'สบส.' เผยผลสำรวจ 5 พฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ จากการกินหมูกระทะ

30 ม.ค.2567- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข พบคนไทยนิยมกินหมูกระทะถึงร้อยละ 32.1 และมี 5 พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ติดโรคไข้หูดับ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่แยกตะเกียบคีบอาหารดิบกับอาหารสด กินหมูสามชั้น ดื่มน้ำอัดลม เน้นกินอาหารทะเล และกินอิ่มเกินปกติ

นายแพทย์สามารถ ถิระศักดิ์ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ปัจจุบัน แนวโน้มการบริโภคอาหารบุฟเฟ่ต์ (Buffet) ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรวมกลุ่มกินหมูกระทะในหมู่เพื่อน หรือครอบครัว ช่วงวันหยุด หรือเทศกาล โดยจากผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงการกินหมูกระทะของคนไทย จำนวน 26,689 ราย ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 4-22 ธันวาคม 2566 โดยกองสุขศึกษา พบว่ามีผู้นิยมกินหมูกระทะถึงร้อยละ 32.1 โดยมี 5 พฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งอาจนำไปสู่การติดโรคจากเชื้อแบคทีเรีย หรือการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ได้แก่ 1) การไม่แยกตะเกียบหรือแยกแค่บางครั้งระหว่างตะเกียบที่ใช้คีบหมูดิบกับหมูสุก ร้อยละ 44.7 สุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้หูดับ 2) กินหมูสามชั้นทุกครั้งหรือเกือบทุกครั้งเมื่อมีการกินหมูกระทะ ร้อยละ 62.9 ซึ่งนำไปสู่ภาวะได้รับไขมันเกินจนเกิดโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ 3) ดื่มน้ำอัดลมร่วมกับการกินหมูกระทะทุกครั้งหรือเกือบทุกครั้ง ร้อยละ 58.4 ซึ่งนำไปสู่ภาวะได้รับน้ำตาลเกินทำให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน 4) เน้นกินอาหารทะเล ร้อยละ 58.8 ซึ่งทำให้มีโอกาสได้รับคอเรสเตอรอลสูงหรือได้รับฟอร์มาลีนที่ใช้สำหรับรักษาความสดของอาหารทะเลเข้าสู่ร่างกาย และ5) เลือกที่จะกินให้อิ่มมากเกินปกติทุกครั้งหรือเกือบทุกครั้ง ร้อยละ 42.1 ซึ่งทำให้ได้รับสารอาหารที่มากเกินความจำเป็นต่อร่างกาย

นายแพทย์สามารถฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรวมกลุ่มกินหมูกระทะในช่วงวันหยุด หรือเทศกาล เป็นกิจกรรมที่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ยากเมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนฝูง หรือครอบครัว แต่ประชาชนสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ หรือการเกิดโรคได้ ด้วยการแยกอุปกรณ์ในการตักหรือคีบระหว่างอาหารสุกและอาหารดิบ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย และกินอย่างเหมาะสม “ลดหวาน มัน เค็ม” ดื่มน้ำสะอาดแทนน้ำหวาน พร้อมทั้งการกินผลไม้แทนขนมหวาน เลือกกินเนื้อปลา ไก่ หรือหมูที่มีปริมาณไขมันน้อยๆ ลดการใช้ซอสปรุงรส หรือน้ำจิ้ม เพื่อลดปริมาณโซเดียม และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อให้ร่างกายจะใช้เวลาในการย่อยอาหารน้อยลง สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นทำให้ลดปริมาณอาหารที่กินและควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้น ประการสำคัญ การรับประทานหมูกระทะ หรือบุฟเฟ่ต์มื้อหนักๆ ไม่ควรรับประทานเกิน 1-2 ครั้งต่อเดือน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สบส.' สอบ รพ.เอกชน โฆษณาแพ็กเกจรักษาโควิด ย้ำผู้ป่วยอาการหนักใช้สิทธิ UCEP Plus ได้

สบส. สอบ รพ.เอกชน โฆษณาจำหน่ายแพ็กเกจรักษาโควิด ย้ำผู้ป่วยโควิด อาการรุนแรงใช้สิทธิ UCEP Plus รักษาพยาบาลได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

เจ้าอาวาสวัดใหม่พรหมพิราม ลาสิกขาแล้ว ยอมรับดื่มสุรา ยันไม่เกี่ยวขึ้นป้ายต้านหมอปลา

เจ้าอาวาสวัดใหม่พรหมพิราม ลาสิกขาแล้ว ยอมรับดื่มสุรา แม้จะอาบัติอย่างเบา แต่เพื่อเป็นการรักษาพระศาสนา ไม่ให้เสื่อมเสียไปกว่านี้ ไม่ใช่ลาสิกขาเพราะขึ้นป้ายต้านหมอปลาแต่อย่างใด

กรม สบส. สั่งแบนโฆษณาโรงพยาบาลเอกชน อวดอ้างแจกยาฟาวิพิราเวียร์

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สั่งระงับโฆษณาโรงพยาบาลเอกชน ย่านบางปะกอก หลังพบเบาะแสมีการอวดอ้างว่าแจกยาฟาวิพิราเวียร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ชี้การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ ห้ามแจกจ่ายเอง หากใช้อย่างไม่ระวังสุ่มเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงกับหญิงตั้งครรภ์ หรือการทำงานของตับ