17 ธ.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า มีการตั้งคำถามว่า เราจะใส่หน้ากากอนามัยไปนานแค่ไหน ขอช่วยกันตัดสินใจเอง
ในยามปกติ หน้ากากอนามัยจะมีไว้สำหรับให้ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเป็นผู้ใส่ เพื่อป้องกันการกระจายของโรค คนปกติไม่มีความจำเป็นต้องใส่ ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบ ถ้ารู้ว่าป่วยควรจะใส่ และมีระเบียบวินัย
การใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรค covid-19
การใส่หน้ากากอนามัย ถ้าใสไม่ถูกวิธี หรือไม่ดูแลเรื่องสุขอนามัย ประสิทธิภาพในการป้องกันจะลดน้อยลงอย่างมากๆ มีการศึกษามาสนับสนุนชัดเจน เช่นใส่ไม่ถูกวิธี การจัดต้องหน้ากากหลังใส่แล้วโดยไม่ได้ล้างมือ มีการศึกษาว่าในแต่ละชั่วโมงจะมีการจัดหน้ากากเป็นจำนวนมากหลายครั้ง ทำให้ประสิทธิภาพลดลงอย่างมากเนื่องจากการ ปนเปื้อน
การศึกษาที่น่าสนใจ โรงพิมพ์ในวารสาร PNAS ศึกษาคนที่ใส่หน้ากากอนามัยและไม่ใส่หน้ากากอนามัยแข่งขันหมากรุก จะพบว่าการใส่หน้ากากอนามัยจะมีผลต่อ ความนึกคิด (cognitive) ในช่วงแรกของการแข่งขัน และถ้าใส่ไปนานๆก็จะมีการปรับตัว หน้ากากอนามัยอาจมีผล ต่อการ นึกคิดคำนวณระดับสูง แต่ในภาวะปกติคงไม่เห็นความแตกต่าง
ในเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอนุบาล การเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา จะมีทั้งภาษาพูด (verbal) และภาษาท่าทาง (non verbal) เช่นการสังเกตจากริมฝีปาก ดังนั้นในเด็กเล็ก การใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้องก็ทำได้ยากอยู่แล้ว และยังมีผลต่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก ดังนั้นจึงมีความเห็นว่าในชั้นเรียนของเด็กเล็ก การใส่หน้ากากอนามัยจะขัดขวางต่อการเรียนรู้ และการปฏิบัติตัวของเด็กในการดูแลหน้ากากอนามัยก็ทำได้ยากที่จะให้มีประสิทธิภาพ ความจำเป็นในการใส่หน้ากากอนามัยจึงน้อยลง ในภาวะที่ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง เด็กก็มีการเรียนรู้จากครูด้วย
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือการกำจัดขยะหน้ากากอนามัย เพราะการใช้หน้ากากอนามัยจำนวนมากที่เป็นหน้ากากอนามัยสังเคราะห์ จะทำให้เกิด micro plastic เพิ่มขึ้น ในสิ่งแวดล้อม
ในขณะนี้ ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง เช่นชายทะเล สวนสาธารณะ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย
หวังว่า หลังเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว ส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีนหรือติดเชื้อแล้ว โรคจะลดน้อยลง และมีการปรับตัวได้มากขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย ก็จะน้อยลง จะใส่เมื่ออยู่ในกลุ่มคนหมู่มาก เช่นในรถประจำทาง เครื่องบิน รถไฟฟ้า และผู้ที่ต้องใส่ ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มของ ผู้ป่วยหรือมีอาการทางโรคทางเดินหายใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้โควิดระบาดเพิ่มตามคาด 'novid' รอดยากขึ้น
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19
'หมอยง' ชี้เปิดเทอม - เลือกตั้งปลุกโควิด - 19 ระบาดเพิ่ม
นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสเฟซบุ๊ก ระบุว่า โรคโควิด 19 ได้ปรับตัวเป็นโรคประจำฤดูกาล และสำหรับประเทศไทยจะเริ่มระบาดเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน
‘หมอยง’ มีคำตอบ! โควิด-19 เริ่มเพิ่มสูง ควรฉีดวัคซีนหรือไม่
ผู้ที่ได้รับวัคซีนมานานแล้วเกินกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรให้วัคซีนประจำฤดูกาลปีละ 1 ครั้ง ในปีนี้สามารถเริ่มให้ได้เลยก่อนที่จะมีการระบาดของโรค
'หมอยง' ชี้ ATK ไม่จำเป็นต้องตรวจในคนปกติ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
'หมอยง' เตือน 'ไข้ปวดข้อยุงลาย-ชิกุนกันยา-ซิกา' ระบาดเพิ่มขึ้น
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้ปวดข้อยุงลาย ชิกุนกันยา ซิกา
'หมอยง' แจง 'โควิด' เกมโอเวอร์! สรุปบทเรียน 3 ปี
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 ระยะเวลา 3 ปี