพล อภิญญาณกุล นักเขียนชื่อดังได้โพสต์ข้อความว่า สืบย้อนอดีต “วิทยานิพนธ์บิดเบือน” #ไม่มีอาชญากรรมใดที่สมบูรณ์แบบ_คนร้ายย่อมทิ้งร่อยรอยไว้ในที่เกิดเหตุเสมอ – เชอร์ล็อก โฮมส์

เนื่องจากผลการฟ้องร้องของนายณัฐพล ใจจริง เพื่อเรียกค่าหมิ่นประมาทเสียหายต่อ ศ.ดร. ไชยันต์ ไชยพร และศาลได้มีการตัดสินยกฟ้องแล้ว ด้วยเหตุผลที่ ศ.ดร. ไชยันต์ ได้ทำหน้าที่ในฐานะปวงชนชาวไทยในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรื่องราวทั้งหมด ไม่อยากให้จางหายเร็วเหมือนไฟไหม้ฟาง เป็นกระแสวูบวาบแล้วหายไป

– มาย้อนอดีตดูความเป็นไป เป็นมากัน

จุดเริ่มต้น เริ่มจากการ “เอ๊ะ !” การเอ๊ะ! .. ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเอ๊ะขึ้นมาง่ายๆ นักปราชญ์ นักคิด นักวิทยาศาสตร์ ที่มีประสบการณ์และอัดแน่นไปด้วยความรู้

- การเอ๊ะ! ของพวกเขา มักจะสร้างพัฒนาการบางอย่างขึ้นมาใหม่เสมอ ในวันหนึ่ง ที่ห้อง 102 อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ อ.ไชยันต์ อ.สมบัติ จันทรวงศ์ , อ.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ กำลังนั่งอ่านหนังสือเพื่อทำวิจัย ศ.ดร. สมบัติ จันทรวงศ์ พลันสะดุดตา เอ๊ะ! กับข้อความในหน้า 124 จากหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” ของ ผศ.ดร. ณัฐพล ใจจริง ในประโยคที่เขียนว่า “ผู้สำเร็จราชการฯ (กรมขุนชัยนาทนเรนทร) ได้เสด็จเข้ามานั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ประหนึ่งกษัตริย์เป็นประธานประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์..." นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นสืบค้นหา ..

พบว่า หนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ อ้างอิงมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง ของตัวเอง แล้ว ศ.ดร. ไชยันต์ ไชยพร จึงได้ไล่อ่านทั้งวิทยานิพนธ์และหนังสือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จนพบข้อผิดพลาดมากมาย อันทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดธรรมดา แต่เป็นข้อผิดพลาดใหญ่ที่ไม่มีหลักฐานใด ๆ เลย

เข้าลักษณะ “ใส่ความเพียงข้างเดียว” โดยมีเสื้อคลุมคำว่า “นักวิชาการ” ปกปิดสิ่งที่ผิดเอาไว้ ในวิทยานิพนธ์นั้น ผิดพลาดกว่า 31 จุด แต่เพื่อรวบรัดกระชับ ขอยกจุดใหญ่ที่เป็นปัญหาอย่างมาก มาให้ทราบ คือ

กล่าวหาว่า กรมขุนชัยนาทนเรนทร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ เข้าไปนั่งเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี เสมือนเป็นตัวแทนกษัตริย์เพื่อปูทางให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์

* (ตอนนั้น รัชกาลที่ 9 ทรงมีอายุ 20 พรรษา และยังอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์)

กล่าวหาว่า สมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) สนับสนุนรัฐประหาร และอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร 2490

กล่าวหาว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับรู้แผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า ด้วยพระองค์ทรงยินดีและพึงพอใจ

* (เพื่อทำให้อ่านแล้วเข้าใจว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีส่วนในการทำรัฐประหาร)

กล่าวหาว่า การเสด็จไปยังชนบทต่างจังหวัดเพื่อช่วยเหลือประชาชนของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นการท้าทายอำนาจรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

