'ศรีสุวรรณ' ร้อง กกต. สอบ 'โทนี่' ครอบงำเพื่อไทย สั่งถอยแก้ 112

8 พ.ย.2564 – เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อ กกต. เพื่อขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยว่า การที่พรรคเพื่อไทยเปลี่ยนทีท่าในการผลักดันการแก้ไข ปอ.มาตรา 112 หลังจากที่แนวร่วมกลุ่มราษฎรออกมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์ และนายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนเต็มที่ แต่พอนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กชี้ว่า มาตรา 112 ไม่ใช่ปัญหา ทำให้พรรคเพื่อไทยเปลี่ยนทีท่าทันทีนั้น ถือเป็นการครอบงำหรือชี้นำหรือไม่

ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 31 ต.ค.64 กลุ่ม “ราษฎร” และแนวร่วมต่างๆ ได้ร่วมกันจัดชุมนุมใหญ่ที่แยกราชประสงค์ ชูข้อเรียกร้องสำคัญ 2 ประการ และหนึ่งในข้อเรียกร้องนั้นคือ ให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เสีย และต่อมาในคืนวันดังกล่าว นายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย โดยได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกประกาศจุดยืนของพรรคเพื่อไทยต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว ลงในสื่อออนไลน์ของพรรคเพื่อไทย ทั้งทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า “พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคที่มีเสียงสมาชิกมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรพร้อมนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุมรัฐสภา” ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากในสังคมไทย

ทำให้เมื่อวันที่ 2 พ.ย.64 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thaksin Shinawatra เกี่ยวกับประเด็น ม.112 ว่าไม่ใช่ปัญหาและวิจารณ์ผู้ที่ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 ว่าทำไป “ด้วยความโกรธ” หรือ “ต้องการจะยกเลิกโดยไม่มีเหตุผล” จึงทำให้มองได้ว่าจุดยืนของนายทักษิณไม่ตรงกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งต่อมาพลพรรคเพื่อไทยได้ออกมาพริ้วปฏิเสธกันพัลวัลว่ามิได้เป็นแกนในการผลักดันการแก้ไข ม.112 แต่ขอเป็นเพียงแค่เป็นตัวกลางอาสานำปัญหาเข้ากลไกสภาเท่านั้น เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับข้อชี้แนะของนายทักษิณหรือไม่

พฤติการณ์และหรือการกระทำดังกล่าวของนายทักษิณและพรรคเพื่อไทยอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืน มาตรา 28 และหรือ มาตรา 29 ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 หรือไม่ เพราะกฎหมายดังกล่าวกำหนดว่า “ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทําการใดอันทําให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกกระทําการอันเป็นการควบคุม ครอบงํา หรือชี้นํา กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทําให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม” และ “ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิใช่สมาชิกกระทําการใดอันเป็นการควบคุม ครอบงํา หรือชี้นํา กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทําให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่า โดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม” ซึ่งหาก กกต. วินิจฉัยว่าเป็นการครอบงำหรือชี้นำ ก็อาจนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ ตาม มาตรา 92 (3) ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 นั่นเอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมคุกตอบ 5 ประเด็น ปม 'หมอวรงค์' ร้อง ป.ป.ช.เอาผิดช่วย 'ทักษิณ' ป่วยทิพย์

กรมราชทัณฑ์ เผยแพร่เอกสารชี้แจงโดยระบุว่า วันจันทร์ที่ 22 เม.ย. 2567 ตามที่สื่อมวลชนเสนอข่าวนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส่งข้อมูลผู้ตรวจฯ ยื่นคณะกรรมการ​ป้องกัน​และ​ปราบปราม​การ​ทุจริต​แห่งชาติ​ (ป.ป.ช.)​ ในการช่วยเหลือนายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องติดคุก โดยมีประเด็นต่างๆ เพื่อเรียกร้องคำตอบให้กับสังคม นั้น

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ' 23 พ.ค. เจ้าตัวแย้มจ่อลุยการเมือง

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ เพ็ญแข' ครอบครองอาวุธสงคราม 23 พ.ค.นี้ เจ้าตัวเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรม จ่อลุยการเมืองหลังพ้นคดี ชี้ ‘ยิ่งลักษณ์’ ควรได้ความเป็นธรรมเหมือนทุกคน

'กูรูการเมือง' ชำแหละ! ปั่นเฟกนิวส์ 'วันนอร์' ไขก๊อกประธานสภา

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า เบื่อกาลวินาศมาถึง อะไรต่อมิอะไรก็วิปริตแปรปรวนไป

ซูเปอร์โพลตอกย้ำ คะแนนนิยม ‘ก้าวไกล’ เหนือกว่า ‘เพื่อไทย’ 1 เท่าตัว

พรรคก้าวไกลมีคะแนนสูงกว่าเพื่อไทยอยู่ประมาณหนึ่งเท่าตัว แต่พรรคก้าวไกลก็ยังจะไม่มีคะแนนนิยมมากพอที่จะชนะการเลือกตั้งจนตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ถ้ายังทำงานการเมืองแบบนี้ต่อไป