
11 มิ.ย.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า การเร่งเพิ่มจำนวนผลิตแพทย์หรือบุคลากรสายสุขภาพนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี ไม่ว่าจะสถาบันใด ล้วนเผชิญกับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวที่เป็นมานาน และดูจะสาหัสยิ่งขึ้นทุกวัน การผลิตบุคลากรสาขาวิชาชีพที่ต้องดูแลชีวิตประชาชนนั้น ต้องมีสมรรถนะในการผลิตที่ดี เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ
กระบวนการที่จะฝึกอบรมได้ดีนั้น ต้องมีทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ทั้งครูผู้สอน วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ เทคโนโลยีที่พัฒนาไปตามเวลาอย่างทันต่อสมัยและทันต่อสถานการณ์ และที่สำคัญที่สุดคือ การมีผู้ป่วยลักษณะต่างๆ ที่หลากหลายและเพียงพอที่นักเรียนจะได้ทำการศึกษา ฝึกทักษะด้านต่างๆ จนมีความเชี่ยวชาญจริง
หากไม่ตระหนักถึงผลกระทบจากนโยบายเพิ่มจำนวนและเร่งผลิตดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมต้องเผชิญกับปัญหาด้านคุณภาพ และผลกระทบย้อนกลับทั้งต่อประชาชนในสังคม รวมถึงย้อนกลับมาเป็นภาระต่อระบบโดยรวมในระยะยาวด้วย ทั้งระบบฝึกอบรม และระบบบริการ ปัญหาลาออกกันมาก ต้องแก้ไขที่ปัจจัยแวดล้อมทางสังคม ทั้งที่ทำงาน สิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิต การกิน การอยู่ สวัสดิการ สวัสดิภาพ และความปลอดภัยในชีวิต
ปัญหาโอ่งรั่วมากนั้น รูรั่วต้องหาทางปะ หรือเปลี่ยนโอ่ง ไม่ใช่เร่งหาน้ำมาเทใส่ให้มากขึ้น และการปะโอ่ง หรือเปลี่ยนโอ่งนั้น แท้จริงแล้วเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยซ้ำไป โดยที่แท้จริงแล้ว รากเหง้าสาเหตุที่ต้องจัดการคือ สาเหตุที่ทำให้โอ่งรั่วจากการออกนโยบายที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์แวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือจากการบริหารจัดการดูแลโอ่งนั่นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์หมอจุฬาฯ เตือนตรวจโควิด 3 วันแรก มีผลเป็นลบอย่าชะล่าใจ
การตรวจด้วย ATK ในช่วงวันแรกๆ หลังจากที่เริ่มมีอาการนั้นมีความไวลดลงเหลือ 30-60% จึงมีโอกาสที่จะทำให้ตรวจได้ผลลบปลอม
‘หมอธีระ’ ห่วงผู้ป่วยปอดอักเสบในไทย ปีนี้มากกว่าปี65 ถึง 30%
สถิติผู้ป่วยปอดอักเสบ (Pneumonia) ของไทย จากมกราคม ถึงตุลาคม 2023 พบว่า จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบที่รายงานสู่ระบบรายงาน 506 ของกระทรวงสาธารณสุข
อดีตนายกแพทยสภา เล่าอีกหนึ่งความเสี่ยงในชีวิตของแพทย์ใช้ทุน
อดีตนายกแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “อีกหนึ่งความเสี่ยงในชีวิตของแพทย์ใช้ทุน” ระบุว่า คดีนี้เริ่มจากแพทย์ที่จบมาปีครึ่งถูกตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่มีแพทย์เพียงคนเดียวโดยต้องตรวจคนไข้วันละร้อยกว่าคนด้วย
อาจารย์หมอจุฬาฯ ห่วง ‘ฝีดาษลิง’ มากขึ้นจะควบคุมยาก แนะใส่ใจสุขภาพ
ย่างก้าวของฝีดาษลิงนั้นมีแนวโน้มจะเดินตามรอยเอชไอวี/เอดส์ เพราะ mode of transmission หลักนั้นคือการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อย่างไรก็ตามจะควบคุมโรคได้ยากกว่า
'หมอธีระวัฒน์' เตือนสารก่อมะเร็งในบุหรี่ มีมากกว่าที่คิด!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สารก่อมะเร็งในบุหรี่ มีมากกว่าที่คิด
'กาแฟดี' ออกกำลังกายอึดขึ้น เบิร์นไขมันคล่อง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กาแฟดี..ทำให้อึดขึ้น