* (ในความหมายก็คือ รัฐบาล = ประชาธิปไตย – แต่การทรงงานของในหลวง คือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พยายามแทรกแซงประชาธิปไตย)

นี้แค่ตัวอย่างใหญ่ ๆ ที่ “พุ่งเป้า” เพื่อสร้างความเข้าใจผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๆ ที่อำนาจทั้งหมดในขณะนั้นอยู่กับกลุ่มคณะราษฎรทั้งสิ้น

ถ้าสถาบันพระมหากษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์มีอำนาจจริง / มีหรือที่รัชกาลที่ 7 จะทรงพกปืนสั้นติดตัวไว้ตลอด และเสด็จหนีลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ
มีหรือที่บรรดาเชื้อพระวงศ์หลายท่าน จะถูกจับขังคุก และถูกขับไล่ให้ออกจากแผ่นดินไทย

ศ.ดร. ไชยันต์ ได้นำข้อผิดพลาดในวิทยานิพนธ์ที่พบในหลายประเด็น เสนอต่อจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จนนำไปสู่การระงับการเผยแพร่ แม้วิทยานิพนธ์ถูกระงับการเผยแพร่ - แต่นายณัฐพล ก็ยังคงขายหนังสือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ซึ่งก็คือร่างทรงวิทยานิพนธ์ที่มีปัญหานั้นเอง และเมื่อหนังสือขอฝันใฝ่ฯ กำลังจะเป็นปัญหาตามไปด้วย - นายณัฐพลจึงแปลงร่างอีกครั้ง ด้วยการทำหนังสือ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี มาออกอีกเล่ม

การตรวจสอบของ ศ.ดร.ไชยันต์ สร้างกระแสร้อนแรงไปทั่วแวดวงวิชาการ ทำให้คณะอาจารย์จำนวนกว่า 279 คน กระโดดออกมาปกป้องนายณัฐพล
279 นักวิชาการ : รุม 1 (ไชยันต์) เหมือนเข้าลักษณะสำนวน “อาจารย์หมู่” อย่างน่านับถือ

หรือ ? แท้จริงแล้วการปกป้องวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ก็คือการปกป้องวิทยานิพนธ์ของตัวเอง ใครจะไปรู้วิทยานิพนธ์อีกนับ 279 เล่ม อาจจะมีข้อผิดพลาดใส่ไข่ มากกว่าเล่มของนายณัฐพลก็ได้

หลังจากนั้น ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ซึ่งเป็นหลานปู่ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้ฟ้องร้องนายณัฐพล ใจจริง ในข้อหาใส่ร้าย หมิ่นประมาท และสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล ด้วยจำนวนเงิน 50 ล้านบาท
ซึ่งขณะนี้คดีความกำลังอยู่ในศาล .. คงต้องใช้เวลาสืบสวนและพิจารณา

แต่ที่น่าสนใจ กังขา และถามหาก็คือ ทางคณะกรรมการสอบสวนของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วยการมี “คำสั่งลับ” ตั้ง “ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลาง” ขึ้นมาตรวจสอบวิทยานิพนธ์ เมื่อเดือน มีนาคม 2564 - เสร็จเรียบร้อยแล้ว มิใช่หรือ ? 

นับจากมีนาคม 2564 .. จนบัดนี้ มีนาคม 2567

3 ปีแล้ว ทำไมถึงยังไม่มีการประกาศผลสอบสวนออกมา ? จะดึงดันยืดเยื้อช่วยเหลือนายณัฐพล หรือจะรักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิของ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ?

หรือที่แท้การเมืองภายในจุฬาลงกรณ์ ฯ ก็มิได้สะอาดโปร่งใส หรือและอาจจะเปรอะเปื้อนยิ่งกว่าการเมืองระดับชาติด้วยซ้ำ ?

เราจะคอยติดตามข่าวการประกาศผลตรวจสอบของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย > แม้อธิการบดีจะตายไปแล้วกี่รุ่นก็ตาม

รุ่นเหลนของเรา จะต้องได้คำตอบนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 8)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 20: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 7)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 19: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 6)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 18: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า