Save Doctors’Heart…ดูแลหัวใจหมอ ใส่ใจสุขภาพแพทย์เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย

เพราะแพทย์ 1 คน มีหน้าที่ดูแลคนไข้ปีละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นราย ดังนั้นการตรวจสุขภาพหัวใจคุณหมอเพื่อป้องกัน “หัวใจวายเฉียบพลัน” (Heart Attack) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ไร้สัญญาณเตือนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ครั้งแรกในประเทศไทยที่แพทย์จะเข้าร่วมอาสาดูแลหัวใจแพทย์ โดยโรงพยาบาลเมดพาร์ค นำโดย “ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช” กรรมการผู้จัดการ รพ.เมดพาร์ค ร่วมกับองค์กรพันธมิตร เปิดโอกาสให้แพทย์ไทย สัญชาติไทย อายุ 35-70 ปี สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อเป็นการป้องกันและลดอัตราการเสียชีวิตเฉียบพลันเนื่องมาจากโรคหัวใจ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้โครงการ “โครงการอาสาดูแลหัวใจหมอ Save Doctors’Heart”

 “ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม” แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด ให้ข้อมูลว่า “ในช่วง 2 ปีที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 นั้น แพทย์ค่อนข้างทำงานหนักมาก ทำให้เกิดความเครียด และไม่ได้ดูแลสุขภาพเนื่องจากไม่มีเวลา ทางโรงพยาบาลเมดพาร์ค และองค์กรภาคีเครือข่าย จึงได้เสนอโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพที่เกี่ยวกับข้องโรคหัวใจให้กับแพทย์ที่เสียสละเวลาดูคนไข้อย่างหนักในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ด้าน “นพ.ประดิษฐ์ชัย ชัยเสรี” ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจและทรวงอก รพ.เมดพาร์ค ให้ข้อมูลว่า “สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจวาย เกิดจากการที่เส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ ทำให้หัวใจตีบตัน ดังนั้นถ้าผู้ที่เป็นในระยะน้อยๆ ก็จะรู้สึกว่าเจ็บแน่นที่บริเวณหน้าอก เช่น ถ้าคนที่ไปตีกอล์ฟและรู้สึกมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หากไป รพ.ได้ทันเวลาก็จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้ารุนแรงก็อาจเสียชีวิตแบบฉับพลัน สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ทำให้หัวใจวายนั้น อันที่จริงเกิดจากเส้นเลือดเสื่อมไปตามวัย และมักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง"

นอกจากนี้ปัจจัยก่อโรคที่สามารถควบคุมได้ เช่น การคุมอาหารที่ไม่มีไขมัน เพราะถ้าร่างกายอ้วนก็เท่ากับมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ง่าย เนื่องจากนี้ผู้ที่บริโภคไขมันเป็นจำนวนมาก ไขมันจะไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบหรือไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้เกิดโรคหัวใจและหัวใจวายเฉียบพลันได้นั่นเอง ดังนั้นการหมั่นออกกำลังกาย การไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน หรือโรคไขมันในเลือดสูง ก็ต้องหมั่นเฝ้าระวังและควบคุมโรคดังกล่าวให้อยู่ในภาวะปกติ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและภาวะหัวใจวายเฉียบพลันด้วยเช่นกัน และสิ่งที่ลืมไม่ได้นั้น คือการควบคุมอาหาร หมั่นออกกำลังกาย และยืดเหยียดร่างกายอยู่สม่ำเสมอ”

แพทย์ทั่วประเทศที่มีสัญชาติไทยสามารถสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมพาพันธ์ 2565-12 สิงหาคม 2565 รวมระยะเวลาเข้าโครงการ 6 เดือน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของโครงการและลงทะเบียนสมัครได้ที่ https://medpark.hospital/DoctorsHeartProject.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ประกาศลาออกจาก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

ปลัดสธ. ลงพื้นที่ติดตามการให้ความช่วยเหลือ เหตุแอมโมเนียรั่วไหลในโรงงานน้ำแข็งชลบุรี

ที่จังหวัดชลบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ ผู้ต