'เศรษฐา' ยังไล่หลัง 'พิธา' ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล ช่วยรัฐบาลดูดีขึ้น

2 ส.ค. 2567 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกรกฎาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,318 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23 – 30 กรกฎาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกรกฎาคม 2567 เฉลี่ย 4.59 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ที่ได้ 4.33 คะแนน

ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.35 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.09 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน) นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 52.13 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ร้อยละ 58.93

ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ การเปิดให้ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต ร้อยละ 46.42 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 55.09 สุดท้ายสิ่งที่กังวลเมื่อมีการเริ่มลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต คือ กังวลเรื่องระบบของแอพ เช่น การใช้งาน ความปลอดภัย ระบบล่ม ร้อยละ 36.57

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลการสำรวจคะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน สะท้อนถึงการทำงานของรัฐบาลที่ดูดีขึ้นในสายตาประชาชน อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาความยากจนยังคงเป็นประเด็นที่ได้คะแนนต่ำสุด แม้จะมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน แสดงถึงความท้าทายที่รัฐบาลยังต้องเผชิญ ขณะที่ผลงานโดดเด่นของรัฐบาลคือความชัดเจนของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่มีการเปิดให้ลงทะเบียน แต่ประชาชนยังกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเสถียรของแอปพลิเคชัน รัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขเพื่อสร้างความมั่นใจต่อไป ด้านฝ่ายค้านได้คะแนนสูงขึ้นจากการตามติดการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องปลาหมอคางดำที่กระทบกับชีวิตเกษตรกรเป็นวงกว้าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดังนภสร ณ ป้อมเพชร อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า ท่ามกลางความท้าทายต่อกระแสผันผวนทางเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยได้รับความเชื่อมั่นทั้งในฐานะผลงานของรัฐบาลและผลงานในฐานะนายกรัฐมนตรีผ่านการดำเนินการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่รัฐบาลได้มีการผลักดันให้มีความชัดเจน ในการกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และระบบการลงทะเบียน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นผลงานในการบริหารประเทศตามนโยบายหนึ่งที่พรรคในคณะรัฐบาลชุดนี้ได้ประกาศไว้

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นต่อประเด็นการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่และปากท้องของประชาชน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน การว่างงาน ค่าครองชีพ ปัญหาเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณให้รัฐบาลต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการเพิ่มแนวทางหรือผลักดันนโยบายอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมให้ครบถ้วนทุกมิติ ซึ่ง “ผลลัพธ์” จากการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะสะท้อนให้เห็น “ผลงาน” ที่แท้จริงของรัฐบาลในท้ายที่สุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลหนุนยกระดับ ‘แตงโมเกาะสุกร’ สินค้า GI ตรัง สร้างรายได้ชุมชน 27 ล้านต่อปี

รัฐบาลขอเชิญชวนประชาชนสนับสนุนสินค้า GI ของประเทศไทย ซึ่งเป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่นอันทรงคุณค่า การเลือกซื้อสินค้า GI เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน

‘ทักษิณ’ มั่นใจ กม.กาสิโน ผ่านฉลุย ฟุ้งเสียงรัฐบาลพอผลักดัน บอกพวกต้านระวังติดเตียง

เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ เดิมพรรคประชาชนเชียร์เต็มที่ แต่เมื่อเป็นฝ่ายค้าน ตนก็ไม่แน่ใจว่าจะเชียร์หรือไม่เชียร์ แม้จะเชียร์หรือไม่เชียร์ แต่เสียงรัฐบาลก็พออยู่

‘ทักษิณ’ ขึ้นเวทีอู้กำเมืองอ้อนชาวเชียงใหม่ ซัด ‘ปชน.’ มัวแต่จะเอา112 ติดหล่มตั้งรัฐบาลไม่ได้

‘ทักษิณ’ ขึ้นเวทีปราศรัยอู้กำเมืองอ้อนเลือก ‘อัศนี’ นั่งนายกเมืองเชียงใหม่ชนะขาด ซัด ‘ปชน.’ มัวแต่จะเอา 112 ทำไม่มีเพื่อนจนติดหล่มตั้งรัฐบาลไม่ได้ จวก โทษใครไม่ได้ต้องโทษตัวเอง

‘ดนุพร’ สวน ‘ลุงป้อม’ คุย สส.พปชร.ให้สะเด็ดน้ำ ก่อนประกาศไม่ร่วมรัฐบาลเพื่อไทย

‘ดนุพร’ โต้ ‘บิ๊กป้อม’ หลังไม่ร่วมรบ. บอก ไปคุยกับสส.ให้สะเด็ดน้ำก่อน มองเป็นเอกสิทธิ์ ‘เพื่อไทย’ ไม่ปิดประตู ลั่น 314 มีเสถียรภาพแล้ว

ส้มส่งสัญญาณแดง 'อยู่ที่เงื่อนไข -สถานการณ์'

ณัฐพงษ์' ย้ำชัดเลือกตั้งสมัยหน้า หาก 'พท.' ยอมรับว่าทำผิดกับ ปชช. ก็อาจจับมือด้วย ออกตัวไม่ขอตั้งเงื่อนไขล่วงหน้า เหตุสถานการณ์เปลี่ยนได้ตลอด

รัฐบาลเปราะบาง ปชช.จับตาอุบัติเหตุการเมือง

ซูเปอร์โพล ชี้ผลสำรวจ ปชช.กังวลปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง รวมทั้งเสถียรภาพรัฐบาลที่มีความเปราะบาง นอกจากนี้ยังห่วงเรื่องความแตกแยกและอุบัติเหตุทางการเมือง