รมว.กต.ยืนยันผลการเจรจาเพื่อใช้ประโยชน์ปิโตรเลียมในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนไทย-กัมพูชา ประชาชนไทยต้องเห็นชอบก่อน - ย้ำผลประโยชน์ต้องเป็นของประชาชน – ชี้ MOU44 เป็นกลไกทำให้การเจรจาเดินหน้าได้
06 พ.ย.2567 - นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงถึงความกังวลเกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณอ่าวไทยว่า ผลการเจรจา หากจะสำเร็จ และยุติได้ จะต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย รัฐสภาของทั้งสองประเทศ จะต้องให้ความเห็นชอบ ผ่านการเสนอจากคณะรัฐมนตรี เข้าสู่กระบวนการรัฐสภาในฐานะผู้แทนประชาชน ที่จะเป็นผู้ตัดสินว่า เห็นชอบกับผลการเจรจาหรือไม่ และข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น จึงเป็นไปไม้ได้ ที่จะให้มีการเจรจาเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งได้ตามที่มีการกล่าวอ้าง
ส่วนการใช้ประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียมนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า ยังไม่สามารถกระทำได้จนกว่าการเจรจาดังกล่าวจะมีข้อยุติ โดยผลการเจรจาจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ของประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่ง MOU44 กำหนดให้จะต้องเจรจา 2 เรื่องทั้งเขตทางทะเล และการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ไปพร้อม ๆ กันโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ พร้อมยืนยันว่า หากการเจรจาสำเร็จ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดต้องเป็นประเทศชาติ และพี่น้องประชาชนคนไทย ที่จะมีเขตทางทะเลที่ชัดเจนกับประเทศเพื่อนบ้าน และได้ใช้พลังงานที่มีราคาถูกลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
นายมาริษ กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้มีการยกเลิก MOU44 เพราะถือเป็นการยอมรับเส้นอ้างสิทธิของกัมพูชา และทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนว่า MOU44 ไม่ได้เป็นการยอมรับเส้นอ้างสิทธิในไหล่ทวีปของกัมพูชา และไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดนใด ๆ เพราะเกาะกูดอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย 100% และจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เพราะสาระสำคัญ ใน MOU44 เป็นเพียงการตกลงร่วมกันเพื่อที่จะเจรจาเท่านั้น โดยแผนผังแนบท้าย เป็นเพียงภาพประกอบของพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปของแต่ละประเทศ ซึ่งเส้นอ้างสิทธิในข้อตกลงนี้ ไม่ใช่เส้นเขตทางทะเล ตามที่มีการเข้าใจผิดแต่อย่างใด
นายมาริษ ยังย้ำอีกว่า การคงไว้ซึ่ง MOU44 เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะข้อตกลงนี้ทำให้ ทั้งสองฝ่าย มีพันธกรณีที่จะต้องมาเจรจากัน ทั้งในเรื่องเขตทางทะเล และพื้นที่พัฒนาร่วมไปพร้อม ๆ กัน
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเมื่อปี 2552 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU44 โดยให้ไปศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบก่อนนำเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และรัฐสภานั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า ในกระบวนการศึกษาข้อมูลดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศได้ประชุมหารือ และรับฟังข้อคิดเห็นจากคณะที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านกฎหมาย จนได้ข้อสรุป เสนอเป็นมติคณะรัฐมนตรีในปี 2557 ว่า การคง MOU44 ไว้ เป็นผลดีมากกว่าเสีย และที่สำคัญการมีเขตทางทะเลที่ชัดเจน จะนำไปสู่การเจรจาการใช้ประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียมได้อย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน
"ขอให้เชื่อมั่นว่า การเจรจาจะคำนึงถึงอธิปไตยและผลประโยชน์ของคนไทยเป็นที่ตั้ง โดยยืนยันว่ากระทรวงการต่างประเทศ จะทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพสูงสุด" นายมาริษยืนยัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คปท. จี้ ‘นายกฯอิ๊งค์’ ตอบให้ชัด ไป ‘กัมพูชา’ 23-24 เม.ย.มีวาระซ่อนเร้นอะไรหรือไม่
ข้อสังเกตุที่ต้องจับตามองคือ มติ ครม.วันอังคารที่ 22 เมษายน 2568 นี้ จะมี มติ ครม.อะไรที่ไปเกี่ยวข้องกับการไป กัมพูชา ครั้งนี้หรือไม่ และ นายกฯแพทองธาร ต้องตอบให้ชัดว่า ไป กัมพูชา ครั้งนี้มีวาระซ่อนเร้นอะไร
ระทึก! เรือนำเที่ยวระเบิด ไฟลุกไหม้กลางทะเลเกาะกูด
ด่วน! ไฟไหม้เรือโดยสาร "อ.ทรัพย์ปิติ" กลางทะเลเกาะกูด ครอบครัว 4 คน 2 ลูกเรือปลอดภัย นายท้ายเรือเจ็บ 1 คนอีกคนปลอดภัย
'ปวิน' เฉลยแล้วเหตุ 'มาริษ' ไม่ได้เป็นคณะเจรจาภาษีทรัมป์เพราะถูกคว่ำบาตร!
นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
รมว.ท่องเที่ยวฯ ฟุ้งเราเที่ยวด้วยกันได้ใช้ช่วงโลว์ซีซั่น
'สรวงศ์' แย้มโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ใช้ได้ช่วงโลว์ซีซั่น พร้อมเพิ่มหลักเกณฑ์ หนุนเมืองน่าเที่ยว- ใช้วันธรรมดา-ข้าราชการ WFH ทำงาน ตจว.ไม่ถือเป็นวันลา
'วราวุธ' ยันเสียงชาติไทยพัฒนาไม่แตกแถวหนุนนายกฯ
'วราวุธ' เผยชาติไทยพัฒนาไม่แตกแถว แต่ขาด 1 เสียงเหตุ สส.ป่วยเข้าโรงพยาบาล ยันนายกฯ ยังไม่คุยปรับทัพ ครม.
จูบปากแล้ว! รมว.ท่องเที่ยวฯ ฟุ้งพร้อมจัดโมโตจีพี-เอฟ1
'รมว.ท่องเที่ยวฯ' ยันงบพอจัด motogp - F1 บอกสร้างรายได้ให้ประเทศมหาศาล เร่งสร้างความร่วมมือภาคเอกชน